เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
A Decade of PAOs By ธเนศ เจริญเมือง บรรณาธิการ
  • รีวิวเว้ย (1007) รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    การรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการรัฐประหารครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของไทย ที่มีการออกคำสั่งคณะรัฐประหารที่เข้าไปมีส่วนในการเหยียบเบรกพัฒนาการของการปกครองท้องถิ่นที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องมากว่า 17 ปี ต้องหยุดชะงักลง และในการรัฐประหารครั้งนั้นคณะรัฐประหารได้ใช้อำนาจในการแทรกแซงการทำหน้าที่ของผู้บริหารท้องถิ่นหลายแห่ง ทั้งการปลดออกจากตำแหนางและแต่งตั้งคนของคณะรัฐประหารเข้าไปนั่งในตำแหน่งแทน หรือให้ข้าราชการท้องถิ่นทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งของผู้บริหารท้องถิ่นควบคู่กัน และในบางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ให้ผู้บริหารเดิมทำหน้าที่ในการบริการงานต่อเนื่องนับจากการรัฐประหารเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 (https://waymagazine.org/ncpo-local-government-organization/) อาจเรียกได้ว่าการรัฐประหารในครั้งนั้นเป็นการควบคุมการปกครองส่วนท้องถิ่นทำให้พัฒนาหยุดลง กระทั่งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมานี้เองการเลือกตั้งท้องถิ่นอย่าง การเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จึงได้ถูกจัดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง หากนับเวลาจากปี 2557 กระทั่ง 2563 จะพบว่าเป็นเวลากว่า 6 ปี ที่การปกครองส่วนท้องถิ่นถูกแทรกแซงด้วยคำสั่งของคณะรัฐประหาร และเวลากว่า 6 ปีที่หายไป (Lost Decades) นี้เองที่เราอาจจะต้องมาทบทวนช่วงเวลาที่จาดหายไปดังกล่าวว่าท้องถิ่นไทยเปลี่ยนแปลงไปเช่นไรในช่วงเวลาที่ขาดหายเหล่านั้น
    หนังสือ : A Decade of PAOs
    โดย : ธเนศ เจริญเมือง บรรณาธิการ
    จำนวน : 124 หน้า

    "A Decade of PAOs" ในชื่อภาษาไทยว่า "1 ทศวรรษการปกครองท้องถิ่นไทย [พ.ศ. 2553-2563] อบจ. กับการเลือกตั้ง 20 ธันวาคม 2563" เป็นหนังสือที่ปรับปรุงมาจากงานเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ "1 ทศวรรษการปกครองท้องถิ่นไทย (2553-2563) อบจ. กับการเลือกตั้ง 20 ธันวาคม 2563" จัดโดยสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันพุธที่ 9 ธันวาคม 2563 (https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2549633245334025&id=151014138305898)

    เนื้อหาใน "A Decade of PAOs" แบ่งออกเป็นบทความชิ้นต่าง ๆ ที่ปรับปรุงจากงานเสวนาดังกล่าวที่วิทยากรแต่ละท่านได้นำเสนอในเวทีครั้งนั้น โดยเนื้อหาในหนังสือประกอบไปด้วย

    1 ทศวรรษ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.): มิติด้านการคลังและการบริหาร พ.ศ. 2552-2563 โดย วีระศักดิ์ เครือเทพ 

    65 ปี อบจ. การเดินทางของประชาธิปไตยท้องถิ่นระดับจังหวัด พ.ศ. 2498-2563 กับผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2563 โดย ณัฐกร วิทิตานนท์ 

    มองอุบลราชธานีผ่านแผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี พ.ศ. 2561-2564 กับการเลือกตั้งนายก อบจ. 20 ธันวาคม 2563 โดย ปฐวี โชติอนันต์ 

    บทบาทสภา อบจ. ในการตรวจสอบหน่วยงานราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดย อลงกรณ์ อรรคแสง 

    หนึ่งทศวรรษ การปกครองท้องถิ่นไทย (2553-2563): อบจ. กับการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งแรกในรอบ 6 ปี โดย ธเนศวร์ เจริญเมือง 

    เมื่อเราลองอ่านบทความของนักวิชาการแต่ละท่านที่ปรากฏอยู่ใน "A Decade of PAOs" เราจะพบว่ามิติการมองเรื่องของท้องถิ่นในสายตาของนักวิชาการแต่ละท่านที่นำเสนอ มันไม่ใช่สายตาของคนที่มองอะไรบางอย่างด้วยความสิ้นหวังและไม่ได้มองมันในฐานะของช่วงเวลาที่สาบสูญ (2557-2563) เสียทีเดียว หากแต่ช่วงเวลาที่การปกครองส่วนท้องถิ่นถูกแทรกแซงโดยอำนาจของคณะรัฐประหารเองนั้น อาจจะเป็นช่วงเวลาของการบ่มเพราะอะไรบางอย่างที่อาจจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเรื่องของการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยไปตลอดกาล จากเวทีท้องถิ่นที่เคยถูกมองว่าเป็นเรื่องของอิทธิพล อำนาจมืด เจ้าพ่อ และอื่น ๆ หลังจากนี้เวทีท้องถิ่นอาจจะกลายเป็นเวทีสำคัญ และเป็น "ห้องเรียนเบื้องต้นของการปกครองในระบอบผระชาธิปไตย" แบบที่พวกเราหลายคนอาจจะเคยได้ยินมาในสมัยก่อน เพราะช่วงเวลาของการแช่แข็งมันช่วยให้คนหลายกลุ่มมองเห็นถึงความสำคัญของการปกครองท้องถิ่นและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยว่ามันมีคุณค่า และมีความหมายเช่นไรต่อสังคม

    ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดไฟล์หนังสือได้จาก https://www.kas.de/en/web/thailand/single-title/-/content/-200

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in