เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ละครการเมือง 24 มิถุนายน 2475 By แถมสุข นุ่มนนท์
  • รีวิวเว้ย (1052) "…ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของมนุษย์ที่ถูกบันทึกขึ้นโดยนักประวัติศาสตร์ ซึ่งต้องใช้หลักฐานวิเคราะห์ ตีความ งานของนักประวัติศาสตร์ไม่มีวันจะสมบูรณ์ และมีปัญหาต่อไป งานที่นักประวัติศาสตร์เขียนเสร็จแล้วจึงยังไม่เสร็จ นักประวัติศาสตร์เล่นกับสิ่งที่มีมิติเวลา คือ เปลี่ยนแปลง เคลื่อนไหวและก้าวไปข้างหน้าตลอดเวลา เล่นกับหลักฐานที่ไม่สมบูรณ์ โดยมันไม่อาจบอกทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่พูดไม่เถียงอะไร งานหลักสำคัญของนักประวัติศาสตร์จึงต้องตีความ และงานของนักประวัติศาสตร์ก็ถูกจำกัดด้วยมิติของเวลาเช่นเดียวกับตัวประวัติศาสตร์นั่นเอง งานประวัติศาสตร์หนึ่ง ๆ จึงเป็นเสมือน “ฉบับร่าง” อยู่เสมอ และต้องรอให้มี “การยกร่างใหม่” โดยการแสวงหาหลักฐานใหม่ ใช้หลักฐานที่แตกต่างออกไป หรือสร้างมุมมองวิเคราะห์ความที่ไม่เหมือนเดิม ชีวิตของงานประวัติศาสตร์ยืนที่จุดนี้ และนักประวัติศาสตร์จำเป็นต้อง “ทำงานใหม่” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง นักประวัติศาสตร์ ต้องวิจัยเพื่อทำให้ประวัติศาสตร์และงานประวัติศาสตร์ไม่ตาย เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะใหม่ได้เสมอ..."
    หนังสือ : ละครการเมือง 24 มิถุนายน 2475
    โดย : แถมสุข นุ่มนนท์
    จำนวน : 263 หน้า

    "ละครการเมือง 24 มิถุนายน 2475" (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3) หนังสือที่ถูกจัดพิมพ์ขึ้นในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ หนึ่งในวิชาการด้านประวัติศาสตร์คนสำคัญของประเทศไทย ที่เป็นการหยิบเอาหนังสือเล่มเก่ามาปรับปรุงใหม่อีกครั้ง ซึ่งในระหว่างของการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้จากไปก่อนที่หนังสือฉบับแก้ไขจะดำเนินการได้เสร็จสมบูรณ์ แต่เมื่อเทียบกับฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 ที่จำนวนหน้ามีอยู่ไม่เกิน 100 หน้านั้น ในการปรับปรุงอีกครั้งได้แสดงให้เห็นว่ามีหลายส่วนตอนของหนังสือเล่มนี้ที่ถูกเพิ่มเข้ามา

    หากพูดถึงหนังสือ "ละครการเมือง 24 มิถุนายน 2475" หลายคนหากอ่านหนังสือเล่มนี้จากสายตาของยุคสมัย และชุดข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็อาจจะรู้สึกขัดใจกีบการอ่านเนื้อหาที่ปรากฏิอยู่ใน "ละครการเมือง 24 มิถุนายน 2475" เล่มนี้บ้างไม่มากก็น้อย อาจจะด้วยหลักฐานที่ถูกหยิบยกมาไว้ในหนังสือเล่มนี้เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ของกลุ่มอำนาจเก่า และผู้รับใช้ใกล้ชิด ทำให้เนื้อหาของหลักฐานที่ปรากฏอาจจะขัดใจผู้อ่านที่เคยอ่านหลักฐานหรืองานประวัติศาสตร์ที่ศึกษาแนวคิดของอีกกลุ่มมาแล้ว อย่างที่บอกว่าหากย้อนดูช่วงเวลาที่ "ละครการเมือง 24 มิถุนายน 2475" ถูกพิมพ์ขึ้นครั้งแรกในปี "พ.ศ. 2535" ในช่วงเวลาดังกล่าวกระแสการรับรู้เรื่องราวและเรื่องเล่าของ "คณะราษฎร" ปรากฏอยู่ในฐานะของ "ตัวร้ายในประวัติศาสตร์" อีกทั้งช่วงเวลาดังกล่าวกระแสที่มองว่าการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 เป็นช่วงเวลาของการ "ชิงสุกก่อนห่าม" ก็เป็นที่รับรู้และถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง หากเราอ่านงายเทียบเทียงบริบทของช่วงเวลาดังกล่าว (2535) เราจะพบว่าช่วงเวลาระหว่างและหลังจากนั้นคือกระแสสูงของสถาบันฯ และงานศึกษาทางประวัติศาสตร์หลายชิ้นก็มุ่งไปที่เรื่องดังกล่าว รวมถึงข้อจำกัดในเรื่องของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของระบบเอกสารและการจดบันทึกของไทยเองก็เป็นไปในทางบันทึกของคนบางกลุ่ม จึงไม่แปลกที่เมื่อเอาหลักฐานที่มีและปรากฏหลาย ๆ ชิ้นมาวางต่อกันกระแสของการ "ชิงสุกก่อนห่าม" จึงดูเป็นเหตุเป็นผลอยู่ในช่วงเวลานั้น ความน่าตลกประการหนึ่ง คือ กระทั่งยุคปัจจุบัน (2565) การหยิบเอาการต่อสู้ในเรื่องของ "การชิงสุกก่อนห่าม" ก็กลับมาอีกครั้งในสังคม ทั้งที่เวลาผ่านมา 90 ปีนับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงเมื่อย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แต่กว่า 90 ปีที่ผ่านมาสังคมไทยดูจะยังวนเป็นวงกลมที่วนซ้ำทับลอยเดิมไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง ทั้งที่หลักฐานใหม่ ๆ ทั้งในไทยและในต่างประเทศก็ทยอยถูกศึกษามากขึ้นในทุกวัน

