Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
ก่อการครู: ขบวนการเคลื่อนไหวในโลกการศึกษา By อุฬาชา เหล่าชัย และคณะ
รีวิวเว้ย (1085)
สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ ว่ามันเป็นรากฐานของการสร้างความเป็นไทย หรือว่าเป็นรากฐานของการสร้างชาติ ในแบบที่ผู้นำผู้มีอำนาจในรัฐณช่วงเวลานั้นต้องการให้เกิดขึ้น กลไกดังกล่าว ถูกเรียกว่าการขัดเกลาทางสังคม หรือกระบวนการขัดเกลาทางสังคม และหน่วย หรือโครงสร้างที่จะทำหน้าที่นี้ได้ดีที่สุด คงไม่มีโครงสร้างไหนที่ทำได้ดีไปกว่าสิ่งที่เรียกว่า การศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาที่ถูกออกแบบ กำหนด และควบคุม มาตรฐานของการศึกษาโดยรัฐการศึกษาในลักษณะนั้นมักจะสร้างสิ่งที่รัฐต้องการ และทำหน้าที่ในฐานะเครื่องมือของรัฐ เพื่อสร้างความชอบธรรมและสร้างชาติ ในแบบที่ผู้มีอำนาจในช่วงเวลานั้นมุ่งหมาย ระบบการศึกษาของโรงเรียนไทย เป็นหนึ่งในระบบการศึกษาที่ถูกตั้งคำถามในช่วงหลายปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะเรื่องของจุดมุ่งหมายและเป้าประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน เรามักจะได้เห็นข่าวอยู่บ่อยๆ ว่าโรงเรียนไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยแต่อย่างใด โรงเรียนไม่ใช่พื้นที่สำหรับการให้การศึกษาในรูปแบบที่เด็กหรือผู้เรียนต้องการ หากแต่เป็นการให้การศึกษาในแบบที่รัฐหรือผู้มีอำนาจต้องการ หลายปีที่ผ่านมาเรามักจะได้เห็นข่าว ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของครูในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาระการสอนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนหนังสือสำหรับผู้เรียน ภาระงานเอกสารที่กลายมาเป็นภาระหลัก ภาระการประเมินและการส่งประกวดที่กลายมาเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของผู้บริหารโรงเรียน รวมไปถึงการสร้างเด็กและเยาวชนในแบบที่รัฐต้องการ ซึ่งไม่ใช่รูปแบบของเด็กและเยาวชนในแบบที่สังคมโลกต้องการหากแต่เป็นไปในแบบที่สังคมไทยอยากให้เป็น
ความน่าสนใจประการหนึ่งของระบบการศึกษาไทย คือหลังจากที่ระบบการศึกษาเกิดขึ้นมาเมื่อหลายร้อยปีก่อน เราแทบจะไม่เห็นการพัฒนา การออกแบบ หรือการสร้างการศึกษาที่สอดรับกับบริบทของสังคมโลก หากแต่การศึกษาถูกออกแบบมาเพื่อสอดรับกับสังคมไทยแต่เพียงเท่านั้น นี่ยังไม่นับรวมปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเรียกได้ว่าระบบการศึกษาไทยก็ไม่ต่างกับระบบราชการไทยเท่าไรนัก ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบราชการ ก็เป็นปัญหาเดียวกันที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษา โครงสร้าง องค์กร และหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการสร้างการศึกษาของรัฐ กลับมีรูปแบบและวิธีการแบบเดียวกันกับระบบราชการ ที่หลายร้อยปีที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นแล้วว่าระบบราชการมีปัญหา ต้องได้รับการแก้ไข รวมถึงระบบราชการเอง หากให้แปลตามตัว ระบบดังกล่าวก็ไม่ใช่ระบบที่รับใช้ประชาชน แล้วเรื่องของการศึกษาจะถูกจัดการได้อย่างไร ในเมื่อในท้ายที่สุดแล้วการศึกษาเองก็ยังถูกออกแบบมาเพื่อรับใช้อะไรบางอย่าง ที่ไม่ใช้ความต้องการของประชาชน ความเปลี่ยนแปลงของโลก และพลวัตรของสังคม หากแต่ระบบการศึกษาคือกลไกที่ทำหน้าที่ในการรักษา ระบบเดิมให้มันคงอยู่สิบมาหลายร้อยปี นั่นทำให้หลายปีที่ผ่านมา เราเริ่มเห็นแล้วว่าระบบการศึกษาไทย ถูกตั้งคำถามทั้งจากผู้เรียน ผู้ปกครอง รวมถึงครูที่อยู่ในระบบเอง ก็มองเห็นว่าระบบดังกล่าวมันไม่ได้ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนไม่ได้ทำให้ผู้เรียนสามารถใช้ชีวิตได้ในสังคมโลก ระบบการศึกษาในทุกวันนี้มันทำหน้าที่เพียงแค่รักษาความเป็นชาติในแบบที่ผู้มีอำนาจต้องการ ก็เท่านั้นเอง
หนังสือ : ก่อการครู: ขบวนการเคลื่อนไหวในโลกการศึกษา
โดย : อุฬาชา เหล่าชัย, สิทธิชัย วิชัยดิษฐ, ฝน นิลเขต, ปวีณา แช่มช้อย และ อดิศร จันทรสุข
จำนวน : 160 หน้า
บนคำโปรยปกหลังของหนังสือ "
ก่อการครู: ขบวนการเคลื่อนไหวในโลกการศึกษา
" เล่มนี้เขียนเอาไว้ว่า
