เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
การปกครองท้องถิ่นกับการเลือกตั้งท้องถิ่น By ธเนศวร์ เจริญเมือง
  • รีวิวเว้ย (1075) รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    การเลือกตั้งท้องถิ่น หรือการเลือกผู้นำ ที่ได้มาจากการเลือกตั้งไม่ว่าจะในท้องถิ่น หรือในระดับประเทศเองก็ตาม ดูจะกลายเป็นกระแสที่มีความต้องการและมีการเรียกร้องของประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะหลังการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ผ่านมา ส่งผลให้ความตื่นตัวของกระแสเรียกร้องการเลือกตั้งทั่วประเทศ ในระดับที่เรียกว่าเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดด้วยตัวเอง เกิดขึ้นในวงกว้าง หากเราย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน เราจะพบว่ามันมีความพยายาม ที่ให้มีการจัดรูปแบบของจังหวัดจัดการตนเอง รวมไปถึงมีการนำเสนอ รูปแบบของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ในลักษณะของการเลือกนายกเทศมนตรีหรือนายกเมือง ตามแบบของเมืองในต่างประเทศ แล้วก็ตัดเอาตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดออกไปจากสมการ แต่รูปแบบของการเลือกตั้งดังกล่าวและการบริหารจัดการเมืองในลักษณะดังกล่าว จะสามารถเป็นจริงได้ในสังคมไทยหรือ และมีข้อน่ากังวลได้ ที่จะต้องได้รับการศึกษาพูดคุยกันก่อน บางครั้งเราอาจจะต้องมาร่วมกันหาคำตอบ ว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นหรือการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด มีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง และมีข้อควรระวังใดที่ควรได้รับการออกแบบในการแก้ปัญหา อันอาจจะเกิดขึ้นหากประกาศให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งแบบเต็มพื้นที่
    หนังสือ : การปกครองท้องถิ่นกับการเลือกตั้งท้องถิ่น
    โดย : ธเนศวร์ เจริญเมือง
    จำนวน : 49 หน้า

    หนังสือ "การปกครองท้องถิ่นกับการเลือกตั้งท้องถิ่น" เล่มนี้ แบ่งออกเป็น 2 ภาค โดยภาคแรกเป็นบทสรุปว่าเรื่องของการบรรยายและสัมมนา เรื่อง "บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารเศรษฐกิจสีเขียว" โดยเนื้อหาในส่วนนี้ว่าด้วยเรื่องของบทเรียนและวิธีการมากมายในต่างประเทศ ที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการเศรษฐกิจสีเขียวเพื่อความยั่งยืนของสังคมในอนาคต ปัญหาของประเทศไทยที่สำคัญเกิดจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดอำนาจและมีหน้าที่หลายด้าน จะขาดงบประมาณ รวมถึง เนื่องจากนโยบายการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นยังขาดความชัดเจน และผลของการรัฐประหารที่เกิดขึ้น ส่งผลให้การปกครองส่วนท้องถิ่นถูกแช่แข็ง และทำให้การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นในช่วงเวลานั้นขาดหายไป

    ภาคที่สองเป็นบทความว่าด้วยเรื่องของ "การปกครองส่วนท้องถิ่นกับการเลือกตั้ง" โดยธเนศวร์ เจริญเมือง  โดยที่บทความนี้ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นว่าแต่ละประเทศมีความเป็นมาแตกต่างกันทั้งระดับชาติและในระดับท้องถิ่น รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นปัจจุบันที่มีมาอย่างน้อยเจ็ดรูปแบบ คือกึ่งเมืองขึ้น แบบท้องถิ่นเข้มแข็ง แบบปฏิรูป แบบมวลชนลุกขึ้นสู้ แบบปัจจัยภายนอกกำหนด แบบเปลี่ยนแปลงจากระดับล่าง และแบบสังคมนิยม ไม่ว่าจะเป็นแบบได้การเลือกตั้งมีความสำคัญในด้านการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม เกิดความสนใจและติดตามนโยบายและบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยให้การบริหารตอบสนองต่อความต้องการและเป็นการรับฟังการแก้ปัญหาของประชาชนในระยะยาวได้มากขึ้นเป็นลำดับ ที่สำคัญที่สุด การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นควรให้ประชาชนได้เลือกเขตเดียวเบอร์เดียวซึ่งจะทำให้นักการเมืองมีบทบาทที่ชัดเจนในเขตพื้นที่ที่ชัดเจน และประชาชนก็จะมีความตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้นและมีบทบาททางการเมืองมากขึ้นในการเลือกตั้ง ผ่านรูปแบบและกลไกของการเลือกตั้ง และการติดตามตรวจสอบการทำงานของคนที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in