Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
1 ทศวรรษบึงกาฬ ครบรอบ 10 ปีแห่งการพัฒนา By สุริยานนท์ พลสิม
รีวิวเว้ย (1103)
รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หากใครสักคนพูดกับเราเรื่องของ "บึงกาฬ" ภาพที่ปรากฎในหัวของหลาย ๆ คนน่าจะมีอยู่ไม่กี่ภาพ อาทิ ถ้ำนาคา หินสามวาฬ บึงโขงหลง และภาพในความรับรู้ก็อาจจะวน ๆ อยู่กับเรื่องของความเชื่อความศรัทธา ที่มีพญานาค (
ปู่อือลือนาคราช) เแนฉากหลังของคำว่าบึงกาฬในความรับรู้ของใครหลาย ๆ คน จนหลายครั้ง มันทำให้เราหลงลืมและละเลยความสำคัญของจังหวัดบึงกาฬในด้านอื่น ๆ ไม่ใช่แค่เฉพาะบริบทของเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาเชิงพื้นที่เท่านั้น หากแต่ภาพจำของสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความเชื่อและศรัทธาเป็นฉากหลัง หลายครั้งมันก็ทำให้เราหลงลืมกันไปแล้วว่าบึงกาฬเป็นจังหวัดใหม่ ที่เป็นจังหวัดล่าสุดที่ปรากฏบนแผนที่ประเทศไทย ที่ยกสถานะขึ้นมาเป็นจังหวัดเมื่อปี พ.ศ. 2554 และเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านที่บึงกาฬมีศักยภาพในการเป็นหน่วยเชื่อมโยงโครงข่ายของเศรษฐกิจชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นหนึ่งในหน่วยเชื่อมโยงไทยเข้ากับโครงข่ายของระบบเศรษฐกิจในภูมิภาค
หนังสือ : 1 ทศวรรษบึงกาฬ ครบรอบ 10 ปีแห่งการพัฒนา
โดย : สุริยานนท์ พลสิม บรรณาธิการ สมหวัง อารีย์เอื้อ
จำนวน : 273 หน้า
"
1 ทศวรรษบึงกาฬ ครบรอบ 10 ปีแห่งการพัฒนา
" หนังสือที่เราขอเรียกว่าเป็น "สมุดปูมจังหวัด" ที่ทำหน้าที่ในการบันทึกการเดินทางของบึงกาฬ "จากบึงกาญจน์ สู่บึงกาฬ" เอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ เพราะนอกเหนือจากการเล่าเรื่องความเป็นมาเป็นไปของพื้นที่ตามขนบของหนังสือประวัติศาสตร์ ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่
"
1 ทศวรรษบึงกาฬ ครบรอบ 10 ปีแห่งการพัฒนา
" ยังทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวของบึงกาฬในหลากมิติหลายมุมมองที่จะช่วยให้เราเข้าใจภาพของบึงกาฬที่มากไปกว่าความรับรู้ในเรื่องของสถานที่ท่องเที่ยวที่ผูกโยงอยู่กับความเชื่อ หรือภาพของบคงกาฬที่ถูกสร้างขึ้นใหม่โดย "
The Lake บึงกาฬ"
"
1 ทศวรรษบึงกาฬ ครบรอบ 10 ปีแห่งการพัฒนา
" บอกเล่าเรื่องของจังหวัดบึงกาฬจากส่วนต่อขยายทางประวัติศาสตร์ โดยบอกเล่ามิติของการพัฒนาและความเปลี่ยนแปลงของเมืองในช่วงเวลา 10 ปี หรือ 1 ทศวรรษ นับตั้งแต่การได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดเมื่อปี พ.ศ. 2554 ผ่านมิติทางด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเมืองที่ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นถึงพลวัตของการเติบโตของเมือง
โดยเนื้อหาของ
"
1 ทศวรรษบึงกาฬ ครบรอบ 10 ปีแห่งการพัฒนา
" แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ที่บอกเล่าเรื่องราวของทศวรรษที่ 1 ของจังหวัดบึงกาฬ และส่วนที่มองต่อไปในทศวรรษที่ 2 ของจังหวัด โดยเนื้อหาแบ่งออกเป็นดังนี้
[บทนำ]
- 1 ทศวรรษบึงกาฬ
[1 ทศวรรษแรก ของการพัฒนา]
- สร้างบ้าน แปงเมือง บึงกาญจน์
- สร้างเมือง สร้างชีวิต สร้างเศรษฐกิจและรายได้
- หมุดหมายใหม่ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
- โครงสร้างพื้นฐานกับโครงสร้างแห่งโอกาสของชาวบึงกาฬ
- สะพานมิตรภาพแห่งใหม่เชื่อมเศรษฐกิจไทย-อินโดจีน
- สนามบินบึงกาฬ ท่าอากาศยานแห่งความหวัง
- เมืองน่าอยู่ อู่อารยธรรมลุ่มน้ำโขง
- เมืองอารยธรรมเก่า เกลือสินเธาว์โลก
- ดารานาคี ของดีบึงกาฬ
- "หมากเบ็ง" ขันธ์ห้าแห่งศรัทธาและอัตลักษณ์ทั้งห้าของจังหวัดบึงกาฬ
- เมืองนิเวศชั้นดี พื้นที่ชุ่มน้ำโลก
- The Rubber City
- ลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในบึงกาฬ
[
1 ทศวรรษหน้า แห่งการเติบโต
]
- บึงกาฬในทศวรรศหน้า
- ฐานรากที่เข้มแข็ง สู่ เศรษฐกิจการค้าที่มั่นคงและการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
[บทส่งท้าย]
- บึงกาฬ กับโอกาสและความเป็นไปได้ในอนาคต
เมื่ออ่าน
"
1 ทศวรรษบึงกาฬ ครบรอบ 10 ปีแห่งการพัฒนา
" จบลง เราจะพบว่าภาพจำของจังหวัดบึงกาฬที่ผูกโยงอยู่กับชุดความเชื่อชุดหนึ่ง เป็นเพียงมิติหนึ่งของบึงกาฬ หากแต่เรามองภาพกว้างของบึงกาฬจากมุม ด้าน ต่าง ๆ ที่หนังสือ
"
1 ทศวรรษบึงกาฬ ครบรอบ 10 ปีแห่งการพัฒนา
" พยายามถ่ายทอดให้เราได้เห็น เราจะเข้าใจว่าบึงกาฬไม่ได้เป็นเพียงจังหวัดที่ขึ้นชื่อแค่สถานที่ท่องเที่ยว หากแต่บึงกาฬในอนาคต อาจจะต้องเปลี่ยนชื่อกลับไปจาก "บึงกาฬ" เป็น "บึงกาญจน์"
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in