เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
อาหารปรุงคน By ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์
  • รีวิวเว้ย (1086) "การทำอาหารเป็นพื้นฐานของความเป็นคน การกินอาหารร่วมกันเป็นพื้นฐานของสังคมมนุษย์ การทำอาหารและการกินอาหารร่วมกันจึงอยู่ในดีเอ็นเอของคน ความเป็นคนทำให้เราโหยหาการทำอาหารมาหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณ" คำโปรยของหนังสือที่ปรากฏอยู่บนหน้าปกของหนังสือเล่มนี้

    "เมื่อก่อนเรากินอาหารเพื่อมีชีวิต ปัจจุบันเรากินอาหารเพื่อเข้าสังคม" จำไม่ได้แล้วว่าอ่านมาจากหนังสือเล่มไหน (?) ซึ่งเราเองก็เห็นด้วยกับคำพูดดังกล่าว แต่อาจจะต้องขยายความมันอีกสักหน่อยว่า "เพื่อเข้าสังคม" มันอาจจะไม่ได้หมายความแค่เรื่องของการคุยงาน หรือเพื่อผลประโยชน์แต่เพียงอย่างเดียว หากแต่การกินอาหารเพื่อเข้าสังคมมันหมายรวมไปถึงเรื่องของ ความรัก ความผูกพันธ์ ความคิดถึง การพักผ่อน ความสบายใจ และอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายของคำว่า "เพื่อเข้าสังคม" นอกจากนั้นแล้ว ในทุกวันนี้ (2565) เราอาจจะต้องเพิ่มข้อความเข้าไปต่อท้ายวลีดังกล่าวเพราะนอกเหนือจากการกินอาหารเพื่อเข้าสังคมแล้ว ปัจจุบันการกินอาหารมันขยายขอบเขตออกไปไกลกว่านั้นมาก โดยครอบคลุมไปถึงการทำงาน การสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ กระทั่งการสนับสนุนขบวนการทางการเมือง อาทิ ร้านภัคดีคาเฟ่ แลพร้านบะหมีตั้งฮกกี่ (บะหมี่อริราชศัตรู) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการขยายให้เราเห็นมิติของอาหารที่มีความสำคัญและสัมพันธ์อยู่กับเรืาองราวและพลวัตต่าง ๆ มากมาย ไม่ใช่แค่เรื่องของการกินอิ่มท้องและลิ้นรู้รสชาติ หากแต่อาหารมีหลายมิติหลายมัลติเวอร์ให้เราต้องคอยค้นหา และทำความเข้าใจเพราะในทุก ๆ เมนูของอาหารมันล้วนทำหน้าที่ในการ "ปรุงคน" อยู่เสมอ ๆ
    หนังสือ : อาหารปรุงคน
    โดย : ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์
    จำนวน : 255 หน้า

    อย่างที่เกริ่นไว้ในช่วงแรกว่า อาหารไม่ใช่แค่เรื่องของการกินเพื่ออยู่หรืออยู่เพื่อกินเพียงเท่านั้น หากแต่มิติสัมพันธ์ที่อยู่เบื้องหลังเรื่องราวและรสชาติของอาหารในแต่ละเมนูต่างก็มีความสำคัญ และมีมิติของความสัมพันธ์เบื้องหลังอาหารเล่านั้นอยู่ อาหารหลายเมนูสามารถพาเราย้อยกลับไปได้ไกลในห่วงประวัติศาสตร์ อาหารบางจานเป็นบีนทึกชิ้นสำคัญของประวัติศาสตร์สังคมและการเมือง อาหารบางรสชาติก็เป็นเครื่องบันทึกเรื่องราวที่ผ่านกาลเวลาในแต่ละห่วงเวลา เมื่อเป็นเช่นนั้นการทำความเข้าใจในอาหารที่นอกเหนือไปว่ารสชาติ การปรุง และการกินอาหารก็ดูจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราได้เรียนรู้ผ่านอาหารแต่ละจาน แต่ละเมนู แต่ละตำรับ

    "อาหารปรุงคน" เป็นหนึ่งใน "ตำราอาหาร" ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี อาจจะด้วยความที่ผู้เขียนและกำหนดสูตรของอาหารแต่ละตำรับใน "อาหารปรุงคน" เล่มนี้ นอกจากการเป็นคนปรุงอาหารแล้ว ตัวผู้เขียนยังเป็นอดีตศาสตราจารย์ ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งทำให้ตำรับของอาหาร 27 ตำรับ ที่ปรากฏอยู่ใน "อาหารปรุงคน" ถูกถ่ายทอดและบอกเล่าในรูปแบบของงานศึกษาค้นคว้าแบบกึ่งวิชาการและกึ่งตำราอาหาร ที่ในทุกตำรับผู้เขียนจะบอกเล่าเรื่องราว ที่มา บริบทต่าง ๆ ทั้งทางสังคมและประวัติศาสตร์ของแต่ละตำรับนั้น ๆ เอาไว้

    แน่นอนว่าการเขียน "อาหารปรุงคน" ออกมาในลักษระดังกล่าว นอกจากจะช่วยให้ผู้อ่านได้สูตรอาหารที่น่าสนใจจำนวน 27 เมนูแล้ว ผู้อ่านยังได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในประวัติ ความเป็นมา และเรื่องราวเบื้องหลังอาหารแต่ละเมนู การเข้าใจหรือรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องราวเบื้อหลังอาหารแต่ละจ้านมันอาจจะไม่ได้ช่วยให้เรากินอาหารเหล่านั้นอร่อยขึ้น แต่มันจะช่วยสร้างอรรถรสของเรื่องราวและความวัมพันธ์บนโต๊ะอาหาร เพราะอย่างน้อย ๆ "อาหารปรุงคน" ก็ช่วยให้เรามีเรื่องเราและพูดคุยบนโต๊ะอาหาร

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in