เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
Sex education for parents By นามิ ฟุคูจิ/ยูคิฮิโระ มุราเสะ แปล จุฬาลักษณ์ กรณ์สกุล
  • รีวิวเว้ย (968) "เราควรเริ่มคุยเรื่องเพศศึกษากับลูกได้เมื่อไหร่ เมื่อลูกเป็นวัยรุ่น ? มันจะไม่ช้าไปหน่อยเหรอ" ข้อความที่ปรากฏอยู่บนกรอบคำพูดในปกหลังของหนังสือเล่มนี้ คือ หัวใจสำคัญของการเล่าเรื่องของหนังสือเล่มนี้ว่า "เราควรจะพูดคุยเรื่องเพศศึกษากับลูกของเรา เมื่อไหร่ อย่างไร" ในสังคมญี่ปุ่นสังคมที่เมื่อเรามองจากภายนอกเราอาจจะมองว่าเป็นสังคมที่น่าจะมีการพูดเรื่องเพศศึกษากันอย่างเป็นปกติ เพราะเราอาจจะตัดสินจากเรื่องของการเปิดเสรีในอุตสาหกรรมทางเพศอย่าง หนัง AV และของเล่นทางเพศ (sex toy) ที่มีขายอยู่มสกมาย แต่ในความเป็นจริงแล้วเรื่องของ "เพศศึกษา" ในสังคมญี่ปุ่นเองเป็นเรื่องยากหรือยาขมของสังคมแห่งนี้เช่นเดียวกัน คนนอกแบบเรา ๆ ท่าน ๆ อาจจะมองว่ามันเป็นเรื่องที่ดูลักลั่น แต่เมื่อเราย้อนกลับมาดูสังคมไทยเองเราจะพบว่า มันคงไม่มีสังคมไหนที่จะดูลักลั่นย้อนแย้งไปได้มากกว่าสังคมไทยอีกแล้ว สังคมที่ปากว่าตาขยิบและปกปิดเรื่องต่าง ๆ เอาไว้ใต้พรมในฐานะของ "เรื่องห้ามพูด" ที่ผู้มีอำนาจพร่ำปฏิเสธว่า "ไม่มีอยู่จริง" แต่คนทั้งสังคม และคนทั้งโลกต่างรู้ว่าเรื่องเพศในสังคมไทยมีอยู่จริงมนแทบทุกมิติ จะมีก็แต่ผู้มีอำนาจที่มีศิลธรรมสูง แต่ cell สมองต่ำเท่านั้น ที่รับเรื่องเหล่านี้ไม่ได้ แล้วมานั่งตาลอยกลุ่มใจปัญหาเรื่องของท้องไม่พร้อม การก่ออาชญากรรม-ความรุนแรงทางเพศ และปัญหาสังคมอื่น ๆ ทั้งที่ในความเป็นจริง ถ้ายอมรับ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ และหาแนวทางแก้ไขหรือปรับให้มันถูกต้องและอยู่ในขอบเขตของการกำกับดูแล อาจจะทำให้ปัญหาต่าง ๆ ลดลงได้ แต่เราจะคาดหวังอะไรกับคนที่มี cell สมองแค่ 84,000 cell แหม่ cell สมองมีน้อยกว่าลูกจิ้งจกเสียอีก
    หนังสือ : Sex education for parents
    โดย : นามิ ฟุคูจิ/ยูคิฮิโระ มุราเสะ แปล จุฬาลักษณ์ กรณ์สกุล
    จำนวน : 208 หน้า

    "Sex education for parents" ในคำโปรยบนปกหน้าของหนังสือเขียนเอาไว้ว่า "คุยกับลูกเรื่องเพศศึกษาในเป็นวิชาที่ไม่ต้องรอครูสอน" เพราะเนื้อหาของหนังสือ "Sex education for parents" คือการพาผู้อ่านไปทำความเข้าใจปัญหาในเรื่องของ "เพศศึกษา 101" สำหรับผู้ปกครองที่จะได้เรียนรู้ ทั้งเรื่องของความรู้ แนวคิด วิธีการที่จะถ่ายทอดให้กับเด็ก ๆ ในครอบครัวสำหรัลการทำความเข้าใจเรื่องของเพศศึกษาในเบื้องต้น

    โดยที่เนื้อหาใน "Sex education for parents" แบ่งออกเป็นตอน แบบในหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น และหนังสือเล่มนี้ก็เล่าเรื่องในแต่ละตอนด้วยการ์ตูน ที่หยิบเอาแกนกลางของการเล่าเรื่องในแต่ละตอนเป็นเรื่องของเพศ และเพศศึกษา โดยที่เนื้อหาแบ่งออกเป็น 27 ตอน ที่ว่าด้วยเรื่องของเพศตั้งแต่การเกิดขึ้นมาของเด็ก ความสำคัญของอวัยวะเพศ การใช้ชีวิตกับลูก การตอบคำถามต่าง ๆ ของลูก รวมถึงการสอนเทคนิคดี ๆ ให้ผู้ปกครองได้คุยกับลูก-หลานในเรื่องของเพศศึกษา

    "Sex education for parents" นอกจากที่จะบอกเล่าเรื่องของเพศศึกษา 101 แล้ว เนื้อหาใน "Sex education for parents" ยังบอกเล่าถึงแนวทางและการปฏิบัติตัวของพ่อ-แม่ ผู้ปกครองในฐานะของครอบครัวที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาไปพร้อม ๆ กับลูก นอกจากเรื่องของความรู้ก็คือเรื่องของการปฏิบัติตัวของพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่ต้องคอยเตือนตัวเองเสมอว่า ร่างกายของลูกก็คือร่างกายของเขาที่ต่อให้เราเป็นพ่อแม่ ก็มีเรื่องที่ไม่ควรไปละเมิดพื้นที่ส่วนตัว โดยเฉพาะพื้นที่สงวนที่ไม่ควรไปละเมิด เพราะด้วยสถานะของการเป็นพ่อ-แม่ อาจจะทำให้ลูกไม่กล้าที่จะปฏิเสธการกระทำเหล่านั้น ซึ่งนอกจากเรื่องเหล่านั้นแล้วในบทท้าย ๆ ของ "Sex education for parents" ยังบอกเล่าเรื่องของ "การมีเพศสัมพันธ์" ผ่านคำถามที่พ่อแม่หลายคนก็คงไม่กล้าตอบลูก ๆ ว่า "เมื่อไหร่ถึงจะมีเพศสัมพันธ์ได้ (?)" โดยข้อความที่เราชอบมาก ๆ ที่ปรากฏใน "Sex education for parents" เป็นการบอกเล่าถึงเรื่องของการคุมกำเนิดและการสอนให้ลูกเข้าใจเรื่องของการป้องกันและปกป้องตัวเอง ดังข้อความที่ปรากฏอยู่ในย่อหน้าถัดไป

    "ผู้ชายและผู้หญิงเท่าเทียมกันก็จริง แต่ผลที่ได้รับจากการมีเซ็กส์นั้นไม่เท่ากัน ทั้งการตั้งครรภ์และการทำแท้ง มีผลกระทบอย่างมากต่อร่างกายและจิตใจของฝ่ายหญิง เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผู้หญิงก็มีความเสี่ยงเยอะกว่ามากเนื่องด้วยกลไกของร่างกาย ถ้ามีปัญหาขึ้นมาก็อาจเกิดความผิดหวังความเกลียดชังความรู้สึกผิด ขึ้นระหว่างทั้ง 2 กลายเป็นความสัมพันธ์ที่น่าเศร้า มีหลายคนต้องเจอเรื่องแบบนี้" (น.161)

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in