เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร. จุลชีพ ชินวรรณโณ
  • รีวิวเว้ย (981) เวลาที่เล่าให้เพื่อนฟังว่า "เพิ่งสั่งซื้อหนังสืองานศพมา" หลายคนจะทำหน้างง ๆ แล้วถามกลับว่า "ไม่มีอะไรจะอ่านแล้วรึไง ถึงอยากอ่านหนังสืองานศพ (?)" มันอาจจะฟังดูแปลก ๆ ที่การหาหนังสืองานศพของคนโน้นคนนี้มาอ่านมันออกจะเป็นเรื่องไม่ค่อยปกติเท่าไหร่ และอาจารย์ท่านหนึ่งเคยบอกกับเราว่า "ไม่มีใครเขียนเรื่องแย่ ๆ ของผู้ตายลงในหนังสทองานศพ" ซึ่งก็จริงทุกประการอย่างที่อาจารย์ว่า แต่สำหรับเราแล้วหนังสืองานศพ มีคุณค่าสำคัญ 2 ประการ คือ (1) หนังสืองานศพหลาย ๆ เล่มมีบันทึกเรื่องราวสำคัญเกี่ยวกับบริบทของสังคม ประวัติศาสตร์ และองค์ความรู้หรือบทความที่น่าสนใจ (2) หนังสืองานศพนับเป็นบันทึกหน้าหนึ่งของผู้คนรอบกายของผู้ตาย ว่าเขามองผู้ตายว่าเป็นคนเช่นไร แน่นอนว่าคนเรามีคนรักก็ต้องมีคนชัง มีคนชอบก็ต้องมีคนหน่าย เมื่อเป็นเช่นนั้นหนังสืองานศพหากเรามองมันในฐานนะของ "บันทึกความทรงจำชิ้นหนึ่ง" เราอาจจะรู้จักผู้ตายมากขึ้นโดยเฉพาะในมุมที่ไม่คาดคิด
    หนังสือ : หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร. จุลชีพ ชินวรรณโณ
    จำนวน : 159 หน้า

    ในชีวิตเคยอ่านหนังสืองานศพมาพอสมควร แต่หนังสือ "หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร. จุลชีพ ชินวรรณโณ" เป็นเล่มแรกที่อ่านไปร้องไห้ไป (ไม่ถึงขั้นฟูมฟายแต่ก็พอได้น้ำตาซึม ๆ) อาจจะด้วยความที่เราเองเคยเรียยกับอาจารย์มาหลายครั้ง เจอหน้ากันตอนทำงานอยู่บ่อย ๆ และชอบมีคำถาม ความเห็น ข้อสงสัยให้อาจารย์ช่วยทำให้คำถามเหล่านั้นมันแจ้งชัด ทำให้เรามีอารมณ์ร่วมไปกับหนังสือ "หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร. จุลชีพ ชินวรรณโณ" อย่างน่าประหลาดใจ โดยเฉพาะในหน้าที่ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ (อ.ทวิดา) เขียนถึงอาจารย์จุลชีพ ข้อความในส่วนสุดท้ายเขียนเอาไว้ว่า

    "... 'ให้ผมสอนเถอะนะคณบดี อย่าไม่ให้ผมสอนเลยผมไหวจริง ๆ นะ' อาจารย์พูดประโยคนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนวาระแข็งแรงสุดท้าย คนพูดเต็มเปี่ยมด้วยพลังใจ แต่คนฟังอย่างเราน้ำตาย้อนกลับเข้าข้างในครั้งแล้วครั้งเล่า ..."

    เพราะถ้าใครเคยเรียนกับ อ.จุลชีพ เราจะรู้ว่าอาจารย์รักการสอน รักงานสอน รักนักศึกษา และรักคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์มากมายขนาดไหน ต่อให้ร่างกายไม่พร้อม ไม่แข็งแรง แต่หัวใจและสมองของอาจารย์ก็คิดถึงแต่งานสอน และคิดถึงแต่ผลประโยชน์นักศึกษา อย่างที่ปรากฏชัดในวาระสุดท้ายของอาจารย์ ยังคงได้ทิ้งหนังสือที่เขียนขึ้นจาก "ความรู้ชั่วชีวิต" ไว้ให้กับวงวิชาการไทย (https://minimore.com/b/Us3Wj/750)

    "หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร. จุลชีพ ชินวรรณโณ" ช่วยให้เราเห็นมุมมองชีวิตของ อ.จุลชีพ ที่ถูกแวดล้อมไปด้วยผู้คนมากมาย และที่สำคัญไปกว่านั้น คือ "หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร. จุลชีพ ชินวรรณโณ" ช่วยให้เรามองเห็นอาจารย์ในมิติที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เพราะกลุ่มบุคคลที่เขียนถึงอาจารย์ในหนังสือ มีทั้งอาจารย์ของอาจารย์ เพื่อนของอาจารย์ พี่-น้อง ครอบครัวของอาจารย์ และลูกศิษย์ของอาจารย์ ความน่าสนใจอย่างหนึ่งที่ทุกคนพูดไปในทำนองเดียวกัน มันคือการสะท้อนข้อความที่คณบดี คณะรัฐศาสตร์ ได้เขียนเอาไว้ในย่อหน้าสุดท้ายว่า "ให้ผมสอนเถอะนะคณบดี อย่าไม่ให้ผมสอนเลยผมไหวจริง ๆ นะ" ข้อความนี้คือสิ่งแสดงตัวตนของ ศาสตราจารย์ ดร. จุลชีพ ชินวรรณโณ ที่ชัดเจนที่สุดตลอดกาล



เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in