Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
การปกครองท้องถิ่นในระยะผ่าน By ศูนย์ศึกษาฯ (ศพปท.) เชียงใหม่
รีวิวเว้ย (1071)
รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พัฒนาการการปกครองท้องถิ่นของไทย วางตัวอยู่บนข้อถกเถียงมาเนิ่นนานว่าแท้จริงแล้วการปกครองท้องถิ่นของประเทศไทย หรือสยามนั้นควรเริ่มต้นจากจุดไหน เริ่มต้นที่พศเท่าไหร่ หรือเริ่มต้นภายหลังเหตุการณ์ได้ นักวิชาการบางกลุ่มนับการปกครองท้องถิ่นของไทยเริ่มต้นภายหลังการก่อตั้ง สุขาภิบาลขึ้นในประเทศสยาม หรือ ในช่วงของระยะเวลา พ.ศ. 2435 และนักวิชาการบางกลุ่มก็เริ่มนับการเกิดขึ้นของการปกครองท้องถิ่นไทย ภายหลังเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ที่นับเอาการก่อตั้งการปกครองในรูปแบบของ เทศบาล ขึ้นเป็นครั้งแรกภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นั่นทำให้พัฒนาการ จุดเริ่มต้นของการเมืองการปกครองท้องถิ่นของสยามไทยสามารถนับเอาจุดกำเนิดได้มาตามรูปแบบที่เป็นข้อถกเถียงของวงวิชาการ แต่เป็นที่แน่นอนว่ารูปแบบการเปลี่ยนแปลงการปกครองท้องถิ่นไทยที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนอาจจะเกิดขึ้นภายหลังการเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญ 2540 ที่การเลือกตั้งผู้นำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการแยกข้าราชการ ระหว่างข้าราชการท้องถิ่นกับราชการส่วนภูมิภาคออกจากกันอย่างชัดเจน ความน่าสนใจของการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินมาตลอด อยู่ในช่วงภายหลังการรัฐประหาร 2557 ที่อยู่ดี ๆ การปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่เคยถูกแทรกแซงจากการรัฐประหารเลย กลับถูกแช่แข็งด้วยคำสั่งของคณะรัฐประหารที่ให้ผู้บริหารท้องถิ่นหลายพื้นที่หยุดปฏิบัติหน้าที่และตั้งเอาปลัดท้องถิ่นขึ้นมาทำหน้าที่ในฐานะนายกแท่นผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายๆคนที่ถูกถอดถอนตามคำสั่งของคณะรัฐประหาร ในช่วงเวลานั้นทำให้เกิดข้อถกเถียงในเรื่องของการแช่แข็งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดขึ้น และเป็นที่น่าสนใจของวงการศึกษาการปกครองส่วนท้องถิ่นว่าเกิดอะไรกันแน่กับการปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ดีๆคณะรัฐประหารเข้าไปมีบทบาทในการแช่แข็งและหยุดการเติบโตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เติบโตมาตั้งแต่ภายหลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540
หนังสือ : การปกครองท้องถิ่นในระยะผ่าน
โดย : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตยและเทศานุวัตน์ (ศพปท.) เชียงใหม่
จำนวน : 76 หน้า
"ระยะผ่าน (Translation Period) สำหรับการเดินทางของการปกครองท้องถิ่นในแต่ละประเทศมีรูปแบบหลากหลายไม่เหมือนกันแต่รูปแบบหลักคือ การปกครองท้องถิ่นที่ออนแอร์ในรัฐรวมศูนย์อำนาจล้นเหลือ เดินทางไปทีละก้าวและพัฒนาไปสู่ระบบประชาธิปไตยทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น นั่นคือ มีการปกครองท้องถิ่นที่เข้มแข็งมากขึ้นเป็นลำดับ มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น (ไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรงเช่นในสหรัฐฯ และ ภายหลังเยอรมนี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รับเอาแบบนี้ไปใช้ หรือการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยอ้อม เช่นในอังกฤษหรือสแกนดิเนเวีย