เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ไม่ทันเข้างาน ก็อยากกลับบ้านแล้ว By ว็อนจีซู แปล ธัชชา ธีรปกรณ์ชัย
  • รีวิวเว้ย (971) #แด่วันจันทร์ และ #ดินแดนแสนระยำที่จ้องทำลายความฝันของผู้คน ทุกวันนี้เวลาซื้อหนังสือ แน่นอนว่าการตัดสินใจจากหน้าปก ภาพประกอบ ชื่อหนังสือ ดูจะเป็นเรื่องสำคัญในอันดับต้น ๆ ของการตัดสินใจซื้อหนังสือ เพราะนอกจากการซื้อออนไลน์แล้ว การหอพลาสติดทำให้หลายครั้งเราก็ตัดสินใจเอาจากหน้าปกและชื่อเรื่องก็แล้วกัน ถ้าดีขึ้นมาหน่อยอาจจะมีการพลิกไปอ่านคำโปรยบนปกหลัง หรือจิ้ม ๆ หาใน Google เพื่อหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ แต่ด้วยความที่เป็นคนซื้อหนังสือเพื่อมาเขียนรีวิว เราเลยตัดสินใจหลัก ๆ จากหน้าปกและชื่อเรื่อง เพราะส่วนใหญ่แล้วเล่มที่ซื้อมาอ่านเพื่อนอ่านรีวิวก็ยังไม่ค่อยมีเท่าไหร่ และกับหนังสือเล่มนี้ก็เช่นเดียวกัน ที่เมื่อตัดสินใจจากชื่อหนังสือและภาพปกแล้ว เราก็คิดเอาเองว่า "มันต้องเกี่ยวกับชีวิตการทำงานอันน่าเบื่อหน่ายที่เขียนออกมาให้คนอ่านขำขัน และเห็นถึงความบรรลัยของการทำงาน" อย่างแน่นอน แต่ปรากฎว่าเมื่ออ่านจบ เราค้นพบความจริงว่า เนื้อหาของหนังสือเกี่ยวกับการทำงานอันน่าเบื่อหน่ายจริง ๆ แต่ไม่ขำวะ พออ่านผ่านไปแต่ละบทพบว่า "เหี้ยนี่แม่งข้อเขียนคนคนรุ่นอายุใกล้ ๆ กู ที่เจอเรื่องฉิบหายและความน่าเหนื่อยหน่ายในแบบเดียวกันเลย" อ่านจบก็ไม่ได้รู้สึกดีใจว่ามีคนรู้สึกเหมือนเรา แต่กลับกลายเป็นว่าอ่านจบแล้วหดหู่ฉิบหาย ที่โลกนี้แม่งแทบไม่เหลือพื้นที่ของความสุขอยู่ในสิ่งที่เรียกว่าสังคมการทำงานเลยรึยังไง คนที่โชคดีเจองานที่รัก ชอบ ใช่ ก็ยินดีด้วย แต่โลกนี้แม่งน่าจะมีคนที่รู้สึกเหนื่อย เบื่อ และอยากแจกกล้วยให้กับงานที่ทำมากกว่าคนที่ "ตกหลุมรักมัน"
    หนังสือ : ยังไม่ทันเข้างาน ก็อยากกลับบ้านแล้ว
    โดย : ว็อนจีซู แปล ธัชชา ธีรปกรณ์ชัย
    จำนวน : 312 หน้า

    "ยังไม่ทันเข้างาน ก็อยากกลับบ้านแล้ว" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องชีวิตของมนุษย์ออฟฟิศ ในประเทศเกาหลีใต้ ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าแข่งขันสูงในทุก ๆ เรื่องตั้งแต่เกิด เข้าเรียน ทำงาน และเชื่อว่าตอนจะตายก็ยังน่าขะแข่งกันว่าศพของใครย่อยสลายไวกว่ากัน ซึ่งเนื้อหาของ "ยังไม่ทันเข้างาน ก็อยากกลับบ้านแล้ว" คือ การบอกเล่าเรื่องราวในลักษณะของการบันทึกความคิดของผู้เขียน ที่มีต่อการทำงานในวังคมเกาหลีใต้ ทั้งเรื่องของงาน เพื่อนร่วมงาน ค่านิยมของสังคม รวมถึงสภาพของสังคมหนึ่ง ๆ ที่ให้ค่าและความสำคัญต่อการทำงานและเปลี่ยนงาน

