เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ท้องถิ่นในรอบ 125 ปี: ประเด็นและความท้าทาย By ธเนศวร์ เจริญเมือง
  • รีวิวเว้ย (1015) รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    หนังสือชุด "125 ปี ของการปกครองท้องถิ่นไทย" จัดทำขึ้นโดย "ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่" โดยในหน้า "คำนำ" ได้เขียนถึงการสร้างสรรค์ผลงานหนังสือชุดนี้เอาไว้ว่า "หนังสือชุดดังกล่าวได้เชิญนักวิชาการที่มีบทบาทสำคัญในด้านความคิดและผลงานด้านรัฐ-สังคม และการปกครองท้องถิ่นไทยมาร่วมกันเสนอผลงานเกี่ยวกับช่วงเวลานั้นรวม 33 ชิ้น มีนักวิชาการเสนอผลงานทั้งหมด 36 คน หนังสือเล่มนี้เป็นผลพวงของการเฝ้าสังเกต และการถกเถียงของนักวิชาการกลุ่มหนึ่งในห้วง 3 ทศวรรษ (30 ปี) ที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่การจุดประเด็นเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ในปี พ.ศ. 2534 จนถึงขณะนี้ครบรอบ 30 ปีพอดี นักวิชาการกลุ่มนี้เติบโตในชนบท ได้เดินทางเข้าไปศึกษาต่อในตัวจังหวัดที่เป็นเมือง และได้ไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ หลายคนได้ไปศึกษาต่อในต่างประเทศ บางคนไม่ได้เรียนต่อ แต่ไปเที่ยวหรือได้อ่านหนังสือ ได้เห็นภาพถ่าย ภาพยนตร์ โทรทัศน์ และฟังเรื่องเล่ามากมายที่พูดถึงการบริหารจัดการชนบทและเมืองด้วยคุณภาพที่ใกล้เคียงกัน เมืองกับชนบทต่างกันเพียง 'เมืองใหญ่ มีอาคารสูงมากมาย และผู้คนแออัด' แต่คุณภาพการศึกษา สาธารณสุข ศิลปะ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การงานอาชีพ การเดินทาง การคมนาคมขนส่ง 'ของทั้งสองพื้นที่แทบไม่ต่างกันเลย' แล้วพวกเขาพบว่าการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นนี่เอง ที่เป็นคำตอบเพื่อที่จะบรรลุความใฝ่ฝันเหล่านั้น" (คำนำ, ก-จ) หนังสือชุด "125 ปี ของการปกครองท้องถิ่นไทย" จึงเป็นชุดหนังสือที่ประกอบไปด้วยหนังสือ 5 เล่ม ที่แย่งบทความทั้ง 33 ชิ้นจาก 36 นักวิชาการออกเป็น 5 กลุ่ม โดยหนังสือแต่ละเล่มในชุด "125 ปี ของการปกครองท้องถิ่นไทย" คือการฉายภาพพัฒนาการของท้องถิ่นไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2440 (สมัยของการตั้งสุขาภิบาล) กระทั่งปัจจุบัน (พ.ศ. 2565)
    หนังสือ : ท้องถิ่นในรอบ 125 ปี (พ.ศ. 2440-2565): ประเด็นและความท้าทาย
    โดย : ธเนศวร์ เจริญเมือง บรรณาธิการ
    จำนวน : 258 หน้า

    "ท้องถิ่นในรอบ 125 ปี (พ.ศ. 2440-2565): ประเด็นและความท้าทาย" เป็นผลงานเล่มสุดท้าย (เล่มที่ 5) ของหนังสือชุด "125 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ.2440-2565" โดยเนื้อหาในเล่ม "ท้องถิ่นในรอบ 125 ปี (พ.ศ. 2440-2565): ประเด็นและความท้าทาย" ประกอบไปด้วยบทความจำนวน 7 บทความ และอีก 1 บทสรุป ที่ว่าด้วยเรื่องประเด็นความท้าทายต่าง ๆ ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการปกครองท้องถิ่นของไทยเคยเผชิญมาตลอดห่วงระยะเวลา 125 ปี โดยที่ความท้าทายเหล่านั้นหลายครั้งไม่ใช่แค่เพียงทำให้รูปแบบและการดำเนินงานของท้องถิ่นต้องเปลี่ยนแปลงไป แต่ในหลายครั้งความ้ทาทายเหล่านั้นทำให้พัฒนาการของท้องถิ่นไทยต้องหยุดชะงักบ้างก็ถอยหลังกลับไปสู่ข้อถกเถียงเดิม ๆ ที่ทำให้ท้องถิ่นไทยย่ำอยู่กับที่มาตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษ บทความที่ปรากฏอยู่ใน "ท้องถิ่นในรอบ 125 ปี (พ.ศ. 2440-2565): ประเด็นและความท้าทาย" ประกอบไปด้วย

    คำถามต่อแนวนโยบายและบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษาโดยท้องถิ่น หลังสองทศวรรษของการปฏิรูปการศึกษา (อรรถพล อนันตวรสกุล)

    สาธารณสุขกับการปกครองท้องถิ่นไทย การเดินทางที่คดเคี้ยวและยาวไกล (นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ)

    ท้องถิ่น: สภาวะด้อยอำนาจในการจัดการปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (พนม กุนาวงศ์ และ สุรีรัตน์ กองวี)

    พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์และการจัดการวัฒนธรรมท้องถิ่น กรณีจังหวัดแม่ฮ่องสอน (วสันต์ ปัญญาแก้ว)

    การปกครองท้องถิ่นกับมิติการบริหารจัดการ "ทรัพยากรร่วมป่าและอากาศ" กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ (มัทนา ปัญญาคำ)

    การสร้างสรรค์ท้องถิ่นและประชาธิปไตยเพื่อคัดง้างกับระบบทุนนิยม (เก่งกิจ กิติเรียงลาภ)

    ประสบการณ์จากการปกครองท้องถิ่นของต่างประเทศและการปรับใช้สำหรับประเทศไทย (ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์)

    บทสรุป 125 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย (พ.ศ. 2440-2565) และก้าวต่อไปสู่ศตวรรษใหม่ (ธเนศวร์ เจริญเมือง)

    สามารถอ่านหนังสือ "ท้องถิ่นในรอบ 125 ปี (พ.ศ. 2440-2565): ประเด็นและความท้าทาย" แบบออนไลน์ได้ที่ เล่มที่ 5 https://anyflip.com/cnkxv/cyrl/

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in