เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ทฤษฎีและแนวคิด: การปกครองท้องถิ่นฯ By ธเนศวร์ เจริญเมือง
  • รีวิวเว้ย (1074) รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน ในห้องเรียนวิชาการเมืองการปกครองท้องถิ่นในยุคนั้นหนังสือภาษาไทยที่ว่าด้วยเรื่องของการปกครองส่วนท้องถิ่นยังมีไม่มากนัก รวมไปถึงนักคิด ตำรา และหนังสือที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในเรื่องที่เป็นภาษาไทย อาจจะเรียกว่ามีจำนวนนับเล่มใด และชื่อของผู้เขียน นักวิชาการ อาจารย์ ที่ทำในเรื่องนี้ในภาษาไทยก็มีอยู่ไม่กี่คน ทำให้หนังสือในภาษาไทยวนเวียนอยู่กับนักวิชาการ ที่ผู้เรียนมักจะคุ้นชื่อและคุ้นหู หนึ่งในนั้นคือชื่อของธเนศวร์ เจริญเมือง นักวิชาการที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องท้องถิ่น น่าจะไม่น้อยไปกว่านครินทร์ เมฆไตรรัตน์ สมคิด เลิศไพฑูรย์ และโกวิทย์ พวงงาม  หนังสือเล่มทีหยิบมาพูดถึงในวันนี้ เป็นการหยิบเอาหนังสือที่เป็นหนังสืออ่านประกอบในวิชาเรียนเมื่อลายปีก่อน กลับมาอ่านใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการทบทวนความรู้ ในเรื่องของทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการท้องถิ่น และการเมืองการปกครองท้องถิ่นไปในตัว
    หนังสือ : ทฤษฎีและแนวคิด: การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น
    โดย : ธเนศวร์ เจริญเมือง
    จำนวน : 368 หน้า

    หนังสือ "ทฤษฎีและแนวคิด: การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น" เล่มนี้นำเสนอทฤษฎีและแนวคิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการปกครองท้องถิ่นและการบริหารจัดการท้องถิ่นมากกว่า 50 หัวข้อ ใน 28 บท เพื่อทำหน้าที่ในการอธิบายว่าแต่ละทฤษฎี แนวคิด และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่นและการบริหารจัดการท้องถิ่นมีความหมาย และมีความสำคัญอย่างไร ควรมีแนวทางอย่างไรให้เกิดการนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ท้องถิ่นและประชาชนในแต่ละท้องถิ่นให้มากที่สุด

    โดยที่หนังสือ "ทฤษฎีและแนวคิด: การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น" เล่มนี้ ผู้เขียนตั้งใจให้เป็นภาคแรก ขอหนังสือในชุดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของทฤษฎี และแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารท้องถิ่น โดยในเล่มนี้ จะนำเสนอแนวคิดต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 14 บท โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นดังนี้

    บทนำ ทฤษฎี แนวคิด ความรู้และอำนาจของรัฐกับท้องถิ่น

    บทที่ 1 ระดับการวิเคราะห์ในการศึกษาเรื่องรัฐและท้องถิ่น

    บทที่ 2 การปกครองท้องถิ่น กับการบริหารจัดการท้องถิ่น

    บทที่ 3 ว่าด้วยระยะผ่าน

    บทที่ 4 ว่าด้วยแนวคิดตำแหน่งหน้าที่พิสูจน์คน

    บทที่ 5 ทฤษฎีจิตนิยม และวัตถุนิยม กับการบริหารจัดการท้องถิ่น

    บทที่ 6 คุณธรรมกับการบริหารจัดการท้องถิ่น

    บทที่ 7 ความเป็นพลเมือง ท้องถิ่นนิยม ชุมชนนิยม และสำนึกสาธารณะ

    บทที่ 8 การรวมศูนย์อำนาจกับการกระจายอำนาจ พัฒนาการ แนวคิด และบทเรียน

    บทที่ 9 ความเป็นอิสระของท้องถิ่น

    บทที่ 10 แนวคิดเรื่องเริ่มต้นที่ท้องถิ่น

    บทที่ 11 จาก MOBA ถึง NIABY

    บทที่ 12 การมีส่วนร่วมการเมืองของประชาชน

    บทที่ 13 นโยบายสาธารณะ

    บทที่ 14 ภาระความรับผิดชอบต่อสาธารณะ

    เมื่ออ่านเนื้อหาของหนังสือ "ทฤษฎีและแนวคิด: การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น" เล่มนี้ทั้ง 14 บทจบลง เราจะพบว่าเนื้อหาที่ร้อยเรียงมาตลอดหนังสือเล่มนี้ เป็นเรื่องของการปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งส่วนของทฤษฎี แนวคิด รวมไปถึงเนื้อหาบางส่วนยังเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของกระบวนการและนโยบายในการปฏิบัติของท้องถิ่นด้วย ที่โครงของหนังสือเป็นการร้อยเรียงเนื้อหาและทฤษฎีทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน โดยให้ผู้อ่านได้เห็นถึงสิ่งที่เป็นแกนกลางของหนังสือเล่มนี้นั้นก็คือเรื่องของอะไรคือรัฐและท้องถิ่น แล้วแต่แขนงออกมาเป็นแนวคิดและทฤษฎีอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการมีส่วนร่วมของประชาชน ความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  การจัดทำบริการสาธารณะ และแนวคิดอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น และทฤษฎีการปกครองส่วนท้องถิ่น แต่อย่างที่บอกไปว่าหนังสือเล่มนี้เป็นเพียงส่วนแรกของความตั้งใจของผู้เขียนที่จะนำเสนอแนวคิดต่าง ๆ กว่า 50 แนวคิด ทำให้เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้จะไปเกี่ยวพันกับหนังสือเล่มต่อไป ที่จะเป็นภาพที่สองของหนังสือเล่มนี้

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in