เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
การปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศสหรัฐอเมริกา By สมคิด เลิศไพฑูรย์
  • รีวิวเว้ย (1073) รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    เมื่อพูดถึงประเทศสหรัฐอเมริกา สิ่งหนึ่งที่คนเรามักคิดถึง ไม้ได้ยินชื่อประเทศนี้มักจะเป็นเรื่องของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย หรือการเป็นประเทศที่มีความทรงอิทธิพลในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง กระทั่งการทำนาทางด้านเทคโนโลยีและอื่นอื่น รวมไปถึงอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และอีกหลาย ๆ อย่างที่เราจะคิดได้ แต่โดยส่วนมากสิ่งหนึ่งที่คนไม่ค่อยคิดถึงสหรัฐอเมริกา นั่นก็คือเรื่องของระบอบการปกครอง ที่นอกจากจะเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแล้ว ลักษณะการปกครองสำคัญของสหรัฐอเมริกาอีกรูปแบบหนึ่งนั่นคือเรื่องของการปกครองในลักษณะของสหพันธ์ ซึ่งเป็นการรวมกันของรัฐหลาย ๆ รัฐในอดีตเขาไว้ด้วยกันภายใต้รัฐธรรมนูญหนึ่งฉบับ และรัฐที่กระจายแยกย่อยไปนั้น ก็มีกฎหมายและรัฐธรรมนูญเป็นของตัวเอง ด้วยลักษณะของความเป็นสหพันธ์แบบนี้ทำให้สหรัฐอเมริกาไม่มีการปกครองในส่วนภูมิภาค และข้ามรูปแบบการปกครองไปเป็นรูปแบบของการปกครองในลักษณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแทน

    โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศสหรัฐอเมริกามีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบ โดยมีงานศึกษาได้ทำการศึกษารูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นในสหรัฐอเมริกาเอาไว้ ว่ามีมากถึง 6 รูปแบบ อันได้แก่รูปแบบทั่วไปจำนวน 4 รูปแบบ โดยแบ่งเป็นดังนี้ เคาน์ตี้ ซิตี้ ทาวน์ ทาวน์ชิพ และรูปแบบพิเศษ  2 รูปแบบ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสองสถานะ เขตพิเศษและเขตโรงเรียน  (น. 71)
    หนังสือ : การปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศสหรัฐอเมริกา
    โดย : สมคิด เลิศไพฑูรย์
    จำนวน : 78 หน้า

    "ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นสหพันธรัฐ ซึ่งมีลักษณะสำคัญสองประการ คือ มีการใช้อำนาจอธิปไตยในสองระดับ ได้แก่ระดับสหพันธ์ และระดับมลรัฐ โดยทั้งสองระดับต่างก็มีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเอง ต่างก็มีสภานิติบัญญัติที่สามารถตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างหมอรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมากกว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหพันธรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรัฐธรรมนูญของมลรัฐมักจะกำหนดหลักการสำคัญโดยเฉพาะเรื่องการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไว้ให้ไปกำหนดรายละเอียดในกฎหมายซึ่งคล้ายคลึงกับประเทศไทย …  และเมื่อสหรัฐอเมริกามีการจัดการปกครองเป็นแบบสหพันธรัฐ สหรัฐอเมริกาจึงไม่มีราชการส่วนภูมิภาค ไม่มีผู้ว่าราชการจังหวัด หรือไดอำเภอที่มาทำหน้าที่ในการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การควบคุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงกระทำผ่านการตรารัฐธรรมนูญและกฎหมายในการกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานต่างๆ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการรวมทั้งการให้เงินอุดหนุนเป็นเครื่องมือในการควบคุมด้วย" (น. 71)

    เนื้อหาของหนังสือ "การปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศสหรัฐอเมริกา" เล่มนี้ บอกเล่าเรื่องราว ของรูปแบบการปกครองท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกา โดยลักษณะของการเขียนที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ เป็นการบรรยายถึงองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่นสหรัฐฯในลักษณะของความรู้แบบพื้นฐาน หรือที่เรามักเรียกกันติดปาก ในสมัยเรียนหนังสือ ว่าความรู้พื้นฐานในลักษณะนี้จะถูกเรียกว่ากลุ่มวิชา 101 หนังสือเล่มนี้ก็ทำหน้าที่ในลักษณะเดียวกันกับกลุ่มวิชาดังกล่าว เพราะเป็นการบอกเล่าเรื่องราวในลักษณะของพื้นฐานในรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสหรัฐ ถึงที่มา ความสำคัญ รูปแบบของการปกครอง รวมไปถึงการควบคุมตรวจสอบ ผ่านกลไกในเรื่องของการให้เงินสนับสนุน

    โดยเนื้อหาของหนังสือ "การปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศสหรัฐอเมริกา" แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังนี้

    ระบบการเมืองและการปกครอง

    วิวัฒนาการของการปกครองท้องถิ่น

    การจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    โครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    หน้าที่และอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    การคลังท้องถิ่น

    ความสัมพันธ์ระหว่างมลรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    บทสรุป

    เมื่ออ่านหนังสือ "การปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศสหรัฐอเมริกา" เล่มนี้จบลง เราจะพบว่าแท้จริงแล้วสหรัฐอเมริกา ที่เราเคยรับรู้หรือว่าที่เรารู้จักกัน ไม่ได้มีแค่เรื่องของรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย และความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีอื่น ๆ แต่เพียงเท่านั้น หากแต่ในเรื่องของการปกครองส่วนท้องถิ่นเอง สหรัฐอเมริกาก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะรูปแบบและความหลากหลาย ของการปกครองส่วนท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปในแต่ละมลรัฐ

    ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า รูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในรัฐหนึ่ง ๆ นั้น อาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องทำในลักษณะเดียวกันแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะการออกแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สอดรับกับความต้องการของพื้นที่ ของประชาชน และเข้ากับบริบทของพื้นที่ ดูจะเป็นสิ่งที่พึงกระทำ ในการจัดการปกครอง เพื่อให้หน่วยปกครองเหล่านี้สามารถจัดทำบริการสาธารณะ ที่สอดรับกับความต้องการของประชาชนได้อย่างดีที่สุดและเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in