เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขอของแถมสุข By แถมสุข นุ่มนนท์ และครอบครัว
  • รีวิวเว้ย (1051) "…ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของมนุษย์ที่ถูกบันทึกขึ้นโดยนักประวัติศาสตร์ ซึ่งต้องใช้หลักฐานวิเคราะห์ ตีความ งานของนักประวัติศาสตร์ไม่มีวันจะสมบูรณ์ และมีปัญหาต่อไป งานที่นักประวัติศาสตร์เขียนเสร็จแล้วจึงยังไม่เสร็จ นักประวัติศาสตร์เล่นกับสิ่งที่มีมิติเวลา คือ เปลี่ยนแปลง เคลื่อนไหวและก้าวไปข้างหน้าตลอดเวลา เล่นกับหลักฐานที่ไม่สมบูรณ์ โดยมันไม่อาจบอกทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่พูดไม่เถียงอะไร งานหลักสำคัญของนักประวัติศาสตร์จึงต้องตีความ และงานของนักประวัติศาสตร์ก็ถูกจำกัดด้วยมิติของเวลาเช่นเดียวกับตัวประวัติศาสตร์นั่นเอง งานประวัติศาสตร์หนึ่ง ๆ จึงเป็นเสมือน “ฉบับร่าง” อยู่เสมอ และต้องรอให้มี “การยกร่างใหม่” โดยการแสวงหาหลักฐานใหม่ ใช้หลักฐานที่แตกต่างออกไป หรือสร้างมุมมองวิเคราะห์ความที่ไม่เหมือนเดิม ชีวิตของงานประวัติศาสตร์ยืนที่จุดนี้ และนักประวัติศาสตร์จำเป็นต้อง “ทำงานใหม่” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง นักประวัติศาสตร์ ต้องวิจัยเพื่อทำให้ประวัติศาสตร์และงานประวัติศาสตร์ไม่ตาย เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะใหม่ได้เสมอ..."
    หนังสือ : ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขอของแถมสุข
    โดย : แถมสุข นุ่มนนท์
    จำนวน : 304 หน้า

    "ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขอของแถมสุข" หนังสือที่ถูกจัดพิมพ์ขึ้นในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ หนึ่งในวิชาการด้านประวัติศาสตร์คนสำคัญของประเทศไทย ที่เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ที่วางรากฐานให้การศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ในประเทศไทยมีความก้าวหน้าและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องดังที่ปรากฏอยู่ในวงวิชาประวัติศาสตร์อย่างในทุกวันนี้

    โดยที่หนังสือ "ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขอของแถมสุข" ได้ทำการรวบรวมเอางานเขียนของอาจารย์แถมสุข ที่เขียนเกี่ยวกับตัวของอาจารย์เองเอาไว้ในช่วงวัยต่าง ๆ ในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งการเขียนประวัติศาสตร์ของอาจารย์ถูกเขียนขึ้นใน 3 ช่วงวัย และถือเป็น 3 เล่มของหนังสือที่ว่าด้วยประวัติศาสตร์ในสายตาและการเล่าเรื่องของอาจารย์แถมสุข ในการนี้ "ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขอของแถมสุข" ได้ทำการรวบรวมงานเขียนทั้ง 3 ชิ้นดังที่กล่าวมารวมเข้าด้วยกัน โดยแบ่งส่วนสำหรับเนื้อหาในหนังสือออกเป็น

    (1) แถมสุขวัยรุ่น ที่ว่าด้วยเรื่องของประวัติศาสตร์และความทรงจำของอาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับตัวตน บ้างเมือง สังคมในช่วงเวลาที่อาจารย์เป็นเด็กกระทั่งเข้าเรียนที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

    (2) แถมสุขวัยสาว ช่วงเวลาที่ว่าด้วยเรื่องของการออกเดินทางเพื่อไปศึกษาต่อด้านประวัติศาสตร์ในฮ่องกง อังกฤษกระทั่งช่วงแรกของการกลับมาเป็นอาจารย์ในประเทศไทย

    (3) แถมสุขวัยโรจน์ - วัยโรย อาจจะเรียกได้ว่าเป็นหนังสือเล่มสุดท้ายในชุดที่ว่าด้วยเรื่องของชีวิตที่ต้องขยับขยายไปทำหน้าที่ในการบุกเบิกและปลูกสร้างเพื่อวางรากฐานให้กับการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ในที่ต่าง ๆ และรวมไปถึงช่วงเวลาสุกทัายของชีวิตอาจารย์ที่ถูกเล่าและมองผ่านสายตาคนที่รัก

    นอกจากเนื้อหา 3 ช่วงเวลาแล้ว "ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขอของแถมสุข" ยังมีส่วนของ "คำไว้อาลัย" จากบุคคลที่เคยชิดใกล้อาจารย์แถมสุขในช่วงเวลาต่าง ๆ และในส่วนสุดท้ายของ "ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขอของแถมสุข" ได้มีการหยิบเอาบทความที่ได้สัมภาษณ์อาจารย์แถมสุข ในเรื่องของงานวิชาการที่อาจารย์ได้เคยทำมาตลอดช่วงเวลาที่ถูกสัมภาษณ์และเขียนลงในงานศึกษาชิ้นดังกล่าว

    อาจเรียกได้ว่า "ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขอของแถมสุข" เป็นหนังสือที่จัดอยู่ในกลุ่มของหนังสืองานศพ ที่สำหรับเราแล้วมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเพราะอาจารย์แถมสุข ได้มีส่วนสำคัญในการทำให้หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นมา อีกทั้ง "ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขอของแถมสุข" นับเป็นบันทึกหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่ช่วยให้เราได้เห็นถึงพลวัตของการศึกษาประวัติศาสตร์ในสังคมไทยที่ดำเนินไปผ่านเรื่องเล่าและสายตาของนักประวัติศาสตร์มากฝีมือที่เขียนเอาไว้ก่อนวัยใกล้ฝั่ง

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in