เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
สยามาณานิคม มณฑลพายัพ By ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
  • รีวิวเว้ย (1106) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ตอนเด็ก ๆ วิชาประวัติศาสตร์ในโรงเรียน สอนให้เราเชื่อ ท่องจำ โดยไม่ต้องตั้งตำถามว่าเรื่องนั้นจริงหรือ เรื่องนี้ใช่รึเปล่า แล้วทำไมอยู่ดี ๆ สิ่งที่เป็นอยู่ในประวัติศาสตร์มันถึงเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และสืบทอดกันมาอย่างที่โรงเรียนและรัฐไทยอยากให้เราเข้าใจและเชื่อ การเรียนการสอนแบบไม่ชวนให้ตั้งคำถามแล้วไม่แน่ใจส่าถ้าตั้งคำถามไปแล้วครูจะตอบได้นึเปล่า (?) เพราะครูเองก็เป็นผลผลิตที่ได้มาจากการศึกษาในขนบของรัฐไทยเช่นเดียวกันกับนักเรียนที่กำลังโดนสอนอยู่ในห้องเรียน ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ในประทศไทย โดยเฉพาพเรื่องที่เกี่ยวกับผู้คน เขตแดน วัฒนธรรม หลายปีที่ผ่านมาจากการอ่านหนังสือหลาย ๆ เล่ม ทำให้เราคิดว่าความรู้ด้านประวัติศาสตร์โดยรัฐ อาจจะต้องเปลี่ยนจากคำว่า "ความรู้" เป็น "ความเชื่อ" ที่รัฐอยากให้เราเชื่อและเข้าใจในแบบนั้น เหมือนที่ครั้งหนึ่งรัฐเคยอยากให้เราเชื่อว่า "คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต" และเชื่อว่าความเป็น "อาณานิคม" ไม่เคยเกิดมีในประเทศสยาม-ไทย
    หนังสือ : สยามาณานิคม มณฑลพายัพ: ปฏิบัติการสำรวจและผลิตพื้นที่เมือง ชนบท ป่าเขา กับการสร้างความศิวิไลซ์
    โดย : ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
    จำนวน : 352 หน้า

    "ความเป็นอาณานิคมของมณฑลพายัพ ที่ถูกควบคุมผ่านความรู้ อำนาจและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้เสริมสร้างศักยภาพให้กับชนชั้นนำสยามในการรวบรวมปริมณฑลของราชอาณาจักร ส่งผลต่อการขูดรีดผ่านแรงงานและทรัพยากรท้องถิ่น" (น.3) ความตอนหนึ่งจากหนังสือ "สยามาณานิคม มณฑลพายัพ: ปฏิบัติการสำรวจและผลิตพื้นที่เมือง ชนบท ป่าเขา กับการสร้างความศิวิไลซ์" ที่ว่าด้วยเรื่องของการสร้างความเป็น "อาณานิคม" ของ "สยาม" ที่มีต่อพื้นที่ที่ผู้เขียนเรียกในเล่มว่า "มณฑลพายัพ" ที่กินความหมายถึงพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยที่นับต่อขึ้นไปจากมณฑลพิษณุโลก ที่พื้นที่ของมณฑลพายัพถูกทำให้ตกอยู่ในสภาวะของความเป็นอาณานิคมของสยาม หรือที่หนังสือเล่มนี้เรียกว่า "สยามาณานิคม"

    "สยามาณานิคม มณฑลพายัพ: ปฏิบัติการสำรวจและผลิตพื้นที่เมือง ชนบท ป่าเขา กับการสร้างความศิวิไลซ์" จะพาเราไปย้อนดูหลักฐานทางประวัติศาสตร์จากหลากหลายมุมมอง ในเรื่องของการสถาปนาอาณานิคมพายัพให้อยู่ภายใต้การปกครองของสยามมาณานิคม ที่เป็นผลพวงจากการวางแผนของกลุ่มชนชั้นนำสยาม ที่มีความพยายามในการสร้างสยามาณานิคมผ่านการสร้างความเป็นสมัยใหม่ หรือที่เรียกกันว่า "ศิวิไลซ์" ผ่านเทคนิควิธีต่าง ๆ อาทิ การสร้างแผนที่ การสร้างความเป็นเมือง การสร้างความรู้ และอื่น ๆ โดยเริ่มต้นช่วงเวลาของงานศึกษาจาก พ.ศ. 2410 ช่วงเวลาของการเกิดขึ้นของสนธิสัญญาเชียงใหม่จนถึงช่วงเวลาของการสิ้นสุดลงของระบบสมบูรณาษาสิทธิราช โดยเนื้อหาของ "สยามาณานิคม มณฑลพายัพ: ปฏิบัติการสำรวจและผลิตพื้นที่เมือง ชนบท ป่าเขา กับการสร้างความศิวิไลซ์" แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังนี้

