เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
50 ปี ที่มอชอ By ถิรพัฒน์ วิลัยทอง
  • รีวิวเว้ย (982) เวลาที่เราอ่านหนังสือประเภทชีวประวัติหรือว่าหนังสือที่เป็นเรื่องของประวัติบุคคล เรามักจะคาดหวัง ในเรื่องของ ตัวตนแล้วบางสิ่งบางอย่างที่คน ๆ นั้นทิ้งเอาไว้ แน่นอนว่าหนังสือประวัติหลายเล่มมันก็อาจจะพูด ถึงคนคนนั้นในแง่ดีมากจนเกินไป แล้วก็ในหลายเล่ม ก็เขียนถึงบุคคลคนนั้นในมุมที่มันออกจากเนื้อมนุษย์จนเกินไป ซึ่งนั่นทำให้เสน่ห์ของหนังสือประเภทประวัติที่ถูกเขียนโดยผู้เขียนเองหรือว่าถูกเขียนด้วยคนใกล้ชิดมันถูกตั้งคำถามมาตลอดระยะเวลา ซึ่งหนังสือในกลุ่มนี้เป็นหนังสือที่เราไม่มั่นใจที่จะอ่านแล้วก็ไม่แน่ใจที่จะหยิบมันมาเพื่อรีวิว เพราะเราไม่แน่ใจว่าเราจะได้อะไรจากหนังสือกลุ่มนี้บ้างนอกจากการได้รู้จักตัวตนของคนคนนึงมากขึ้นได้รู้ว่าเขาทำอะไรแล้วก็ได้รู้ว่าเขาเป็นคนแบบไหน น้อยครั้งมากที่หนังสือในกลุ่มนี้จะพูดถึงเรื่องของความเปลี่ยนแปลงและบริบทสังคม ที่อยู่นอกเหนือจากตัวผู้เขียน หรือว่าตัวผู้เขียนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง
    หนังสือ : 50 ปี ที่มอชอ
    โดย : ถิรพัฒน์ วิลัยทอง
    จำนวน : 150 หน้า

    ความน่าสนใจประการหนึ่งของหนังสือ "50 ปี ที่มอชอ" เล่มนี้ คือ หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นโดยตัวของผู้เขียนเองและเป็นการเล่าเรื่องของสิาวที่ตัวผู้เขียนเคยได้ประสบพบเจอ แต่ "50 ปี ที่มอชอ" เองก็ทำหน้าที่เป็นบันทึกเรื่องราวของการพัฒนาในวงการวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ นิวเคลียร์ในประเทศไทยไปด้วยในเวลาเดียวกัน

    นอกจากนี้ "50 ปี ที่มอชอ" ยังพูดถึงเรื่องของ การพัฒนากระบวนการศึกษา ระบบการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสาขาฟิสิกส์นิวเคลียร์ แล้วก็เป็นการฉายภาพให้เห็นการเปลี่ยนแปลงและการขยายตัวของระบบการศึกษาผ่านรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัย ผ่านกลไกอย่างมหาวิทยาลัยหัวเมืองอย่าง "มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" ที่ตัวผู้เขียนเองได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาตลอดระยะเวลาของมหาลัยนับตั้งแต่หลังจากการก่อตั้งได้ 7 ปี ซึ่งการก่อตั้งมหาลัยหัวเมืองคือการขยายการพัฒนาการศึกษาไปในภูมิภาคต่าง ๆ ตามนโยบายของรัฐในชาวงเวลานั้น

    แน่นอนว่าถ้าเราอ่านหนังสือ "50 ปี ที่มอชอ" เล่มนี้ในฐานะของหนังสือที่บันทึกชีวประวัติของบุคคล มันก็จะย้อนกลับไปที่ย่อหน้าแรก ที่เราเขียนว่าหนังสือบุคคลโดยส่วนใหญ่เราไม่ค่อยอินกับเนื้อหาของมันสักเท่าไหร่ แต่กับหนังสือเล่มนี้ มันชวนให้เราคิดถึง เรื่องของพัฒนาการในวงวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาฟิสิกส์นิวเคลียร์ ที่ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 50 ปีก่อน สิ่งนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ไม่มีใครคิดถึงในประเทศไทย แต่ว่าตัวผู้เขียนเองก็ได้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของแนวทางการศึกษาในวิชาดังกล่าว และได้แสดงให้เห็นถึงการวางรากฐานของวิชาฟิสิกส์นิวเคลียร์ที่มีการพัฒนาเรื่อยมากระทั่งปัจจุบัน ซึ่งมันสอดรับกับบริบทชีวิตของผู้เขียนได้เป็นอย่างดี ทำให้หนังสือเล่มนี้มีความน่าสนใจสำหรับคนที่ สนใจในพัฒนาการของวงการศึกษาฟิสิกส์นิวเคลียร์ในประเทศไทย และสำหรับผู้ที่สนใจความเปลี่ยนแปลงของมหาลัยเชียงใหม่ เพราะนอกจากเนื้อหาแล้ว ภาพประกอบหลาย ๆ ภายที่ปรากฏใน "50 ปี ที่มอชอ" ก็นับเป็นหนึ่งในบันทึกประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งทั้งกับ มช. เอง และกับวงศึกษาวิชาฟิสิกส์นิวเคลียร์ในประเทศไทย



เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in