Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
กำเนิดลิขสิทธิ์ By อธิป จิตตฤกษ์
รีวิวเว้ย (1101)
รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ลองเข้าไปค้นหาตากคำสำคัญว่า "ลิขสิทธิ์คืออะไร" น่าแปลกใจที่ในภาษาไทยมีการให้ความหมายของคำดังกล่าวเอาไว้มากมาย ยืดยาว และหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแห่งก็มีการให้ความหมายที่แตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียดปลีกย่อย แต่ความหมายที่เราคิดว่ายาวและน่าจะครอบคลุมเป็นความหมายที่ถูกให้ไว้โดย "ศูนย์ทนัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" โดยมีการให้ความหมายเอาไว้ว่า
ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน
การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา มิได้เป็นการรับรองสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าตนเองเป็นเจ้าของสิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์ที่แจ้งไว้เท่านั้น โดยผู้แจ้งต้องรับรองตนเองว่าเป็นเจ้าของผลงานที่นำมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และหนังสือรับรองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้ ก็มิได้รับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์แต่อย่างใด หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้แจ้งจำเป็นต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ นั้นเอง (
http://tuipi.tu.ac.th/tuip04.php
)
นี่เป็นเพียงบางส่วนที่ยกเอามาจากหน้าเว็บเท่านั้น จากการให้นิยามดังกล่าวเราจะพบว่าลิขสิทธิ์เกี่ยสข้องกับเรื่องของ "
เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น" แต่ปัญหาของลิขสิทธิ์ในประเทศไทยดูจะซับซ้อนมากกว่าการให้นิยามดังกล่าว เพราะลิขสิทธิ์มันยังแยกย่อยออกไปได้อีกหลายหมวด หลากประเภทและในทุกวันนี้ข้อถกเถียงในเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ก็ยังปรากฏขึ้นบ่อยครั้ง ทั้งเรื่องของงานเขียน งานเพลง งานวิชาการ และอื่น ๆ โดยหลายคนก็อ้างว่าไม่รู้ ไม่ทราบ และไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เขาทำนั้นมันเข้าองค์ประกอบของการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ดังนั้นเรื่องของลิขสิทธิ์จึงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษา โดยเฉพาะการย้อนกลับไปหารากกำเนิดของสิ่งที่เรียกว่าลิขสิทธิ์ อาจจะช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาและเหตุผลเบื้อหลังของการสร้างลิขสิทธิ์ขึ้นมาในโลกใบนี้
หนังสือ :
กำเนิดลิขสิทธิ์: จากเครื่องมือเซ็นเซอร์สิ่งพิมพ์ยุคปฏิรูปศาสนา สู่ "ทรัพย์สินทางปัญญา" ยุคอาณานิคม
โดย :
อธิป จิตตฤกษ์
จำนวน : 150 หน้า
ก่อนจะเข้าไปในเรื่องของเนื้อหาของหนังสือ "
กำเนิดลิขสิทธิ์: จากเครื่องมือเซ็นเซอร์สิ่งพิมพ์ยุคปฏิรูปศาสนา สู่ "ทรัพย์สินทางปัญญา" ยุคอาณานิคม" เราขอแนะนำหนังสือเล่มนี้ก่อนว่ามันเป็นงานวิชาการที่ถูกสร้างขึ้นบนฐานและความต้องการของผู้เขียนและสำนักพิมพ์ที่อยากให้หนังสือ "
กำเนิดลิขสิทธิ์: จากเครื่องมือเซ็นเซอร์สิ่งพิมพ์ยุคปฏิรูปศาสนา สู่ "ทรัพย์สินทางปัญญา" ยุคอาณานิคม" Public Domain (ทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะ) ที่ผู้อ่านหรือใคร ๆ สามารถหยิบเอาเนื้อหาที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ไปใช้ต่อ ไปทำซ้ำหรือผลิตซ้ำโดยไม่จำเป็นต้องของอนุญาตจากผู้เขียน (ix)
"