"ก่อการครู คือขบวนการเคลื่อนไหวในโลกการศึกษา ที่มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษาจากระบบฐานราก โดยเชื่อว่าครู คือผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา ตั้งแต่ระดับชั้นเรียน โรงเรียน และชุมชน จนถึงกรอบคิดด้านการศึกษา ผ่านหลักฐานที่เป็นรูปธรรมจากเครือข่ายครูแกนนำ ผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ของตน หนังสือเล่มนี้เป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เกิดขึ้น จากการทำงานของเครือข่ายคู่แกนนำ ใน 3 มิติ คือ (1) การปฏิบัติการในฐานะขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม (2) ภาวะการนำของครูผู้เข้าร่วมขบวนการ รวมถึง (3) จุดแข็งและข้อจำกัดที่เกิดขึ้นของโครงการ"
ซึ่งอาจเรียกได้ว่า หนังสือ
"
ก่อการครู: ขบวนการเคลื่อนไหวในโลกการศึกษา
"
คือการแสดงให้เห็นถึงพลวัตรในโลกของการศึกษาที่มันเกิดขึ้น พลวัตรที่เกิดจากความต้องการของกลุ่มบุคคลที่อยากเห็นการศึกษาดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นครู อาจารย์มหาวิทยาลัย หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคส่วนอื่น ๆ ที่อยากให้การศึกษามันสามารถสร้างสังคม และสร้างความสุขให้กับผู้เรียน โดยที่ไม่จำเป็นต้องยัดเยียดสิ่งที่รัฐต้องการ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นการถ่ายทอดมุมมองของสิ่งที่เรียกว่าการก่อการครู หรือกลุ่มครู และนักกิจกรรมที่อยากเห็นการศึกษาของไทยพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น
เนื้อหาของหนังสือ
"
ก่อการครู: ขบวนการเคลื่อนไหวในโลกการศึกษา
"
เล่มนี้แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ประกอบไปด้วย
บทที่ 1 ทำไมต้องก่อการครู พูดถึงเรื่องของที่มาของโครงการก่อการครู วิธีในการศึกษา และคำศัพท์เฉพาะที่อยู่ในงานวิจัยดังกล่าว
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง พูดถึงเรื่องของแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางสังคม การพัฒนาวิชาชีพและอัตลักษณ์ครูในสังคมไทย รวมไปถึงการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดชุมชนและการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
บทที่ 3 เมื่อเริ่มก่อการ พูดถึงเรื่องของแนวคิดของผู้ร่วมก่อตั้ง เหตุผลและที่มาที่ไปของการร่วมก่อการครู
บทที่ 4 ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พูดถึงเรื่องของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวครูแกนนำที่เข้าร่วมกิจกรรม กลไกที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในตัวคู่แกนนำ รวมไปถึงผลกระทบต่อตัวผู้ที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 5 แลไปข้างหน้า พูดถึงเรื่องของการปฏิบัติของก่อการครูในฐานะขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม การสรุปบทบาทของโครงการก่อการครูในการขับเคลื่อนทางการศึกษา ภาวะผู้นำของผู้เข้าร่วมขบวนการ จุดแข็งและข้อจำกัดของโครงการ และรวมไปถึงข้อสังเกตอื่น ๆ ที่จะนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่จะปรับปรุงโครงการให้ดีขึ้น
เมื่ออ่านหนังสือ
"
ก่อการครู: ขบวนการเคลื่อนไหวในโลกการศึกษา
"
เล่มนี้จบลง สิ่งหนึ่งที่เรามองเห็น คือเรื่องของความหวังในการศึกษา ความหวังที่เกิดขึ้นมาจากกลุ่มครูและกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่อยากเห็นโลกการศึกษา พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น สร้างการศึกษาที่ดีสำหรับผู้เรียน สร้างระบบการศึกษาที่ดีสำหรับผู้สอน และสร้างเนื้อหาการศึกษาที่ดีและเป็นการตอบโจทย์สำหรับผู้เรียนในฐานะประชากรของโลกใบนี้ ไม่ใช่เพียงสังคมใดสังคมหนึ่ง อย่างที่ระบบการศึกษาไทยดำเนินไปอย่างในปัจจุบัน
เราในฐานะของคนที่อยู่วงนอกของวงการศึกษา แต่หลายครั้งก็มีโอกาสได้ร่วมงานหรือร่วมกิจกรรมกับกลุ่มครูรุ่นใหม่ เราพบว่าความหวังของวงการศึกษาไทยไม่ได้เหือดหายแล้วไม่ได้หายไปอย่างสิ้นเชิงเสียทีเดียว เพราะมีครูอีกหลายคน มีภาคส่วนอีกหลายภาคส่วน ที่ออกมาขยับในเรื่องของการศึกษาในสังคมนี้ให้มันดีขึ้น ออกมาต่อสู้ เรียกร้อง ความสมเหตุสมผลทางการศึกษาและการสร้างการศึกษาที่ดีสำหรับผู้เรียน นอกจากหนังสือเล่มนี้จะเป็นการพูดถึงเรื่องของความหวังในการศึกษาแล้ว สำหรับเราเราคิดว่ามันคือการส่งต่อพลัง ให้กลับกลุ่มครู และเครือข่ายการศึกษา ที่ทำเรื่องการศึกษาในประเทศนี้ ให้ทุกคนได้เข้าใจว่าตัวเองไม่ได้สู้อยู่คนเดียว และเมื่อเวลานั้นมาถึง สังคมนี้จะต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
20
20 บาท
50
50 บาท
100
100 บาท
300
300 บาท
500
500 บาท
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in