Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
บันทึกภาษาไทยของผม By โทะโมะยะ อิซากะ เขียน BeamSensei ตรวจ
รีวิวเว้ย (1006) ทุกวันนี้ก่อนเริ่มเรียนวิชาภาษาไทยในโรงเรียนยังมีช่วงเวลาของการ "เขียนคำผิด" อยู่รึเปล่านะ ลักษณะของกิจกรรมจะเป็นการที่ครูภาษาไทยเดินเข้ามาในห้องและให้นักเรียนเปิดสมุดเขียรคำผิดเล่มบางขึ้นมา และเริ่มบอกคำ 5 คำในภาษาไทยให้นักเรียนเขียน โดยที่กติกาคือหากใครเขียนคำไหนผิดต้องคัดคำนั้น 10 จบ ซึ่งคำแต่ละคำที่มึงเลือกมานะครูแม่งไม่ใช่คำที่จะเจอในชีวิตประจำวันเลยสักคำ บางวันก็จัดชุดคำราชาศัพท์ บางวันก็จัดคำในหมวดหมู่ของวรรณคดีไทย อาทิ พระวักกะ พระราชกระแสรับสั่ง พระราชบัณฑูร และอื่น ๆ อีกมากมาย แน่นอนว่าเด็กประถมปลายต่อมัธยมต้น เขียนคำพวกนี้ได้ถูก 100% หรือสามารถเขียนทุกคำได้แบบไม่มีผิดเพี้ยน เด็กคนนั้นมันควรไปหาหมอ แต่ที่น่าแปลกใจคือทำไมครูต้องให้เด็กเขียนคำเหล่านี้โดยที่หลายครั้งมันไม่ใช่คำที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน และผู้เรียนก็นั่งงง ๆ ว่า "กูจะต้องเอาคำพวกนี้ไปใช้ตอนไหน ... ตอนเข้าเฝ้าหรอ (?)" ถึงได้สอนให้กูท่อง เขียน คัดแบบเอาเป็นเอาตายขนาดนั้น เอาจริงตั้งแต่วันนั้นที่เขียนและต้องคัด 10 จบ จนถึงวันนี้ยังไม่เคยใช้คำพวกนั้นในการดำเนินชีวิตเลยแม้แต่น้อย การสอนภาษาไทยแบบที่ผ่าน ๆ มาทำให้เราคิดมาตลอดว่า "ภาษาไทยยาก" และที่มันยากยิ่งกว่าคือตลอดมาคนที่สอน ถ่ายทอดและพยายามเก็บรักษาก็ยิ่งทำให้ภาษาไทยมันยากขึ้นไปอีก ถ้าไม่เชื่อลองดูผลงานใหม่ ๆ ของราชบัณฑิตยสภาก็ได้
หนังสือ : บันทึกภาษาไทยของผม
โดย : โทะโมะยะ อิซากะ เขียน BeamSensei ตรวจ
จำนวน : 272 หน้า
"
บันทึกภาษาไทยของผม
" หนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวในลักษณะของ "บันทึก" คนญี่ปุ่นที่ชื่นชอบภาษาไทย และหลงไหลในวัฒนธรรมหลาย ๆ อย่างในสังคมไทย ที่นอกเหนือไปจากเรื่องของภาษาที่ผู้เขียนเขียนเอาไว้ว่า "ภาษาไทยน่ารัก" ยังมีเรื่องของอาหาร การใช้ชีวิตในระบบขนส่งของไทย และวิถีชีวิตหลาย ๆ อย่างของคนไทยที่ทำให้ผู้เขียนหยิบมาบันทึกเอาไว้ใน
"
บันทึกภาษาไทยของผม
" ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ อาหาร ผู้คน สถานที่ และกิจกรรมต่าง ๆ ในสังคมไทย
เนื้อหาของ
"
บันทึกภาษาไทยของผม
" แบ่งออกเป็น 7 ส่วน ที่ตัวผู้เขียนแทนมันด้วยรูปแบบของ "บันทึก 7 บท" ที่แต่ละบทจะมีเรื่องเล่าหรือบันทึกขนาดสั้นอยู่ภายใน ที่จะทำหน้าที่ในการบอกเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบันทึกในบทนั้น ๆ อย่างในบันทึกที่ 3 เรื่อง "อาหาร" บันทึกย่อย ๆ ในส่วนนั้นก็จะว่าด้วยเรื่องของอาหารที่ผู้เขียนสนใจและชื่นชอบ โดยเนื้อหาในแต่ละบันทึกแบ่งออกเป็นดังนี้
บันทึกที่ 1 ภาษาไทย
บันทึกที่ 2 วีรกรรมครั้งแรก
บันทึกที่ 3 อาหาร
บันทึกที่ 4 ชีวิตในเมืองไทยและการจัดอันดับต่าง ๆ
บันทึกที่ 5 เมืองไทยที่เจอในญี่ปุ่น
บันทึกที่ 6 โควิดตัวดี การกักตัว และชีวิตในไทย
บันทึกที่ 7 เรื่องที่อยากบอกคนไทย
ความน่าสนใจประการหนึ่งของ
"
บันทึกภาษาไทยของผม
" ที่นอกเหนือไปจากการเป็นบันทึกในภาษาไทยของคนญี่ปุ่นที่เริ่มเรียนภาษาไทยได้ 6-7 ปี แล้ว ในฐานะของคนเรียนด้านสังคมศาสตร์ยิ่งกระตุ้นให้เราสนใจวิธีการมองสังคมผ่านสายตาของผู้เขียน ที่ในหลายหนเรามองสังคมของเราด้วนกรอบโครงของความเคยชินและชุดความคิดแบบหนึ่ง แต่เมื่อเรื่องเดียวกัน สิ่งเดียวกัน ของชิ้นเดียวกันถูกมองโดยคนต่างวิธีคิดและต่างวัฒนธรรม ในหลายเรื่องที่ปรากฏใน
"
บันทึกภาษาไทยของผม
" ที่ถูกมองและบอกเล่าผ่านสายตาของ "
โทะโมะยะ อิซากะ"
ก็ทำให้หนังสือ
"
บันทึกภาษาไทยของผม
"
เล่มนี้น่าสนใจไม่น้อยไปกว่าเรื่องที่ว่าผู้เขียนชอบหรือตื่นตากับเรื่องใดสนสังคมแห่งนี้บ้าง
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in