เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
บันทึกกะเทยอีสาน By ปณต ศรีนวล
  • รีวิวเว้ย (980) ย้อนกลับไปในสมัยที่เราเป็นเด็กช่วง พ.ศ. 2540 การเติบโตขึ้นมาในค่ายทหารและสังคมที่มีความไม่สมเหตุผลของการใช้ตรรกะ และความบิดเบี้ยวของวิธีคิดต่าง ๆ นา ๆ ในโลกของทหาร ช่วงเวลานั้นความรับรู้ในเรื่องของ "ตุ๊ด-กะเทย" ดูจะเป็นเรื่องที่รับไม่ได้อย่างยิ่งในสังคมทหาร ด้วยความที่เราเติบโตขึ้นมาในค่ายทหาร มีเพื่อนวัยเดียวกันที่เป็นลูกของทหาร และอำเภอทั้งอำเภอก็เป็นพื้นที่ของทหารเป็นหลัก ทำให้ความรับรู้ในเรื่องของ "ตุ๊ด-กระเทย" ยิ่งดูบิดเบี้ยวเข้าไปใหญ่ จำได้ว่าในช่วงวัยนั้นมีเพื่อนหลายคนที่แสดงออกและไม่แสดงอแกว่ามีคยามเบี่ยงเบนทางเพศ สิ่งที่เราได้ยินได้ฟังเพื่อนเล่าถึงความยากลำบากเวลาอยู่บ้านกับพ่อ-แม่ พวกมันต้องแสดงออกซึ่งความเป็นชายชาตรี และหากใครที่โดนพ่อ-แม่จับได้ ส่วนใหญ่มักโดนเตะด้วยรองเท้าคอมแบทหรือไม่ก็ถูกฟาดด้วยเข็มขัดเพื่อให้พวกมัน "กลับเป็นชายชาตรี" เราเล่าเหล่านี้วนเวียนอยู่รอบตัวเราตลอดหลายปีในช่วงที่ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่สัตหีบ เมื่อเราโตขึ้นมาอีกหน่อยเราพบว่าความรับรู้ของสังคมจำกัดและขีดกรอบพวกเขาเอาไว้ให้เป็นเพียงอะไรบางอย่างในสังคมผ่านมาตรวัดเท่าที่สังคมจะรับรู้ได้ เช่น (1) กระเทยเท่ากับตัวตลก (2) กระเทยเป็นเพียงเครื่องมือที่จะต่อว่า ดูถูก หรือเหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าไหร่ก็ได้ (3) กระเทยเป็นเพียงผู้ทำอาชีพขายบริการ และอีกมากมายที่เป็นมายาคติที่เคยขับเคลื่อนสังคมนี้ และหลายเรื่องก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งในความรับรู้ของผู้คนในยุคปัจจุบัน ซึ่งเอาเข้าจริงแล้ว หากเรามองว่าทุกคน "เป็นคนเหมือนกัน" อย่างถ้วนหน้าและเสมอกัน เราอาจจะมองเห็นอะไรบางอย่างที่สังคมนี้มองข้ามมันมาตลอด แน่นอนว่าจุดเริ่มต้นมันคสรมาจากการมองว่าคนทุกคนคือคนเหมือนกัน
    หนังสือ : บันทึกกะเทยอีสาน
    โดย : ปณต ศรีนวล
    จำนวน : 88 หน้า

    "บันทึกกะเทยอีสาน" หนังสือที่ผู้เขียนได้ทำการ บอกเล่าความเจ็บปวดที่คนข้ามเพศต้องประสบพบเจอตลอดมา โดยที่ผู้เขียนใช้ตัวของผู้เขียนเองเป็นตัวหลักของการดำเนินเรื่องในหนังสือ "บันทึกกะเทยอีสาน" เล่มนี้ โดยที่หนังสือได้พูดถึงชีวิตส่วนตัวของผู้เขียนตั้งแต่เด็กจนโต ที่มันสะท้อนปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศ ปัญหาการเข้าไม่ถึงการศึกษาของคนต่างจังหวัด รวมถึงปัญหาความแร้นแค้นในพื้นที่ทางภาคอีสานที่รัฐไม่เคยเข้าไปจัดการอย่างจริงจัง ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับความคิดของรัฐไทยเมื่อหลายสิบปีก่อน อีสานคือพื้นที่ "ชายขอบของสังคม" และผู้เขียนได้ถ่ายทอดให้ผู้อ่านได้เห็นความเป็นชายของยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกของคนข้ามเพศในภาคอีสาน ที่เป็นชายขอบของพื้นที่ชายขอบอีกต่อหนึ่ง

    เนื้อหาที่ปรากฏอยู่ใน "บันทึกกะเทยอีสาน" แบ่งออกเป็น 12 บทที่บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของผู้เขียนตั้งแต่เด็ก กระทั่งได้เข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพฯ และได้ไปแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ ซึ่งผู้เขียนก็ยังคงเผชิญปัญหาในเรื่องของการเหยียดคนข้ามเพศในแต่ละสังคมที่ตัวผู้เขียนเคยผ่านพบ แน่นอนว่าปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม และเป็นเรื่องที่สามารถปรับแก้ไขได้หากคนในสังคมนั้น ๆ เปิดรับ ทำความเข้าไป และพยายามเรียนรู้ใน คุณค่าของความเป็นคนของทุก ๆ คน สังคมแห่งนั้น ๆ คงจะน่าอยู่ขึ้นอย่างมากหากมองว่าทุกคนก็คือ "คนเหมือนกัน" และ "คนทุกคนเท่ากัน"

    ในหน้าเปิดของหนังสือ "บันทึกกะเทยอีสาน" มีข้อความหนึ่งของผู้เขียนเขียนเอาไว้ว่า "หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนเพื่อตีแผ่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวผู้เขียน โดยไม่มีเจตนาจะกล่าวโทษใคร นอกเสียจากระบบชายเป็นใหญ่ และการกระจายความเจริญที่ไม่ทั่วถึงในทุกภาคส่วนในประเทศไทย ปิตาธิปไตยจงฉิบหาย ความเท่าเทียมหลากหลายจงเจริญ" ผู้ที่สนใจวามารถกดเข้าไปอ่าน "บันทึกกะเทยอีสาน" ได้ที่ https://bit.ly/3HVJmuZ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in