เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
อ่างปลา (Fishbowl) By ชลัท ประเทืองรัตนา
  • รีวิวเว้ย (1088) รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    "ประชาธิปไตยที่แท้จริง จะเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากการพูดคุย ที่เปิดกว้างและเสรี แต่ถึงกระนั้นเสรีภาพในการพูดคุยอย่างเดียวก็อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะนำไปสู่สังคมประชาธิปไตย"  ข้อความที่ปรากฎอยู่ใน "คำนำ" ของหนังสือเล่มนี้ ได้เป็นการชี้ให้เห็นถึงหัวใจสำคัญของกิจกรรมอย่างหนึ่งที่อาจจะนำไปสู่การส่งเสริมประชาธิปไตยโดยเฉพาะเรื่องของการพูดคุยและการรับฟังความคิดเห็น เรามักจะมีโอกาสได้เห็นอยู่บ่อย ๆ ในเรื่องของการทำกิจกรรมในลักษณะของการรับฟังความคิดเห็น หรือการเปิดวงให้บุคคลเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ๆ โดยเฉพาะกิจกรรมของท้องถิ่น ที่เรียกได้ว่าการทำประชาคม หรือว่าการเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรับฟังความคิดเห็น แทบจะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ท้องถิ่นใช้กันอยู่บ่อย ๆ แต่หลายครั้งการเปิดรับฟังความคิดเห็นหรือการเปิดเวทีในลักษณะนี้ เป็นเพียงพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่ทำให้เสร็จไป หากแต่กระบวนการในการรับฟังความคิดเห็นไม่เปิดโอกาส ให้กลุ่มบุคคลเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างเต็มที่ อาจจะด้วยข้อจำกัดด้านเวลาหรืออาจจะด้วยข้อจำกัดในด้านประสบการณ์ของวิทยากรกระบวนการ ที่อาจจะขาดลูกเล่น เทคนิค หรือวิธีการที่กระตุ้นให้คนเข้ามามีส่วนร่วม หรือวิธีการที่จะทำให้คนเปิดอกคุยโดยเฉพาะในกรณีที่มีเรื่องของผลประโยชน์ หรือความอ่อนไหวเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นในหลายครั้งกระบวนการในการรับฟังความคิดเห็น เลยถูกตั้งคำถามว่าเป็นเพียงพิธีกรรม หรือเป็นเพียงแค่กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ครบตามองค์ประกอบที่กฎหมายกำหนดขึ้นเท่านั้นหรือ จะดีกว่าไหม หากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมในลักษณะนี้ทั้งในส่วนราชการส่วนภูมิภาค และข้าราชการส่วนท้องถิ่น ได้มีความรู้ ความเข้าใจ รวมไปถึงการฝึกฝนในการเป็นกระบวนกร ในการนำวงกิจกรรม เพื่อให้ประชาชนรู้สึกปลอดภัย และมีใจที่อยากจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมในพื้นที่ของตน
    หนังสือ : อ่างปลา (Fishbowl)
    โดย : ชลัท ประเทืองรัตนา
    จำนวน : 68 หน้า

    "อ่างปลา คือเครื่องมือในการนำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับการสนทนาวงเล็กๆ มีความเป็นธรรมชาติ สนทนากันในวงเล็กภายใต้การสนทนาในกลุ่มใหญ่ ทำโดยการจัดห้องเพื่อให้ผู้นั่งตรงกลางของห้อง ร่วมกับคนอื่นที่ล้อมรอบในวงกลม ซึ่งทำหน้าที่ในการเฝ้าดูแลการสนทนาในรูปแบบของอ่างปลาใช้ได้ดีกับการประชุม การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการประชุมในรูปแบบของทาวน์ฮอลล์ เครื่องมือนี้เน้นให้ความสนใจ ของทั้งหมดไปที่กลางวงซึ่งมีการพูดคุยระหว่างคน 3-6 คน คนอื่นที่อยู่รอบๆเป็นผู้สังเกตการณ์ โดยเน้นการฟังอย่างตั้งใจและมีการสลับที่นั่งเพื่อลดระยะห่างระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง เครื่องมือดังกล่าวสามารถใช้เป็นทางเลือกในการประชุม ที่ไม่เน้นการนำเสนอโดยเพาเวอร์พอยท์ หรือการอภิปราย โดยผู้เข้าร่วมยังคงมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันผ่านกำกับเวที โดยวิทยากรกระบวนการ และผู้เข้าร่วมสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้ด้วยการตั้งคำถามและสลับบทบาทเข้าไปแสดงความเห็นได้เช่นกัน"

     หนังสือ "อ่างปลา (Fishbowl)" เป็นหนังสือที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ของหนังสือเครื่องมือวิทยากรกระบวนการ (Tools for Facilitator) สำหรับเป็นคู่มือในการทำความเข้าใจเครื่องมือการทำกิจกรรมของวิทยากรกระบวนการ หรือที่หลายคนเรียกย่อ ๆ ว่า "กระบวนกร"

    โดยเนื้อหาของหนังสือ "อ่างปลา (Fishbowl)" เล่มนี้แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

    บทนำ

    หลักการสำคัญของเครื่องมืออ่างปลา

    เมื่อใดควรใช้และทำไมถึงใช้เครื่องมืออ่างปลา

    วิธีการในการจัดเครื่องมืออ่างปลา

    จุดแข็งข้อจำกัดและสิ่งที่พึ่งระวังของเครื่องมืออ่างปลา

    ตัวอย่างการจัดเครื่องมืออ่างปลา

    บทสรุป

    เมื่ออ่านหนังสือ "อ่างปลา (Fishbowl)" เล่มนี้จบลงเราจะพบว่าวิธีในการจัดกิจกรรม หรือวิธีในการสร้างการมีส่วนร่วมไม่ได้มีเพียงรูปแบบของการรับฟังความคิดเห็น และให้ผู้เข้าร่วมยกมือหรือเป็นเวทีที่ผู้พูดอยู่บนเวที และผู้ฟังนั่งอยู่บนเก้าอี้ข้างล่างแต่เพียงเท่านั้น หากแต่รูปแบบของการจัดกิจกรรมในการรับฟังความคิดเห็น ยังมีรูปแบบอีกหลายแบบ แล้วรูปแบบของการจัดแบบอ่างปลาก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการเปิดโอกาสให้กลุ่มบุคคลเข้ามามีส่วนร่วม แล้วเหมาะที่อาจจะปรับใช้กับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นหรือคนในพื้นที่เข้ามาทำกิจกรรมร่วมกัน ผ่านวงของการรับฟังความคิดเห็น เพื่อให้ได้ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของกลุ่มคนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดผ่านเครื่องมือชนิดหนึ่ง

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in