เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
คนไทยใจดี By อานันท์ กาญจนพันธุ์ และคณะ
  • รีวิวเว้ย (988) ท่อนหนึ่งของเพลง "คนไทยหรือเปล่า" ของวงคาราบาวเขียนเอาไว้ว่า "คนไหนคนไทย จะรู้ได้ไง ถ้ามีน้ำใจละคนไทยแน่นอน ใจกล้าใจแกร่ง ใจสู้กระฉ่อน เพื่อบ้านเกิดเมืองนอน เราสู้ตาย สู้ตาย" และถ้าเราจำไม่ผิดครั้งหนึ่งสมัยเราเป็นเด็ก เนื้อหาของเพลงนี่ที่บอกว่า "คนไทยมีน้ำใจ" เคยถูกหยิบมาเป็นจุดขายของสังคมแห่งนี้ และถูกใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้สำหรับการดึงดูดนักท่องเที่ยวนอกจาก "สยามเมืองยิ้ม" ก็มี "คนไทยมีน้ำใจ" นี่แหละที่ดูจะเป็นจุดขายสำคัญของความเป็นไทยในช่วงเวลาหนึ่ง ไม่แพ้ผัดไทย แกงเขียวหวาน ต้มย้ำกุ้ง sex tourism (https://www.abc.net.au/news/2016-05-15/thai-sex-trade-propped-up-by-sexually-repressed-tourists/7413762#:~:text=According%20to%20a%20Thai%20survey,lost%20their%20virginity%20to%20one.) ที่สิ่งเหล่านี้กลายมาเป็นจุดขายสำคัญของสังคมไทย แต่เรื่องอันหลังนี้ดูจะเป็นสิ่งที่คนไทยหลายคนทำใจยอมรับมันไม่ได้ทั้ง ๆ ที่มันเป็นเรื่องจริง
    หนังสือ : คนไทยใจดี
    โดย : อานันท์ กาญจนพันธุ์ และคณะ
    จำนวน : 257 หน้า

    "คนไทยใจดี" งานวิจัยที่ว่าด้วยเรื่องของการ "ทบทวนแนวคิดจิตสาธารณะกับสังคมไทย" โดยที่ตัวงานมุ่งเน้นไปที่เรื่องของการทำความเข้าใจแนวคิดจิตสาธาณรณะในสังคมไทย และเป็นการทบทวนถึงพลวัตรความเปลี่ยนแปลงของแนวคิดเรื่องของจิตสาธารณะในสังคมไทย ว่ามันมีพลวัตรหรือความเปลี่ยนแปลงไปเช่นใด และอย่างไร

    โดยในส่วนแรกของ "คนไทยใจดี" เป็นบทเปิดที่ อานันท์ กาญจนพันธุ์ ได้เขียนบทแรกของงายชิ้นนี้ เพื่อเป็นการปูพื้นให้ผู้อ่านได้มำความเข้าใจในเรื่องของจิตสาธารณะผ่านมุมมองต่าง ๆ และได้ขมวดปมในการกล่าวถึงบทความทั้ง 4 บทความภายใต้แนวคิดเรื่อง "จิตสาธาณะ" จากนักวิจัยทั้ง 4 คน โดยที่นักวิจัยแต่ละคนรับหน้าที่ในการเขียนและนำเสนอบทความแบ่งเป็นแต่ละบทของหนังสือ โดยที่บทความแต่ละชิ้นเขียนขึ้นภายใต้ "แผนงานคนไทย 4.0" โดยบทความทั้ง 4 ชิ้นประกอบไปด้วย

    บทความที่ 1 การพัฒนากรอบแนวคิดเพื่อศึกษาจิตสาธารณะไทยในยุค 4.0 โดย กฤติยาพร วงษา

    บทความที่ 2 จิตสาธารณะ (public minds) โดย จามะรี เชียงทอง

    บทความที่ 3 ความหลากหลายและการเปลี่ยนแปลงการบริจาคเพื่อการกุศลในประเทศไทย โดย โรซาเลีย ชอร์ติโน

    บทความที่ 4 Sense of Belonging: พลเมืองกับความไม่เป็นอื่น โดย ไพลิน ภู่จีนาพันธุ์

    ซึ่งเมื่ออ่าน "คนไทยใจดี" จบลง เราจะพบว่าในท้ายที่สุดแล้วแนวคิดที่ว่าด้วยเรื่องของจิตสาธารณะในสังคมไทย มันมีกรอบโครงบางประการเป็นตัวกำหนดและขับเคลื่อนความเป็นจิตสาธารณะ หรืออาจจะเรียกได้ว่าความเป็นจิตสาธารณะในสังคมไทยมันมีเกณฑ์ มาตรฐาน และข้อกำหนดบางอย่างกำกับมันเอาไว้อย่างมีนัยสำคัญว่าการกระทำบางสิ่ง การกระทำบางแบบ การกระทำบางอย่าง กระทั่งการระทำของคนบางกลุ่มเท่านั้นที่จะถูกเรียกว่า "จิตสาธารณะ" กระทั่งหากเราลองลากเส้นต่อจุดเราจะพบว่าแนวทางหรือวิธีการในลักษณะนี้ยังไปปรากฎอยู่ในหลาย ๆ แนวคิดที่ขับเคลื่อนสังคมไทยอยู่เบื้องหลังมาช้านาน

    หากใครสนใจ "คนไทยใจดี: ทบทวนแนวคิดจิตสาธารณะกับสังคมไทย" สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ https://www.khonthai4-0.net/content_detail.php?id=272

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in