เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ตื่น By พอมยุน สุนิม
  • รีวิวเว้ย (976) ศาสนาพุธแบบศาสนาไทย นับเป็นศาสนาพุทธที่ยากต่อการเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า และในหลายครั้งหลายคราวเราจะพบว่าพุทธศาสนาแบบไทยมุ่งเน้นไปที่เรื่องของอะไรบางอย่าง ที่ไม่ใช้คำสอนและหนทางแห่งการหลุดพ้น หากแต่เป็นเรื่องของความเชื่อ ค่านิยม และการยกตนให้ศาสนาพุทธแบบไทยดูศักดิ์สิทธิ์และห่างไกลจนผู้คนยากที่จะเข้าถึงได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง การจะเข้าถึงศาสนาพุทธแบบไทยได้ต้องอาศัยการเข้าถึงผ่าน "ตัวกลาง" หรือ "ร่างทรง" อย่างพระสงฆ์ที่ถูกเรียกในศาสนาพุทธไทยว่า "เนื้อนาบุญ" หากแต่หลายปีที่ผ่านมา คำสอนและการกระทำของตัวกลางหรือร่างทรงในศาสนาพุทธแบบไทยก็ถูกตั้งคำถามอยู่ไม่น้อย อีกทั้งเมื่อรวมเข้ากับเรื่องของร่างทรงที่จะต้องมีคนคอยกำหนดการประทับทรงอย่างสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (aka สำนักพุทธ) และมหาเถระสมาคม ที่ทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดบทบาทของร่างทรงเหล่านั้น ยิ่งทำให้ศาสนาพุทธแบบไทยสมควรที่จะถูกตั้งคำถามยิ่งขึ้นไปอีก นี้ยังไม่นับรวมเรื่องของการบิดคำสอนมาสู่หนทางของพุทธพาณิชย์ และการหยิบยกเอาบริบทอื่น ๆ ที่ไม่ใช้หลักธรรมคำสอนมาขยายให้ใหญ่กระทั่งปกปิด บิดพริ้ว หลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธไปเสียสิ้น อาทิ การสร้างวัตถุมงคล การบูชาเทพ และพิธีกรรมความเชื่อต่าง ๆ ที่ดูห่างไกลจากแนวทางและคำสอนของศาสนาพุทธนิกายอื่น ๆ จนน่ากังขา ซึ่งในทัศนะของเราศาสนาพุทธแบบไทยก็ไม่ต่างอะไรจากปาหี่และจำอวดที่สวมทับด้วยคำว่า "พุทธ" หากแต่เมื่อนั่งลงพิจารณาแล้วกลับพบว่าร่างทรงที่อยู่ใต้ชุดที่สวมทับหลายครั้งเป็นเพียงเศษแร่ที่ไร้ค่าไม่มีราคา แล้วเช่นนี้หนทางดับทุกข์ของศาสนาพุทธจะอยู่ตรงจุดไหนใน "ศาสนาพุทธแบบไทย" กัน
    หนังสือ : ตื่น
    โดย : พอมยุน สุนิม แปล สายพิณ กุลกนกวรรณ ฮัมดานี
    จำนวน : 152 หน้า

    "ตื่น" หนังสือที่ถูกเขียนขึ้นโดย พระอาจารย์พอมยุน สุนิม เป็นพระในศาสนาพุทธ นิกายเซน ชาวเกาหลีใต้ ที่หยิบจับเอาคำสอนของเซน ที่ผูกโยงอยู่กับเรื่องของชีวิตและสรรพสิ่งที่รายรอบชีวิตของคนเรา มาบอกเล่าและชี้ให้เห็นถึงความง่ายงาม และความสามัญธรรมดาที่ปรากฏอยู่ในสิ่งต่าง ๆ เล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชีวิต สิ่งของ หรือการเปลี่ยนผ่านของห้วงกาล เรื่องต่าง ๆ ถูกบอกเล่าผ่านคำสอนในมิติของศาสนาพุทธ นิกายเซน ที่ในหลายเรื่องที่อยู่ใน "ตื่น" เราเองก็อาจจะคาดไม่ถึงว่ามันสามารถมองเรื่องแบบนี้ผ่านมุมมองเช่นนี่ได้ด้วยหรือ

    เนื้อหาใน "ตื่น" แบ่งออกเป็นเรื่องเล่าขนาดสั้น ๆ ที่ขมวดรวมจุดร่วมกันเอาไว้ในบท ที่ถูกแบ่งย่อยออกเป็น 5 บท และ 1 บทเกริ่นนำและอีก 1 บทปิดท้าย โดยที่บทต่าง ๆ ของ "ตื่น" แย่งออกเป็นดังนี้

    บทเกริ่นนำ

    อิสรภาพในชีวิต

    ชีวิตอยู่ตรงหน้านี้แล้ว

    มรรคาสู่การรู้แจ้ง

    คนที่มีอำนาจเหนือผู้อื่น

    ผู้คน โลก ธรรมชาติ

    บทปิดท้าย

    เมื่ออ่าน "ตื่น" จบลง ความรู้สึกของเราหลังอ่านจบ คือ การย้อนกลับไปมองคำสอนหลาย ๆ ข้อในศาสนาพุทธแบบไทย ที่ผ่าน ๆ มาทั้งในฐานะของคนที่เรียนมาในโรงเรียนที่โคตรจะพุทธ ถูกบังคับให้เรียนหลักธรรมและสอบนักธรรมศึกษาจนจบนักธรรมศึกษาชั้นเอก เราพบว่าคำสอนหลาย ๆ เรื่องที่อยู่ใน "ตื่น" มันชวนให้เราตั้งคำถามและท้าทายความเชื่อและคำสอนของพุทธไทยที่เราถูกสอนตลอดมา เอาอย่างง่ายที่สุดในเรื่องของ "การตื่น" ที่พุทธแบบไทยสอน และที่ พระอาจารย์พอมยุน สุนิม เขียนเอาไว้ใน "ตื่น" มันก็ช่างแตกต่างกันมากมายนัก ซึ่งคงเป็นการยากหากจะบอกว่าแบบไหนคือ "พุทธที่แท้" เพราะถ้าเราเชื่อแบบเนื้อหาที่ปรากฏใน "ตื่น" เราจะย้อนมาตั้งคำถามว่าความแท้นั้นมันมีอยู่จริงหรือ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in