    กลับมาที่เรื่องของหนังสือ "ละครการเมือง 24 มิถุนายน 2475" ในฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 นี้ เนื้อหาในหนังสือถูกแบ่งออกเป็น 4 บทใหญ่ และ 1 ภาคผนวกที่ได้รวบรวมเอาหลักฐานที่ถูกเปิดเผยและปรากฏอยู่ในช่วงเวลานั้นมารวมไว้ให้คนได้อ่าน (แต่อย่างที่บอกในเรื่องของการใช้หลักฐาน) โดยเนื้อหาของ "ละครการเมือง 24 มิถุนายน 2475" แบ่งออกเป็นดังนี้

    บทที่ 1 ความวุ่นวายในเมืองสยาม 24 มิถุนายน - 4 กรกฎาคม 2475

    บทที่ 2 สยาม : 6 เดือนภายใต้คณะกรรมการราษฏร

    บทที่ 3 สยาม : 6 เดือนภายใต้รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราข 2475 (10 ธันวาคม 2475 - 20 มิถุนายน 2475)

    บทที่ 4 พระบรมวงศานุวงศ์ภายหลัง 24 มิถุนายน 2475

    ภาคผนวก
    (1) พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
    (2) พระราชบันทึก 1,2,3
    (3) พระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ
    (4) เพลงคณะราษฎร เพลงชาติมหาชัย

    เมื่ออ่าน "ละครการเมือง 24 มิถุนายน 2475" จบลง มันทำให้เราคิดถึงคำพูดของอาจารย์ท่านหนึ่งว่า "นักประวัติศาสตร์เชื่อถือหลักฐานชั้นต้น แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าหลักฐานชั้นต้นนั้นถูกต้อง" และคำตอบของอาจารย์ผู้ใหญ่อีกท่านได้บอกเอาไว้ว่า "เมื่อเป็นเช่นนั้น งานประวัติศาสตร์จึงเป็นงานที่มีพลวัต ผู้ศึกษาวิจัยต้องคุยกับหลักฐานให้เป็น คุยกับหลักฐานให้บ่อย และคอยตรวจสอบมันซ้ำ ๆ อยู่เสมอ" เพราะอย่างไรเสียก็เหมือนกับเนื้อเพลงของ "สุเทพ วงศ์กำแหง" ที่ร้องว่า

    โลกนี้นี่ดูยิ่งดูยอกย้อน
    เปรียบเหมือนละคร
    ถึงบทเมื่อตอน เร้าใจ
    บทบาทลีลาแตกต่างกันไป
    ถึงสูงเพียงใด
    ต่างจบลงไปเหมือนกัน
    เกิดมาต้องตายร่างกายผุพัง
    ผู้คนเขาชัง
    คิดยิ่งระวัง ไหวหวั่น
    ต่างเกิดกันมาร่วมโลกเดียวกัน
    ถือผิวชังพรรณ
    บ้างเยียดหยันกันเหลือเกิน
    โลก นี้ คือละคร
    บทบาทบางตอน
    ชีวิตยอกย้อน ยับเยิน
    ชีวิตบางคนรุ่งเรืองจำเริญ
    แสนเพลิน
    เหมือนเดินอยู่บนหนทางวิมาน
    โลกนี้นี่ดูยิ่งดูเศร้าใจ
    ชั่วชีวิตวัย
    หมุนเปลี่ยนผันไปเหมือนม่าน
    เปิดฉากเรืองรองผุดผ่องตระการ
    ครั้นแล้วไม่นาน
    ปิดม่านเป็นความเศร้าใจ

    https://youtu.be/ApSbcmz6ZBs

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in