เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
#หลงยุคหลุดสมัย By วัน รมณีย์
  • รีวิวเว้ย (1078) “การติดต่อคนรักที่ตายจากกันไกล การทำงานแค่เจ็ดวันแต่มีเงินใช้ไปตลอดชาติ การพยายามยืนหยัดไม่ไหวเอนไปกับยุคสมัย ของนักเขียนที่อุทิศชีวิตให้เส้นทางสายวรรณกรรม 3 เรื่องสั้นที่ขบกัดความเป็นไปของยุค เล่นล่อกับชีวิตและความคิดของตัวละคร ผลงานของ นักเขียนลึกลับ วัน รมณีย์ ผู้จะมาทำให้จังหวะการอ่านของคุณเปลี่ยนไป” ข้อความที่ปรากฏบนคำโปรยปกหลังของหนังสือเล่มนี้ ที่บอกเล่า เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับหนังสือรวมเรื่องสั้น ของนักเขียนลึกลับ ที่ส่งต้นฉบับมาให้กับสำนักพิมพ์แซลมอน และหนังสือชุดนี้เอง ได้กลายเป็นหนังสือเล่มแรกของชาวแซลมอน ภายใต้ชื่อว่า “แซลมอนซาชิมิ”
    หนังสือ : #หลงยุคหลุดสมัย
    โดย : วัน รมณีย์
    จำนวน : 64 หน้า

    ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อน หรืออาจจะมากกว่านั้น การใช้น้ำปากกาเป็นกลไกหนึ่งของการปกปิดตัวตนของนักเขียน แต่เอาจริง ๆ แล้วการจะบอกว่าหลายสิบปีอาจจะไม่ใช่อาจจะต้องบอกว่าย้อนกลับไปเกือบร้อยปีที่รูปแบบของการใช้น้ำปากกาด้วยการปกปิดตัวตนของนักเขียน ช่วยทำให้ผู้ผลิตผลงานสามารถสร้างงาน ที่ยั่วล้อกับขนมหลายๆอย่างของสังคมได้ หากเราเคยอ่านหนังสือเก่าหรือเคยอ่านงานในกลุ่มประวัติศาสตร์ เราจะพบว่านักเขียนหลาย ๆ คนในยุคอดีต ต่างก็เป็นคนที่มีบทบาทสำคัญในสังคมในช่วงเวลานั้นแทบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ต่อต้านการปกครอง หรือแม้กระทั่งกลุ่มผู้ปกครองเอง ก็ใช่นำปากกาในการผลิตผลงานเพื่อสร้างความชอบธรรมบางอย่าง และเพื่อสร้างเงื่อนไขบางอย่างให้กับสังคมหรือเรียกอย่างภาษาปัจจุบันอาจจะเรียกว่าเป็นกลุ่มนักเขียนสายปั่น ที่ต้องการสร้างเรื่องราวขึ้นมาเพื่อสนับสนุนกลุ่มคนของตัวเอง หรือสนับสนุนการกระทำของตัวเอง

    ผลงานรวมเรื่องสั้น #หลงยุคหลุดสมัย ทั้ง 3 ชิ้นของแซลมอน ทำให้เรานึกย้อนไปถึงกลไกและวิธีการในการเขียนงานของนักเขียนที่สร้าง "นามปากกา" ขึ้นมาเพื่อปกปิดตัวตน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ก็ใช่ว่าจะไม่มีนักเขียนที่สร้างงานผ่านนามปากกาของตัวเอง หากแต่ความน่าแปลกใจของผลงานชิ้นนี้ คือแม้กระทั่งสำนักพิมพ์เองก็ยังคงบอกว่าไม่ทราบว่าผู้เขียนเป็นใคร รู้แต่เพียงแค่ว่าต้นฉบับของหนังสือเล่มนี้ถูกส่งเข้ามาให้กับทางสำนักพิมพ์ และทางสำนักพิมพ์ตัดสินใจในการพิมพ์ต้นฉบับหนังสือชิ้นนี้ขึ้นมา

