เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ซาฮาโตโพล์ค By เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ แปล ภัควดี วีระภาสพงษ์
  • รีวิวเว้ย (967) "... เขาไม่ใช่เทพ ความงมงายในการเทิดทูลเขา เกิดมาจากความกลัว กลัวความตาย...กลัวทรราชในหมู่คน...แต่ความกลัวทั้งหมดคือความต่ำช้า ความงมงายที่เกิดมาจากความกลัวก็ต่ำช้าและคนที่ความงมงายเทิดทูนขึ้นก็ต่ำช้าเช่นกัน ซาฮาโตโพล์คไม่ใช่เทพเจ้า แต่เป็นบุคคลธรรมดาและในหลายด้านเลสยิ่งกว่าสัตว์ ..." ข้อความดังกล่าวปรากฎบนคำโปรยปกหลังของหนังสือเล่มนี้ "... อาณาจักรสูงส่งนี้สร้างขึ้นมาบนคำโป้ปดมดเท็จ ความโหดร้ายและความต่ำช้าเลวทราม ..." ข้อความนี้ก็เช่นเดียวกัน
    หนังสือ : ซาฮาโตโพล์ค
    โดย : เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ แปล ภัควดี วีระภาสพงษ์
    จำนวน : 108 หน้า

    "ซาฮาโตโพล์ค" นวนิยายขนาดสั้นของ "เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์" นักปรัชญา นักคณิตศาาตร์ และนักปฏิรูปสังคมชาวอังกฤษ ผู้ที่มักตั้งคำถามและท้าทายความเชื่อของ "สังคมอนุรักษ์นิยม" เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ ได้รับการขนานนามในฐานะของนักปรัชญาคนสำคัญที่ไม่แพ้นักปรัชญาคนอื่นในประวัติศาสตร์ โดยมีข้อความตอนหนึ่งเขียนเอาไว้ว่า "นับจากวอลแตร์เป็นต้นมา รัสเซลล์เป็นนักปรัชญาที่ถือว่ามีอิทธิพลทางสังคมมากที่สุดคนหนึ่ง รัสเซลล์คล้ายคลึงกับวอลแตร์ตรงที่มีลีลาการเขียนร้อยแก้วโดดเด่นและมีอารมณ์ขันอันละเอียดอ่อน ความคิดนอกรีตนอกรอยของเขาสร้างความไม่พอใจแก่บรรดานักอนุรักษนิยมที่เป็นนักศีลธรรมและเคร่งศาสนาทั้งหลายต่อมาอีกนาน"

    "ซาฮาโตโพล์ค" ว่าด้วยเรื่องของโลกในยุคที่การขึ้นมามีอำนาจอีกครั้งของชนชาติหนึ่งที่เคยถูกกดทับและบีบบังคับด้วยระเบียบโลก ทั้งในฐานะของชนชาติที่ถูกกดทับลงจนเป็นทาส แต่เรื่องราวที่ปรากฏใน "ซาฮาโตโพล์ค" คือการพลิกกลับของการกดทับในโลกที่กลุ่มคนที่เคยเป็นทาสกลับมามีอำนาจอีกครั้งและสังคมแห่งนั้นกลายมาเป็นสังคมที่ทรงอำนานมากที่สุดและครองโลก

    ในนิยาย "ซาฮาโตโพล์ค" เปรูกลายมาเป็นประเทศทรงอำนาจที่รักษา กำหนดกฏเกณฑ์ของโลกและสังคม ผ่านการสร้างสถานะบางประการให้กับเหล่าผู้ปกครองในฐานะร่างทรงของเทพ "ซาฮาโตโพล์ค" เทพที่ถูกสถาปนาขึ้นเพื่อสร้างความชอบธรรม และสร้างการครอบงำสังคม โดยการยกสถานะของเทพเจ้าขึ้นมามีบทบาททำให้คนในสังคมลดการสงสัยลง และอาศัยกลไกอำนาจของเทพ "ซาฮาโตโพล์ค" ในการรักษาอำนาจของสังคมแห่งนั้นเอาไว้

    สังคมที่ปรากฏใน "ซาฮาโตโพล์ค" อาศัยกลไกทางอำนาจของเทพ "ซาฮาโตโพล์ค" ในการรักษาความชอบธรรม กำกับ ควบคุม กำหนดวิธีชีวิตของผู้คนผ่านรูปแบบของพิธีกรรม ความเชื่อ และความศรัทธา ที่มีรัฐและกลุ่มบุคคลได้รับประโยชน์จากการอาศัยกลไกของเทพ "ซาฮาโตโพล์ค" ในการรักษาสังคมแห่งนั้นเอาไว้ "ซาฮาโตโพล์ค" ยังคงบอกเล่าเรื่องราวของการท้าทายและตั้งคำถามของคนที่ "ไม่เชื่อ" ต่อเรื่องราวของเทพซาฮาโตโพล์ค และการตั้งคำถามในลักษณะนั้นเป็นการสั่นคลอนความเชื่อและท้าทายความสงบ (ปกติ) ของสังคมแห่งนั้น นอกจากนี้เรื่องราวใน "ซาฮาโตโพล์ค" จะแสดงให้เห็นถึงความท้าทายขนบความเชื่อในสังคม ความตลกร้ายของ "ซาฮาโตโพล์ค" คือการที่ "เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์" แสดงให้เห็นถึง "วงรอบของการครอบงำ" ที่ทำให้สังคมหนึ่ง ๆ บิดเบี้ยว บิดเบือนไป และกล่ยเป็นความปกติเพียงหนึ่งเดียวของสังคม

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in