กำเนิดลิขสิทธิ์: จากเครื่องมือเซ็นเซอร์สิ่งพิมพ์ยุคปฏิรูปศาสนา สู่ "ทรัพย์สินทางปัญญา" ยุคอาณานิคม" เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ขนาดกระชับที่ว่าด้วยเรื่องของการกำเนิดขึ้นของ "ลิขสิทธิ์" ที่มีพัฒนากาลมาจากความต้องการในการควบคุมและเซ็นเซอร์สิ่งพิมพ์ในยุคปฏิรูปศาสนา กระทั่งถูกพัฒนาต่อมากระทั่งกลายเป็นเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาที่รัฐต่าง ๆ ของเข้าร่วมและแพร่กระจายหลักคิดเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาออกไปอย่างแพร่หลายในยุคอาณานิคม ด้วยการที่หนังสือพาเราย้อนกลับไปทำความเข้าใจและค้นหาที่มาที่ไปของลิขสิทธิ์ผ่านบริบททางประวัติศาสตร์ของ "สิ่งพิมพ์" ที่มีพัฒนาการขึ้นมาในยุคโรปภาคพื้นทวีปและในอังกฤษ
โดยเนื้อหาของ
"
กำเนิดลิขสิทธิ์: จากเครื่องมือเซ็นเซอร์สิ่งพิมพ์ยุคปฏิรูปศาสนา สู่ "ทรัพย์สินทางปัญญา" ยุคอาณานิคม" แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังนี้
บทนำ อะไรคือลิขสิทธิ์
บทที่ 1 รู้จักกับสังคมยุโรปยุคสมัยใหม่ตอนต้น
บทที่ 2 อังกฤษ การเซ็นเซอร์
และกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับแรกของโลก
- โครงสร้างธุรกิจหนังสือในลอนดอนปลายศตวรรษที่ 15
- วิถีแห่งการ "เซ็นเซอร์" สิ่งพิมพ์ของราชสำนักอังกฤษ
- ระบบการควบคุมสิ่งพิมพ์อังกฤษก่อนมี” เสรีภาพสื่อ”
- จุดจบระบบเซนเซอร์
- ปริศนาเจตนารมณ์ของ "กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับแรกของโลก"
- ความไร้ประโยชน์ของลิขสิทธิ์ในสายตาพ่อค้าหนังสืออังกฤษ
- กำเนิดคลังทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะ
บทที่ 3 จากการเซ็นเซอร์ในระบอบเก่าฝรั่งเศสสู่การปฏิวัติและลิขสิทธิ์
- จุดเริ่ม “กองเซ็นเซอร์” ในระบอบเก่าฝรั่งเศส
- วิวาทะกรรมสิทธิ์งานเขียนช่วงก่อนปฏิวัติฝรั่งเศส
- จากการปฏิวัติสู่กฎหมายลิขสิทธิ์แห่งสาธารณรัฐ
บทที่ 4 โลกภาษาเยอรมัน
การปฏิรูปศาสนาและลิขสิทธิ์ในอีกเส้นทาง
- การปฏิรูปศาสนาและการเติบโตของ
รัฐราชการในโลกภาษาเยอรมัน
- งานเทศกาลหนังสือไลป์ซิกกับสำนักพิมพ์ในโลกภาษาเยอรมัน
- เส้นทางอันแปลกประหลาดในการสถาปนาลิขสิทธิ์ในดินแดนเยอรมัน
บทที่ 5 บทสรุป: การขึ้นครองยุโรปของลิขสิทธิ์ในศตวรรษที่ 19
เมื่อเราอ่าน
"
กำเนิดลิขสิทธิ์: จากเครื่องมือเซ็นเซอร์สิ่งพิมพ์ยุคปฏิรูปศาสนา สู่ "ทรัพย์สินทางปัญญา" ยุคอาณานิคม" จบลง เราจะพบว่าความน่าเสียดายประการหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ คือ ในตอนจบที่ผู้เขียนทิ้งท้ายเอาไว้ว่าจะมีภาคต่อให้เราได้ตามอ่าน หากแต่ถ้าเราอ่านในคำนำผู้เขียนเราจะพบว่าไม่แน่ว่าหนังสือ
"
กำเนิดลิขสิทธิ์: จากเครื่องมือเซ็นเซอร์สิ่งพิมพ์ยุคปฏิรูปศาสนา สู่ "ทรัพย์สินทางปัญญา" ยุคอาณานิคม" อาจจะไม่มีภาคต่อ ซึ่งน่าเสรยดายเป็นอย่างยิ่งเพราะกรอบที่ผู้เขียนวางไว้ในเบื้องแรก มันอาจจะช่วยตอบข้อสงสัยของยุคปัจจุบันว่าในท้ายที่สุดแล้วพัฒนาการของสิ่งที่เรียกว่าลิขสิทธิ์นั้นมันส่งเสริมหรือทำลายความสร้างสรรค์ ในโลกวิชาการ และโลกของสิ่งพิมพ์หรือไม่ และยิ่งในห่วงเวลาที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนโลก ปัญหาและความซับซ้อนของสิ่งที่เรียกว่าลิขสิทธิ์ก็ทวีขึ้นตามความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่ทุกคนเข้าถึงได้
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
20
20 บาท
50
50 บาท
100
100 บาท
300
300 บาท
500
500 บาท
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in