    ในเนื้อหาของ #หลงยุคหลุดสมัย เป็นการรวมเรื่องสั้นทั้งหมด 3 ชิ้น ที่ได้หยิบเอาเรื่องราวรอบตัว โดยเฉพาะเรื่องราวในยุคปัจจุบันของสังคม มาเขียนเป็นเรื่องสั้นและยั่วล้อกับความเชื่อ ความคิด และสิ่งที่สังคมสมาทาน จนหลายครั้งมันกลายเป็นค่านิยมหลักของสังคมในช่วงเวลาหนึ่ง ไม่อาจเรื่องสั้นแต่ละเรื่องจบลงเราจะพบว่าความพยายามอย่างหนึ่งของผู้เขียน คือมีการบอกปฏิเสธในหลายๆส่วนของหนังสือว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ได้เกี่ยวกับสังคมใดสังคมหนึ่งเป็นการเฉพาะ หากแต่ถ้าย้อนกลับไปอ่านดูเราจะพบว่า ในเรื่องสั้นแต่ละเรื่อง ในส่วนความเห็นแต่ละส่วน แม้กระทั่งเรื่องที่ผู้เขียนตั้งใจจะนำเสนอ มันอยู่ในลักษณะของการ ยั่วล้อ หรือหากใช้ภาษาของคนปัจจุบันอาจจะเรียกว่าเป็นการ "แซะ" เพื่อให้เราเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นของสังคมแห่งนั้น ซึ่งก็ไม่ใช่สังคมอื่นไกลหากแต่เป็นสังคมที่ทุกคนบอกว่าเป็นสังคมที่ดี มี "มื้ออาหารที่ดีที่สุด" และเป็นดินแดนแห่งรอยยิ้ม

    หากมองเรื่องสั้น ที่ปรากฏใน #หลงยุคหลุดสมัย ผ่านมุมมองของคนที่เรียนในสายสังคมศาสตร์ เราจะพบว่าเนื้อหาที่ปรากฏทั้งหมด มีความเกี่ยวโยงกับการพยายามอธิบายรูปแบบบางอย่างของสังคม และเป็นการยั่วล้อความเป็นจริงของสังคมแห่งนั้นได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาวะเงินเฟ้อ เรื่องของความไม่เท่าเทียมกัน ความเหลื่อมล้ำ สังคมผู้สูงอายุ หรือกระทั่งปัญหาเรื่องของการเมืองที่เป็นการเมืองในแบบของนักการเมืองและตัวแสดงการเมืองที่แย่งชิงอำนาจ นอกจากนั้นเรื่องสั่นที่ปรากฏใน #หลงยุคหลุดสมัย ยังได้บอกกับเราถึงเรื่องของการตั้งมาตรฐานบางอย่างโดยคนบางกลุ่มที่ในท้ายที่สุดแล้วความเปลี่ยนแปลง หรือการพัฒนาที่มันเกิดขึ้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้อันเป็นผลมาจากการที่คนกลุ่มนั้นพยายามที่จะหวง รักษา และหลอกตัวเองว่าสิ่งที่ทำสืบต่อกันมานั้นเป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นประเพณีปฏิบัติ และเป็นขนบที่พึงรักษาเอาไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลง โดยในหลายครั้งความพยายามเหล่านี้คือการพยายามฝืนกระแสสังคม ฝืนความเปลี่ยนแปลงของกาลเวลา และฝืนความเป็นจริงของโลก

    #หลงยุคหลุดสมัย คือ การพยายามชี้ให้เราเห็นว่าในความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น ในความพยายามขัดขวางความเปลี่ยนแปลง หรือแม้กระทั่งความพยายามในการเก็บรักษาอะไรบางอย่างเอาไว้ มันมักจะก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ความน่าสมเพชทางสังคม" ขึ้นเสมอ และความน่าสมเพชเหล่านั้น ในท้ายที่สุดแล้ว มันสามารถพบเห็นได้อย่างชัดเจนในสังคมแห่งนี้

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in