เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ปูมตำนานงานระบายน้ำสยามราชธานี By สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพฯ
  • รีวิวเว้ย (1079) รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    หากใครเคยฟังเพลง "น้ำท่วมกรุงเทพฯ" ของ "เพลิน พรหมแดน" ที่เนื้อเพลงท่อนหนึ่งร้องเอาไว้ว่า

    "น้ำเหนือมันล้นหลากมาไหลหลั่ง ไหลมาประดั่งกลับน้ำทะเลมาหนุน ผมจึงขอย้ำจำได้ไหมคุณกรุงเทพว้าวุ่นเพราะน้ำท่วมทุกปี" (https://youtu.be/2_U4NTaf_aE)

    ซึ่งเป็นเพลงที่อยู่ในอัลบั้มชุดที่ 3 ของเพลิน พรหมแดน ที่ได้บรรยายถึงเรื่องราวของน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนานนับจากอดีตกาล เพราะด้วยลักษณะทางภูมิประเทศที่พื้นที่ทางตอนล่างของประเทศไทยเป็นที่ราบลุ่มเป็นจุดรวมของแม่น้ำหลายสายที่ต้องไหลลงสู่ทะเล ทำให้พื่นที่นับตั้งแต่จังหวัดสุโขทัยลงมาเป็นพื้นที่ที่มีปรากฎการณ์น้ำหลากในทุก ๆ ปีนับแต่ครั้งอดีต

    โดยหลักฐานที่เคยปรากฎและอาจจะยังพอมีเหลืออยู่บ้างก็คือเรื่องของลักษณะของการ "ตั้งบ้านเรือน" ที่หากใครเป็นเด็กต่างจังหวัดและเกิดในช่วงปี พ.ศ. 2530 อาจจะยังพอมีโอกาสได้เห็นบ้านเรือนที่ตั้งหันหน้าเข้าหาแม่น้ำหรือคลอง รวมทั้งอาจจะเคยได้อาศัยอยู่ในบ้านไม้ยกสูงที่ใต้ถุนบ้านเอาไว้เก็บเรือ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นหนึ่งในหลักฐานที่ปรากฎชัดว่าเมืองไทยเป็นเมืองน้ำมาเนิ่นนาน และจะยังคงเป็นต่อไปถึงแม้ว่านวัตกรรมการจัดการน้ำอย่าง เขือน ฝาย จะดีขึ้นแต่การเปลี่ยรแปลงของสภาพอากาศจากปรากฏการณ์โลกร้อนและโลกรวน ก็ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศจนยากที่มนุษย์จะวามารถบริหารจัดการน้ำหรือความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศไทยอย่างในครั้งอดีต เมื่อเป็นเช่นนั้นการทำความเข้าใจและการเรียนรู้ในเรื่องของน้ำและการจัดการน้ำอาจจะช่วยให้ผูอ่านเห็นภาพ รวมถึงเข้าใจกลไกของการจัดการน้ำได้ดียิ่งขึ้น
    หนังสือ : ปูมตำนานงานระบายน้ำสยามราชธานี
    โดย : สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพฯ
    จำนวน : 262 หน้า

    "ปูม (นาม) หมายถึง ตาตารางแผนที่แสดงการเคลื่อนไหวของดาวพระเคราะห์ประจําวัน ปฏิทินโหราศาสตร์ ก็เรียก จดหมายเหตุของโหร เรียกสมุดบันทึกรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับการเดินเรือหรือการเดินอากาศ เช่น เดินทางจากไหนถึงไหน วันที่เดินทาง จํานวนชั่วโมง ฯลฯ ว่า สมุดปูมเดินทาง"

    เมื่อพิจารณาจากความหมายของคำว่า "ปูม" ตามที่ได้มีการกำหนดความหมายเอาไว้ตามพจนานุกรม เราจะพบว่าปูมที่ถูกกล่าวถึงในหนังสือ "ปูมตำนานงานระบายน้ำสยามราชธานี" คงมีความหมายหมายรวมในลักษณะของ "จดหมายเหตุ" หรือ "บันทึก" ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความเป็นมาของ "งานระบายน้ำ" ที่เนื้อหาในหนังสือพาผู้อ่านสืบย้อนไปจนถึงยุคสุโขทัย กระทั่งมาถึงยุคปัจจุบันที่หนังสือ "ปูมตำนานงานระบาบน้ำสยามราชธานี" ถูกเขียนขึ้น

    โดยเนื้อหาของ "ปูมตำนานงานระบายน้ำสยามราชธานี" แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังนี้

    บทที่ 1 เมืองสุโขทัยนี้ดีหนักหนา ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว

    บทที่ 2 กรุงศรีอยุธยา ราชธานีกลางสายน้ำ

    บทที่ 3 เวนิสตะวันออก บางกอกราชธานี

    บทที่ 4 ศิวิไลซ์พัฒนา ธาราพระนคร

    บทที่ 5 จากเมืองน้ำ สู่เมืองบก

    บทที่ 6 ระบายน้ำ ตามครรลองพ่อ

    เมื่ออ่าน "ปูมตำนานงานระบายน้ำสยามราชธานี" จบลง ผู้อ่านจะพบว่าพัฒนาการของประวัติศาสตร์ในเรื่องของความเป็น "เมืองน้ำ" กระทั่งความพยายามในการบริหารจัดการน้ำจากสยามสู่ไทยมีพัฒนาการ ความท้าทาย มาตลอดช่วงประวัติศาสตร์ กระทั่งถึงช่วงเวลาที่หนังสือ "ปูมตำนานงานระบาบน้ำสยามราชธานี" เขียนเสร็จ และเหตุการณ์หลังจากนั้น ความเป็นเมืองน้ำที่ต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปรากฏการณ์โลกร้อน-โลกรวน ก็นับเป็นความท้าทายที่สำคัญยิ่งของเมืองน้ำ อีกทั้งดูจะท้าทายยิ่งขึ้นไปอีกในวันที่หลายคนเริ่มหลงลืมว่าลักษณะพื้นที่ของเมืองมันคือเมืองที่ผู้คนและสายน้ำเคยเป็นหนึ่งเดียวกันมาก่อน

    หากสนใจสามารถเข้าไปอ่านตัวเล่มฉบับเต็มของหนังสือ "ปูมตำนานงานระบายน้ำสยามราชธานี" ได้ที่

    https://www.google.com/url?sa=t&source=web&rct=j&url=https://dds.bangkok.go.th/ebook/%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B3%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B3%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B5.pdf&ved=2ahUKEwiBys-svKL5AhVwUGwGHRohA88QFnoECBAQAQ&usg=AOvVaw2QoHdfbuiFpj030QiOByaC

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in