เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
อย่าสูญสิ้นความหวังเพราะชีวิตยังมีความหมาย By แปล วุฒิชัยฯ
  • รีวิวเว้ย (965) ตอนอ่านหนังสือเล่มนี้จบลง มีชื่อของบุคคล 2 คนที่โผลเข้ามาในหัวของเรา คนแรก คือ "คุณจิตร ภูมิศักดิ์" นักคิด นักเขียน ที่จากโลกนี้เร็วเกินไปเพียงเพราะความเห็น ความคิด ความเชื่อ และอุดมการณ์ของเขายืนอยู่คนละฟากฝ่ายกับรัฐและผู้มีอำนาจในช่วงเวลานั้น การอ่านหนังสือเล่มนี้ทำให้เราย้อนคิดถึงจิตร ตอนที่ต้องใช้ชีวิตในคุกลาดยาวในฐานะของ "นักโทษการเมือง" เราเคยสงสัยว่าอะไรที่ทำให้คนแบบคุณจิตร ยังรักษาความฝันในที่มั่นสุดท้ายของเขาเอาไว้ได้และสร้างผลงานต่าง ๆ ขึ้นมาในระหว่างที่ติดอยู่ใต้โซ่ตรวนของการจองจำ หลังจากที่อ่านหนังสือเล่มนี้เราคิดว่าเราพอจะเห็นคำตอบคำตอนนั้นของคุณจิตร ที่ถูกเขียนเอาไว้ในเพลง "แสดงดาวแห่งศรัทธา" https://youtu.be/wmAGDhTZO78 และคนที่สองที่เราคิดถึงคือ "หนุ่มเมืองจันท์" แต่สิ่งที่เราคิดถึงคือชื่อหนังสือเล่มหนึ่งของเขาที่ชื่อว่า "ชีวิตไม่ใช้ ไม่ใช่ชีวิต" ซึ่งมันช่วยเติมเต็มอีกคำถามสำคัญอีกข้อหนึ่งในเรื่องของสิ่งที่หลายคนเรียกว่า "การใช้ชีวิต" และอีกกลุ่มบุคคลที่เรานึกถึงตอนที่กำลังพิมพ์รีวิวนี้ คือ กลุ่มของนักกิจกรรมทางการเมือง และคนรุ่นใหม่ที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองในปัจจุบัน เราคิดว่าการกระทำของพวกเขาเป็นส่สนขยายที่ชัดเจนที่สุดของหนังสือ "อย่าสูญสิ้นความหวังเพราะชีวิตยังมีความหมาย" เล่มนี้
    หนังสือ : อย่าสูญสิ้นความหวังเพราะชีวิตยังมีความหมาย
    โดย : แปล วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ
    จำนวน : 200 หน้า

    หนังสือ "อย่าสูญสิ้นความหวังเพราะชีวิตยังมีความหมาย" แปลจากหนังสือ "Yes to Life In Spite of Everything" ที่รวบรวมขึ้นมาจากการปาฐกถาของจิตแพทย์ชาวออสเตรีย เชื้อสายยิว ที่เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้รวบรวมมาจากการปาฐกถาหลังจากที่ผู้กล่าวปาฐกถาถูกปล่อยตัวมาจากค่ายกักกันของ "นาซี" เพียง 9 เดือน นั่นแปลว่าผลงานชิ้นนี้หรือหนังสือเล่มนี้มีอายุมากกว่า 70 ปี (ค.ศ. 1946) ซึ่งความน่าประหลาดใจของหนังสือเล่มนี้คือ มันถูกสร้างขึ้นจากบุคคลที่น่าจะ "สูญสิ้นความหวัง" มากที่สุดคนหนึ่งของโลก เพราะเขาคือผู้ถูกจองจำ ใช้แรงงาน และสูญเสียครอบครัว ภรรยาและลูกไปในค่ายกักกันของนาซี แต่น่าแปลกใจที่ตัวเขากลับมี "ความหวัง" ที่ยังทำให้ตัวเองใช้ชีวิตอยู่รอดจากค่ายกักกัน และสามารถสร้างผลงานชิ้นนี้ขึ้นมาได้หลังจากที่ตัวของเขาผ่านเหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่ในชีวิตของคนหนึ่งคนจะสามารถเผชิญได้ มาเพียงแค่ 9 เดือน

    หนังสือ "อย่าสูญสิ้นความหวังเพราะชีวิตยังมีความหมาย" คืนหนังสือที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946 ที่ไม่จัดอยู่ในหมวดของหนังสือให้กำลังใจ หากแต่เราขอเรียกมันว่าหนังสือที่ช่วยให้เรา "เข้าใจ" ความหมายอีกมุมหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่า ความหวังของการมีชีวิตอยู่ หนังสือเล่มนี้ไม่ได้มีส่วนไหนที่ปลอบโยนผู้อ่านถึงเรื่องขอบความหวังและชีวิต หากแต่หนังสือเล่มนี้คือภาพสะท้อน วิธีคิดของผู้สร้างหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาว่าตัวเขาเอง อยู่อย่างไรในช่วงที่ชีวิตเผชิญสิ่งเลวร้ายอย่างค่ายกักกัน และการสูญเสียครอบครัว โดยที่ตัวเขาเองไม่ได้พูดถึงความลำบากและการสูญเสียของตัวเอง หากแต่ถ้อยความในบทปาฐกถามันช่วยให้เราเข้าใจบริบทเหล่านั้นมากยิ่งขึ้น

    โดยที่เนื้อหาใน "อย่าสูญสิ้นความหวังเพราะชีวิตยังมีความหมาย" แบ่งออกเป็น 3 ภาค ที่จะช่วยพาคนอ่านไปทำความเข้าใจเรื่องราวของชีวิตผ่านมุมมอง เหตุการณ์ ที่ถูกผสานเข้ากับตัวอย่างและเรื่องเล่าได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งเนื้อหาในแต่ละภาคนั้นสอดคล้องกับสังคมในปัจจุบันได้อย่างลงตัวจนน่าประหลาดใจ ทั้งที่หนังสือเล่มนี้ถูกสร้างมาหลายสิบปีแล้วก็ตามที่

    หลังจากที่อ่าน "อย่าสูญสิ้นความหวังเพราะชีวิตยังมีความหมาย" จบลง เราอยากยกให้หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มที่ดีที่สุดของปีนี้ (2565) จากในบรรดาหนังสือทุกเล่มที่อ่านมาในปีนี้ (ซึ่งตอนที่เขียนรีวิวอยู่นี้ คือ วันที่ 3/2/65 และตั้งแต่ต้นปีเพิ่งอ่านหนังสือมา 22 เล่ม) กระทั่งอาจจะดีที่สุดเมื่อเทียบกับรายการหนังสือที่อ่านในปีที่แล้ว (2564) อาจจะด้วยความที่ชื่อหนังสืออย่าง "อย่าสูญสิ้นความหวังเพราะชีวิตยังมีความหมาย" ที่เมื่ออ่านไปเราจะพบว่ามันแทบไม่มีข้อความหวานหูสำหรับการให้ความหวัง แต่แทบทุกย่อหน้ามันคือการทดลองของผู้เขียนที่เขาได้เอาชีวิตของตัวเองลงไปทดลองในเรื่องดังกล่าวมาแล้ว เขาถึงกล้าบอกกับผู้อ่านว่า "อย่าสูญสิ้นความหวังเพราะชีวิตยังมีความหมาย" เสมอ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in