    บทที่ 1 บทนำ ว่าด้วยพื้นที่และความเป็นอาณานิคม

    บทที่ 2 การสำรวจ "พื้นที่แบบอาณานิคม" ของสยามในมณฑลพายัพ
    - การสำรวจ ตรวจชั่งวัดเพื่อทำความรู้จักและหาประโยชน์ในมณฑลพายัพ
    - มณฑลพายัพในแผนที่: ประโยชน์ชายแดนและการจัดระเบียบพื้นที่

    บทที่ 3 การผลิต "พื้นที่แบบอาณานิคม" ของสยามในมณฑลพายัพ
    - เมืองใหม่ กับ อำนาจแบบอาณานิคมสยามที่ชำแรกลงไปในมณฑลพายัพ 
    - ชนบท และอำเภอกับการถูกผลิตให้เป็นหน่วยพื้นที่ทางการเมือง
    - ป่าเขาดงดอยในฐานะเขตอุตสาหกรรมป่าไม้
    - ศาสนสถาน การปกครองสงฆ์และวิสุงคามสีมา การเมืองเชิงพื้นที่ของสยาม

    บทที่ 4 พื้นที่กับปฏิบัติการตรวจตรา สอดส่อง และสร้างประสิทธิภาพในการบริหารเพื่อควบคุมคนในบังคับ 
    - ปฏิบัติการในเขตเมือง ในฐานะพื้นที่ศูนย์กลางปกครองและ ให้บริการสมัยใหม่
    - ปฏิบัติการในเขตชนบท ในฐานะการสอดส่องและหาประโยชน์จากชายขอบ
    - ปฏิบัติการในเขตป่าเขาในฐานะพื้นที่แสวงกำไรจากธุรกิจป่าไม้และควบคุมอาชญากรรม

    บทที่ 5 อำนาจ-ความรู้ด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีและภาษาของสยามในมณฑลพายัพ
    - อุดมคติเชียงแสน กับ ความเป็นลาว  ประวัติศาสตร์และโบราณคดีในฐานะพื้นที่แบบอาณานิคม
    - อำนาจของภาษาไทยเหนือภาษาถิ่น พลังการครอบงำของอาณานิคมสยามเหนือพื้นที่มณฑลพายัพ
    - ภูมิทัศน์ของภาษากับพื้นที่

    บทที่ 6 บทสรุป

    เมื่ออ่าน "สยามาณานิคม มณฑลพายัพ: ปฏิบัติการสำรวจและผลิตพื้นที่เมือง ชนบท ป่าเขา กับการสร้างความศิวิไลซ์" จบลง เราพบว่าแท้จริงแล้วการสร้างและการเล่าประวัติศาสตร์โดยรัฐ ในหลาย ๆ เรื่องอาจจะจำเป็นต้องถูกตั้งคำถาม และสร้างการศึกษาแบบคู่ขนานในเรื่องราวเหล่านั้น เพราะเมื่อเราดูจากเนื้อหาของหนังสือและงานศึกษาทางประวัติศาสตร์ (และด้านอื่น ๆ) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราจะพบว่าการผูกขาดองค์ความรู้โดนรัฐเพื่อสร้างความชอบธรรมให้รัฐ ในหลายครั้ง (หรือเกือบทุกครั้ง) มันมักจะสร้างความแปลกประหลาดของประวัติศาสตร์ชาติสยาม-ไทย อยู่เสมอ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in