เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
การพัฒนาบริการสาธารณะฯ By พีรดร แก้วลาย
  • รีวิวเว้ย (1070) รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    เวลาที่เราพูดถึงเรื่องของการจัดทำบริการสาธารณะ โดยเฉพาะบริการสาธารณะที่จัดทำขึ้นโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่อยู่ในลักษณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเทศบาล ภาพของการจัดทำบริการสาธารณะเหล่านั้นมักจะผูกโยงอยู่กับการจับหมา เก็บขยะ รดน้ำต้นไม้ ทำไฟทางให้สว่าง และทำถนนให้เป็นหลุมบ่อ แต่ในความเป็นจริงแล้วองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละพื้นที่ต่างก็มีความสามารถในการจัดทำบริการสาธารณะได้ด้วยตัวเอง โดยที่ไม่จำเป็นต้องรอคำสั่งหรือรอแนวทางการชี้แนะจากองค์กรส่วนกลางหรือองค์กรที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแล

    อย่างกรณีที่ผ่านมาที่เราเห็นที่จังหวัดเชียงใหม่มีการจัดทำสถานีรถไฟใต้ดินเทียมที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์อย่างหนึ่งของพื้นที่ ที่อยากให้พื้นที่เชียงใหม่มีลักษณะของขนส่งมวลชนในรูปแบบเดียวกันกับที่กรุงเทพมหานครมี หากแต่ไม่ดีกว่าหรือแทนที่จะเป็นสถานีรถไฟปลอม สถานีรถไฟใต้ดินหรือขนส่งสาธารณะในลักษณะนี้ควรถูกสร้างขึ้นมาในพื้นที่ของท้องถิ่นที่มีความสามารถและศักยภาพของตัวเองอย่างมากเพียงพอ โดยที่ไม่จำเป็นต้องรอ ให้การพัฒนาไปถึงไหนลักษณะของความเวทนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่ง จังหวัดหลายจังหวัด ล้วนมีความสามารถมากพอในการจัดทำบริการสาธารณะให้สอดรับกับความต้องการของประชาชน เมื่อเป็นเช่นนั้นจะไม่ดีกว่าหรือหากท้องถิ่น ชุมชน และประชาชนในพื้นที่ มาร่วมกันคิดและพัฒนาในการสร้างบริการสาธารณะ ในลักษณะของกระบวนการจัดทำบริการสาธารณะเชิงสร้างสรรค์ ที่อาจจะแหวกแปลกจากขนบของรัฐไทยไปบ้างหากแต่บริการสาธารณะเหล่านั้น ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง
    หนังสือ : การพัฒนาบริการสาธารณะเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Guide Book)
    โดย : พีรดร แก้วลาย และ ขวัญ พงษ์หาญยุทร
    จำนวน : 98 หน้า

    "กระบวนการคิดเชิงออกแบบ คือกระบวนการในการสร้างนวัตกรรมซึ่งประยุกต์มาจากวิธีการคิดของนักออกแบบ โดยคำนึงถึงผู้ใช้เป็นหลัก ให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลเชิงลึก การร่วมรังสรรค์กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีทีมที่เชี่ยวชาญที่หลากหลาย รวมถึงการสร้างแบบจำลองเพื่อทดสอบแนวคิดก่อนที่จะนำไปปฏิบัติจริง" (น. 4)

    คู่มือ "การพัฒนาบริการสาธารณะเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Guide Book)" เล่มนี้ เป็นการนำเสนอแนวทางและขั้นตอนในการพัฒนาบริการสาธารณะ ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การเพิ่มศักยภาพให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถพัฒนาบริการสาธารณะใหม่ๆ มีความเข้าใจในกระบวนการคิดเชิงออกแบบ และการออกแบบบริการ ที่เน้นการสร้างการมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการร่วมรังสรรค์ กับทุกภาคส่วนในพื้นที่ เข้าใจประเด็นปัญหาและเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงอย่างรอบด้าน สร้างโอกาสในการสร้างสรรค์และพัฒนาแนวคิดใหม่ๆผ่านการเพิ่มมูลค่าและต่อยอดทรัพย์สินในพื้นที่โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

    เนื้อหาในคู่มือ "การพัฒนาบริการสาธารณะเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Guide Book)" ประกอบไปด้วยการถอดบทเรียนกรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศในการพัฒนาบริการสาธารณะ แนวทางการพัฒนาบริการสาธารณะ ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ การนำเสนอกระบวนการและเครื่องมือในการพัฒนาบริการสาธารณะด้วยการคิดเชิงออกแบบ การสร้างการมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการร่วมรังสรรค์ และเครื่องมือที่ใช้ประกอบการทำกระบวนการ รวมทั้งตัวอย่างการดำเนินการออกแบบบริการสาธารณะเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเนื้อหาแบ่งออกเป็นทบต่าง ๆ ดังนี้

    บทที่หนึ่ง บทนำ การพัฒนาบริการสาธารณะเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ

    บทที่สอง ขั้นตอนการออกแบบบริการสาธารณะเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ

    บทที่สาม การสร้างการมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการร่วมรังสรรค์ และเครื่องมือที่ใช้ประกอบการทำกระบวนการ

    บทที่สี่ การถอดบทเรียนการออกแบบบริการสาธารณะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    บทที่ห้า แนวทาง ปัจจัยสู่ความสำเร็จ และบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในการพัฒนาบริการสาธารณะเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น

    หลังจากอ่านหนังสือ การพัฒนาบริการสาธารณะเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ จบลง เราจะพบว่าในท้ายที่สุดแล้วการนำเอาแนวคิดต่างๆเข้ามาประยุกต์กับการบริหารจัดการท้องถิ่น หรือการจัดทำบริการสาธารณะให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแนวคิดที่สามารถดำเนินการได้ สามารถทำได้ และท้องถิ่นมีความสามารถมากพอในการดำเนินกิจการบริการสาธารณะเหล่านั้น โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องรอคำสั่งจากส่วนกลาง หรือรอการอนุมัติ เห็นดีเห็นงาม จากหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลอย่างโกงส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นหรือกระทรวงมหาดไทย หากแต่บริการสาธารณะที่จัดทำโดยท้องถิ่น บริการเหล่านั้นจัดทำขึ้นเพื่อประชาชน โดยเฉพาะประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงเป็นผู้ที่มีความเข้าใจมากที่สุดว่าคนในพื้นที่ของตนต้องการสิ่งใด จะไม่ดีกว่าหรือหากท้องถิ่นทุกท้องถิ่นสามารถจัดทำบริการสาธารณะเชิงสร้างสรรค์ของตัวเองเพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของคนในพื้นที่ มากกว่าการรับคำสั่งจากส่วนกลาง ให้จัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบเดียวกัน คล้ายกับการตัดเสื้อโหลที่ตลอดเวลาที่ผ่านมาท้องถิ่นของไทยรับคำสั่งในลักษณะนี้ มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ผ่านทั้งการกำกับดูแล และการควบคุมการใช้งบประมาณโดย สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in