เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
เมืองกับความเชื่อมโยงระหว่างประเทศ By นรุมต์ เจริญศรี
  • รีวิวเว้ย (1105) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    เมื่อเราลองกดเข้าไปค้นหาความหมายของคำว่า "เมือง" ในภาษาไทย ความน่าประหลาดใจก็ปรากฏขึ้นเมื่อได้เห็นความหมายที่ถูกให้ไว้ของคำดังกล่าวดังต่อไปนี้ "(น.) แดน เช่น เมืองมนุษย์ เมืองสวรรค์ เมืองบาดาล, ประเทศ เช่น เมืองไทย เมืองจีน เมืองลาว; (โบ) จังหวัด เช่น เมืองเชียงใหม่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองตราด; เขตซึ่งเคยเป็นเมืองสำคัญในระดับจังหวัด ต่อมาถูกลดฐานะเป็นอำเภอ เช่น เมืองไชยา เมืองมีนบุรี เมืองขุขันธ์; เขตซึ่งเป็นที่ชุมนุมและเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ซึ่งในครั้งก่อน ถ้าเป็นเมืองใหญ่ หมายถึงเขตภายในกําแพงเมือง." เมื่ออ่านการนิยามความหมายของ "เมือง" ในภาษาไทยทั้งหมดแล้วเราจะพบว่าการให้ความหมายแบบนี้อาจจะไม่เพียงพอต่อการอธิบายบริบทความเป็นเมืองอย่างในปัจจุบัน เมื่อเทียบเคียงกับความหมายในภาษาอังกฤษอย่างคำว่า "city" ที่มีการให้ความหมายเอาไว้ว่า "a large town: Many of the world's cities have populations of more than five million." เราจะพบว่าบริบทคำว่าเมืองในแบบภาษาไทยอาจจะต้องดูคำขยายค้างเคียงอื่น ๆ ในภาษาไทยซึ่งก็อาจจะไม่ได้ให้ภาพที่ชัดเจนของคำว่า "เมือง" เท่าไหร่นัก อาทิ "มหานคร" ที่ในภาษาไทยดันเป็นความหมายมาจากคำว่า "metropolis" ในภาษาอังกฤษเสียอีก ดังนั้นการอธิบายหรือทำความเข้าใจคำว่า "เมืองในภาษาไทย" กับ "เมืองในต่างประเทศ" ด้วยเหตุนี้การอธิบายเรื่องบางเรื่องด้วยภาษาไทยจึงซับซ้อนและยากเข็ญกว่าการใช้ภาษาอังกฤษโดยตรง
    หนังสือ : เมืองกับความเชื่อมโยงระหว่างประเทศ
    โดย : นรุมต์ เจริญศรี
    จำนวน : 73 หน้า

    คำถามหลังของเอกสารการศึกษาฉบับนี้ ผู้เขียนได้วางโจทย์ของคำถามหลักเอาไว้ว่า "จากการที่แต่ละภูมิภาคมีโครงการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกัน ส่งผลให้เกิดความท้าทาย ประเด็นปัญหาต่อการพัฒนาเมือง เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร และแต่ละภูมิภาคมีวิธีการแก้ปัญหาต่างกันอย่างไร (?)" แนวทางการศึกษาของเอกสารการศึกษา "เมืองกับความเชื่อมโยงระหว่างประเทศ" จะมีแกนกลางของการศึกษาอยู่ที่ "คำสำคัญ" อย่าง "การเชื่อมโยงระหว่างกันของภูมิภาค (Regional Connectivity)"  (https://youtu.be/MUKKHx6h6bg) โดยมุ่งเน้นไปที่การเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคทางด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ

    สำหรับเนื้อหาของ "เมืองกับความเชื่อมโยงระหว่างประเทศ" แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ที่จำแนกตามแต่ละภูมิภาค ที่ถูกบอกเล่าผ่านแกนสำคัญอย่างการเชื่อมโยงระหว่างกันของภูมิภาค โดยมีเนื้อหาดังนี้

    เกริ่นนำ

    ยุโรป

    เอเชียใต้

    แอฟริกา

    กรอบความร่วมมือข้ามภูมิภาค

    นัยต่อประเทศไทยและอาเซียน

    การกระตุ้นเศรษฐกิจ

    การเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์ทางเศรษฐกิจและการเมืองของภูมิภาค

    ประเด็นเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม

    ประเด็นสิทธิสตรี

    ประเด็นโรคระบาดใหม่

    สรุป

    เมื่ออ่าน "เมืองกับความเชื่อมโยงระหว่างประเทศ" จบลง เราจะพบว่าอันที่จริงแล้วการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคไม่วาาจะด้วยเทคนิควิธีแบบใด ความท้าทาย ปัญหา และผลกระทบที่จะตามมา จากทั้งการขยายตัวผ่านการพัฒนาและการเชื่อมโยงกันของแต่ละภูมิภาค ย่อมมีปัญหาและควาทท้าทายเกิดขึ้นเสมอ แน่นอนว่าปัญหาและความท้าทายเหล่านั้นมักจะพัฒนารูปแบบ อีกทั้งเปลี่ยนประเด็นของตัวเองให้ต่างออกไปตามการเปลี่ยนแปลงของช่วงเวลา การพฒนาของพื้นที่ และความท้าทายเฉพาะหน้าที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างไม่มีใครคาดคิด

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in