อนึ่ง ระยะหลัง เมืองใหญ่หลายเมืองในอังกฤษก็หันไปใช้ระบบเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงเช่นกัน) ในระยะผ่านดังกล่าวแน่นอนว่าอุปสรรคย่อมต้องมีทั้งจากระดับชาติและระดับท้องถิ่นเอง บางครั้งมีการพัฒนาไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว กระทั่งเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดด บางครั้งสรุปเป็นช่วงเวลาสั้นๆ บางครั้งสะดุดเป็นช่วงเวลายาวนาน และหลายครั้งก็ถอยหลังไปหลายก้าว" (น. 32-33)
หนังสือ "การปกครองท้องถิ่นในระยะผ่าน" เป็นหนังสือที่เกิดขึ้นจากการประมวลสรุปผลการเสวนาเรื่องการปกครองท้องถิ่นในระยะผ่าน ที่จัดขึ้นที่คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยา เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2559 ซึ่งเป็นช่วงเวลาสองปีภายหลังจากการรัฐประหารเกิดขึ้น แน่นอนว่าเป็นช่วงเวลาสองปีนับจากการปกครองส่วนท้องถิ่นถูกแช่แข็งด้วยคำสั่งของคณะรัฐประหาร
โดยที่หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเอาบทสนทนา บทวิเคราะห์ และการนำเสนอ ในเวทีเสวนาวิชาการดังกล่าวมารวมไว้ด้วยกันไม่วาจะเป็นความเห็นของทางด้านนักวิชาการ นักปฏิบัติ อาทินายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆรวมไปถึงนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางท่านที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งคณะรัฐประหารดังกล่าวด้วย
นอกจากบทสรุปของการเสวนาเรื่องการปกครองท้องถิ่นในระยะผ่านแล้ว หนังสือเล่มนี้ยังได้รวบรวมเอาผลงานอีกชิ้นหนึ่ง ของธเนศวร์ เจริญเมือง ว่าด้วยเรื่องของการปกครองท้องถิ่นในระยะผ่าน ที่ตัวบทความชิ้นนี้ได้พูดถึงเรื่องของ การปกครองส่วนท้องถิ่นในระยะผ่านในหลายประเทศ ว่ากลไก การเกิดขึ้น รูปแบบ การปรับตัว การพัฒนา และการเปลี่ยนผ่านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระยะผ่านของแต่ละประเทศต้องเผชิญกับเรื่องราวอย่างไรบ้าง อีกทั้งบทความชิ้นดังกล่าว ยังได้พูดถึงการปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยในตลอดเวลาที่ผ่านมา กระทั่งภายหลังการรัฐประหารครั้งดังกล่าว ที่ได้ส่งผลโดยตรงต่อการแช่แข็งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกิดขึ้น โดยความสาสนใจประการหนึ่ง ที่ปรากฏอยู่ในบทความชิ้นนี้ คือผู้เขียนได้นำเสนอว่าระยะผ่านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น อาจจะมีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องของการเปลี่ยนผ่าน ที่อาจจะทำให้ระยะเวลาเนิ่นนานหรือรวดเร็ว การเปลี่ยนผ่านเหล่านี้อาจจะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในและปัจจัยสนับสนุนภายนอกที่จะส่งผลให้การเปลี่ยนผ่านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ในลักษณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นประชาธิปไตย และเป็นของประชาชนมากขึ้น ต่างต้องอาศัยปัจจัยภายในและภายนอกที่เกื้อหนุนกัน ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวภายใต้การรัฐประหารภายใต้การรัฐประหารย่อมส่งผลต่อการปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะปัจจัย ที่กำกับการพัฒนา และส่งผลให้การพัฒนาการของท้องถิ่นหยุดชะงักลง
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
20
20 บาท
50
50 บาท
100
100 บาท
300
300 บาท
500
500 บาท
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in