    เนื้อหาใน "ยังไม่ทันเข้างาน ก็อยากกลับบ้านแล้ว" แย่งออกเป็น 5 ภาคใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วย (1) บทนำ บันทึกของพนักงานออฟฟิศอย่างฉัน (2) อยากเลิกหรืออยากเริ่มใหม่ (3) ทำไปแล้วใครจะเห็นค่า (4) เมื่อไหร่เราถึงจะมั่นคงนะ และ (5) บทส่งท้าย เป็นอีกวันที่รู้สึกเหมือนจะตายให้ได้ เนื้อหาในแต่ละภาคแบ่งออกเป็นแต่ละตอนที่ว่าด้วยเรื่องของชีวิตคนทำงานที่ผูกโยงอยู่ในหัวข้อใหญ่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความกังวลในการทำงาน ความกังวลในเรื่องของเพื่อนร่วมงาน การเปลี่ยนงาน และการตั้งคำถามถึงว่าอะไรคือ "ความมั่นคงจากการทำงาน" ที่มันดูแปลกประหลาดเมื่อความมั่นคงตาม "ค่านิยมของสังคม" มาวางทับอยู่บนบริบทของโลกความจริงในปัจจุบัน อาทิ คนทำงานอายุ 30 ควรมีบ้านได้แล้ว ซึ่งเมื่อพิจารณาจากค่าครองชีพ ค่าอาหาร อัตราเงินเฟ้อ ราคาทองคำ และอื่น ๆ แล้วคนในยุคปัจจุบันแค่เอาชีวิตให้รอดได้ตอน 30 ก็ถือว่าเป็นบุญอันยิ่งใหญ่แล้ว ยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องอื่น ๆ

    ความตอนหนึ่งที่ปรากฎในท้ายเล่มของหนังสือ "ยังไม่ทันเข้างาน ก็อยากกลับบ้านแล้ว" ทำให้เราย้อนกลับมาตั้งคำถามว่า "เอาเข้าจริงแล้วการตรวจสอบความฝันของเด็ก คนรุ่นใหม่ มันอาจจะเป็นวัฒนธรรมร่สมบางอย่างของคนในแถบนี่ก็ได้มั้ง" เพราะเมื่อเราอ่านข้อความที่ปรากฏในท้ายเล่มที่ว่า "ว่าแต่ พอลองคิดดูดี ๆ แล้วแม้กระทั่งความฝันของเราก็ยังถูกโรงเรียน 'ตรวจสอบ' ว่าเหมาะที่จะเรียกว่าความฝันได้ไหมเนี่ย ฉันจำได้ว่าต้องเขียนความฝันในอนาคต (ของข้าพเจ้า) กับความฝันในอนาคตของฉันที่พ่อแม่ต้องการ คู่กันในตารางพร้อมกับให้ผู้ปกครองประทับตรา จำได้ว่าต้องปรับแก้จนกว่าจะผ่านการเห็นชอบว่า 'ความฝันนี้มีคุณสมบัติคู่ควรของการเป็นความฝัน' ถึงจะผ่านการรับรองรอบแรกจากแม่และรอบที่สองจากคุณครู" (น. 278-279) เราพบว่าตอนเด็ก ๆ เราเองก็แทบไม่ต่างกันที่ต้องเติบโตมาในสังคมที่ "ความฝันต้องถูกตรวจสอบจากใครก็ไม่รู้" ซึ่งปัจจุบันเอง ในประเทศนี้ ความฝันของเด็ก คนรุ่นใหม่ หรือกระทั่งคนวัยทำงานเอง ก็ยังถูกคงบคุม ตรวจสอบ และให้ผ่านโดยใครก็ไม่รู้เช่นเคย แทนที่ "ความฝันของเรา เราจะเป็นคนกำหนดมันเอง" แต่กลายเป็นว่าเมื่อเรามีความฝันในตอนเด็ก และโดนห้ามปราม พอโตขึ้นความฝันพวกนั้นก็ยังคงถูกห้ามปรามต่อไปเนื่องด้วยสังคมแห่งนี้ไม่เหลือพื้นที่ของ "ความหวัง" และ "ความฝัน" ไว้ให้กับใครอีกเลย

    ทั้งหมดนี้ คือ สิ่งที่เราได้หลังจากการอ่าน "ยังไม่ทันเข้างาน ก็อยากกลับบ้านแล้ว" ก็อย่างที่บอกว่าชื่อหนังสืออาจจะหลอกเราก็ได้ว่ามันเป็นเรื่องเบาสมอง แต่ในความจริงแล้วเนื้อหาของ "ยังไม่ทันเข้างาน ก็อยากกลับบ้านแล้ว" มันตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in