เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
กีบุ๊ค By นิทรรศกีเพื่อผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า
  • รีวิวเว้ย (978) เรื่องของ "ประจำเดือน" เป็นเรื่องที่ถูกทำให้กลายเป็นเรื่อง "ห้ามพูดในที่สาธารณะ" ของสังคมแห่งนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่กัน (?) เท่าที่เราจำความได้ในสมัยเด็ก ๆ การที่เพื่อนผู้หญิงในห้องเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกดูเป็นเรื่องน่าตื่นตาตื่นใจของคนทั้งห้องเรียน หากไปรู้หรือไปเห็นเรื่องนี้เข้า และหลังจากนั้นการล้อเลียนเพื่อนผู้หญิงที่มีประจำเดือนจะเกิดขึ้นต่อ ๆ กันเหมือนโดมิโน่ที่ล้มต่อ ๆ กันทีละตัว ซึ่งเราเองก็แปลกใจว่สเรื่องของการมีประจำเดือนทำไมถึงเป็นเรื่องที่ถูกล้อเลียน และโตขึ้นมาอีกหน่อยเราจะเห็นว่าเรื่องของประจำเดือนหรือ "ระดู" เป็นเรื่องต้องห้ามที่ปรากฏอยู่ในหลากหลายพื้นที่ของสังคมแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเชื่อ ประเพณีต่าง ๆ ที่ว่า "ประจำเดือนเป็นของต่ำห้ามโดนมิเช่นนั้นของจะเสื่อม" หรือในปัจจุบันเรายังจะพบว่าสถานที่ทางความเชื่อหลายแห่งยังห้ามผู้หญิงและผู้หญิงมีประจำเดือนเข้าในเขตของสถานที่นั้น ๆ นอกจากนั้นแล้วเรายังจะพบทัศนะคติในมุมที่มองเรื่องของประจำเดือนในทางไม่ดีที่หลายคนอาจจะไม่ทันคาดคิดปรากฏอยู่ในอีกหลายแห่ง อาทิ คำพูดกึ่งเล่นกึ่งจริงเวลาที่ผู้ชายจะใช้อธิบายผู้หญิงเวลาทำตัวแปลก ๆ อารมณ์ไม่ดี โมโห เราก็มักจะได้ยินคำพูดว่า "สงสัยเป็นเมน" ซึ่งทัศนะคติในลักษณะนี้ยังคงแทนกตัวอยู่ในหลายพื้นที่ของสังคม และหลายครั้งมันนำพามาซึ่งความไม่เท่าเทียมทางโอกาสในหลายรูปแบบ และความไม่เท่าเทียมหนึ่งที่ปรากฏอย่างชัดเจนก็คือเรื่องของ ความไม่เท่าเทียมในเรื่องของการเข้าถึง "ผ่าอนามัย" ที่สร้างในเกิดรายจ่ายส่วนเกิน และราบจ่ายดังกล่าวไปเบียดบังหรือตัดโอกาสของผู้หญิงที่พวกเขาจะได้ทำเรื่องบางเรื่องด้วยเช่นกัน
    หนังสือ : กีบุ๊ค
    โดย : ส่วนหนึ่งของนิทรรศกีเพื่อผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า
    จำนวน : 32 หน้า

    "กีบุ๊ค" เป็น "สูจิบัตร" ของงาน "นิทรรศกี : เพื่อผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า" ที่จัดขึ้นโดย "พรรคเพื่อไทย" ที่นิทรรศการดังกล่าวจะชวนทุกคนมาตั้งคำถามในเรื่องของ "กี" ความเหลื่อมล้ำ การเสียโอกาส และมายาคติที่สังคมสูงศิลธรรมแห่งนี้มีต่อกีและประจำเดือน โดยที่เนื้อหาของ "กีบุ๊ค" แบ่งออกเป็น 3 ระดู 1 ภาคผนวกขนาดสั้น ๆ รวม 32 หน้าที่จะฉายให้ทุกคนเห็นว่าปัญหา Period Poverty มันมีอยู่จริง จำเป็นต้องได้รับความสนใจและแก้ไขปัญหา ซึ่งมันสามารถแก้ไขได้ถ้ารัฐและสังคมใส่ใจกับเรื่องดังกล่าว

    โดยที่เนื้อหาของ "กีบุ๊ค" แบ่งออกเป็นดังนี้

    ระดูที่ 1 ทำไมผ้าอนามัยควรเป็นสวัสดิการรัฐ ?

    ระดูที่ 2 รัฐจะจัดสรรสวัสดิการผ้าอนามัยอย่างไร ?

    ระดูที่ 3 โครงการนำร่องผ้าอนามัยฟรีในพรรคเพื่อไทย

    ภาคผนวก: ต้นแบบการแก้ปัญหา Period Poverty

    ซึ่งเมื่ออ่าน "กีบุ๊ค" จบลงเราจะพบว่าข้อมูลและรายงานการศึกษาเรื่อง "ผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า" ที่ถูกกล่าวถึงใน "กีบุ๊ค" เล่มนี้มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะปัญหาเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ถูกสังคมมองข้ามและไม่ให้ความสำคัญ นอกเหนือไปจากเรื่องของมายาคติที่คนในสังคมแห่งนี้มีต่อระดู ประจำเดือนและกีแล้ว ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากรายจ่ายและการเข้าไม่ถึงผ้าอนามัยของคนในสังคมเป็นอีกสิ่งที่ควรถูกพูดถึง ตั้งคำถาม และสะสามปัญหาดังกล่าวให้เราคนได้มีสิทธิที่เท่าเทียมกัน เราชอบข้อความหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในโพสของเพจพรรคเพื่อไทยที่บอกว่า "เพราะประจำเดือนคือเรื่องธรรมดา และผ้าอนามัยคือค่าใช้จ่ายในครัวเรือน" เมื่อเป็นเช่นนั้นมายาคติต่อเรื่องดังกล่าวจำเป็นจะต้องถูกทลายลง และความเหลื่อมล้ำที่ทำให้คนเข้าไม่ถึงจำเป็นต้องได้รับการจัดการ

    หากใครสนใจอ่านเนื้อหาใน "กีบุ๊ค" สามารถกดเข้าไปอ่านได้ที่ https://bit.ly/35MDO8x

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in