เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ก้าวต่อไปเพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน By คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
  • รีวิวเว้ย (1063) รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ของแพง ค่าแรงถูก อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นไปที่ 7.66 ราคาพลังงานพร้อมในกันขึ้น รวมถึงสินค้าต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานต่างก็ทยอยขยับขึ้นไปพร้อมกัน อีกทั้งค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง (36 ฿ = 1 $) กลายเป็นว่าราคาสินค้า ข้าวของเครื่องใช้ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมชีวิตของผู้คนดูจะทยอยกันขยับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา (กรกฎาคม 2565) แน่นอนว่าการขยับขึ้นของสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตและการใช้ชีวิตของผู้คน นอกจากการขยับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าอุปโภคบริโภคแล้ว ในสภาวะของการระบาดของโควิด-19 ที่ดูคล้ายจะผ่อนคลายและบรรเทาลง โดยดูจากการผ่อนคลายมาตรการทางวาธารณะสุขต่าง ๆ อาทิ การถอดหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ การกลับมาเปิดทำการของร้านอาหาร สถาบันเทิง และกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อฟื้นระบบเศรษฐกิจให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง แต่ทั้งหมดนี้ก็อาจจะต้องชะงักลงจากการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 Ba.4 และ Ba.5 ที่ตัวเลขของจำนวนผู้ติดเชื่อกำลังทยอยขยับตัวขึ้นพร้อมกับราคาสินค้าและราคาพลังงาน แน่นอนว่าในสภาวะดังกล่าวการหาทางออกของปัญหาดูจะเป็นแนวทางที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำต้องเร่งดำเนินการเพื่อจัดการปัญหาเหล่านั้น
    หนังสือ : ก้าวต่อไปเพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน
    โดย : คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
    จำนวน : 400 หน้า

    หนังสือ "ก้าวต่อไปเพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน" เล่มนี้เป็นการรวบรวมบทความ (Proceedings) ที่ได้นำเสนอในงานสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2564 หรือ Symposium ของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ "ก้าวต่อไปเพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน"

    โดยการจัดงานครั้งนี้เป็นครั้งที่ 43 โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อนำเสนอบทความวิจัยของคณาจารย์ในคณะเศรษฐศาสตร์ ในหัวข้อที่มีความสำคัญและมีส่วนในการกำหนดทิศทางในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศการระบาดและผลกระทบของโควิด 19 ต่อทิศทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศเป็นประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางทั้งในวงการวิชาการภาครัฐประชาสังคมและประชาชน

    หนังสือ "ก้าวต่อไปเพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน" เล่มนี้ประกอบไปด้วยบทความที่ได้นำเสนอในงานสัมมนาดังกล่าวจำนวนทั้งสิ้น 4 บทความ

    (1) ความเชื่อมโยงระหว่างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจความเหลื่อมล้ำและความยั่งยืน: การศึกษาด้วยแบบจำลองแมชชีนเลิร์นนิ่ง โดย มณเฑียร สติมานนท์ ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (CRISP)

    (2) ความอยู่รอดของการส่งออกของไทยหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 โดย อลงกรณ์ ธนศรีธัญญากุล กลุ่มวิจัยความสามารถในการแข่งขัน (ICRC)

    (3) โลกคู่ขนานของตลาดแรงงานไทยในช่วงโควิด -19 โดย แก้วขวัญ ตั้งติพงศ์กุล กลุ่มเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์นวัตกรรมและการพัฒนา (HIDE)

    (4) เศรษฐกิจสีเขียวก่อนและหลังสถานการณ์โควิด 19 โดย นิรมล สุธรรมกิจ ศูนย์วิจัยนโยบายด้านเศรษฐกิจสีเขียว (PRO-Green)

    อาจเรียกได้ว่า หนังสือ "ก้าวต่อไปเพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน" อาจจะไม่ได้ให้คำตอบถึงวิธีการจัดการแบบที่สามารถปฏิบัติได้ผล 100% หากแต่บทความชิ้นต่าง ๆ ที่ปรากฏใน "ก้าวต่อไปเพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน" จะช่วยให้ผู้อ่านได้มองเห็น และทำควาใเข้าใจพลวัตทางเศรษฐกิจของไทย พร้อมทั้งการเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นและดำเนินไป

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in