เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ศาสนาผีใต้ชะเงื้อมเขาพระสุมเมรุ By ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ
  • รีวิวเว้ย (964) เวลาที่ได้ยินคนพูดถึง "ศาสนาพุทธ (แบบไทย)" ที่ถูกพูดโดยคนไทยพุทธ ในการยกบริบทของความดี ความจริง ความเจริญ และอีกหลายร้อยอย่างที่ยกเอามาเป็นข้ออ้างว่า "พุทธไทยดาเบส" หลายครั้งเมื่อได้ยินก็ได้แต่นั่งกรอกตาไปมา เพราะจะเดินเข้าไปบอกเขาตรง ๆ ว่า "อ่านหนังสือเยอะ" และใช้สมองเยอะ ๆ ตามหลักศาสนาพุทธอย่าง "กาลามสูตร" ก็กลัวจะโดนสัดส้นตีนเข้าที่เบ้าตา แต่ก็เอาเป็นว่าหลายคนคงรู้กันว่าพุทธแบบไทย ไม่ใช่ศาสนาพุทธที่มีเพียงความเป็นพุทธเท่านั้นหากแต่มันคือส่วนผสมของ ผี + พราหมณ์-ฮินดู + พุทธ จึงได้ผลผลิตสุดท้ายออกมาเป็น "พุทธแบบไทย" ถ้าไม่เชื่อก็ไม่หาอ่านเอามีหนังสทอหลายเล่มเลยที่ว่าด้วยเรื่องนี้ นอกเหนือไปจากความเป็นพุทธแบบไฮบริดแล้วในสังคมไทยเองความเชื่อและอะไรอีกหลาย ๆ อย่างล้วนเป็นไฮบริดด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม ความเชื่อ อาหาร หรือกระทั่งการเมืองเพราะระบอบประชาธิปไตยของเรายังเป็นประชาธิปไตยไฮบริดที่เจือส่สนผสมของ ... เออช่างเถอะ หรืออย่างกรณีหนึ่งที่เคยมี ส.ว. เคยพูดถึงเรื่องข้อดีของความชอบต่อระบอบการปกครองแบบ "เผด็จการประชาธิปไตย" ในฐานะของนักเรียนรัฐศาสตร์ได้ยินคำนี้เข้าไปถึงกับนั่งตาลอยและคิดในใจว่า ส.ว. ประเทศนี้ช่างคัดเลือกได้ไฮบริดจริง ๆ ช่างเป็นส่วนผสมที่ลงตัวและดูเหมาะสมกับประเทศไฮบริดแห่งนี้เหลือเกิน
    หนังสือ : ศาสนาผีใต้ชะเงื้อมเขาพระสุมเมรุ
    โดย : ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ
    จำนวน : 257 หน้า
    .
    หนังสือ "ศาสนาผีใต้ชะเงื้อมเขาพระสุมเมรุ" ว่าด้วยเรื่องของการพาผู้อ่านไปทำความเข้าใจเรื่องราวของ "ศาสนาผี" ที่มีบทบาทในสังคมไฮบริด และสังคมแห่งนั้นเองก็ดูจะไม่รู้สี่รู้แปดเลยว่าสิ่งที่ตัวเองเชื่อถือ รับรู้ หรือถือเอาเป็นสาระสำคัญในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมอันดี (คำที่สังคมแห่งนั้นชอบใช้) ในหลาย ๆ วัฒนธรรม ตำนาน ความเชื่อและอื่น ๆ ล้วนมีที่มาจากส่วนผสมของศาสนาผี และชุดความเชื่อในศาสนาผีด้วยกันทั้งนั้น แต่สังคมแห่งนั้นก็ไม่เคยเรียนรู้ และเข้าใจใด ๆ นอกจากเข้าใจว่าว่า มันคือ "วัฒนธรรมอันดี" ที่ไม่สามารถแตะต้อง ตั้งคสามถามและเปลี่ยนแปลงได้ (เวทนาฉิบหาย) ซึ่งหนังสือ "ศาสนาผีใต้ชะเงื้อมเขาพระสุมเมรุ" ช่วยฉายภาพความจริงอันน่าเวทนานั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
    .
    โดยที่ผู้เขียน "ศาสนาผีใต้ชะเงื้อมเขาพระสุมเมรุ" ได้เขียนข้อความเอาไว้ในบทเกริ่นนำของหนังสือ ในหน้าที่ 25 ที่เราอ่านแล้วคิดว่าข้อเขียนของผู้เขียนในหน้านี้แหละ ดูจะเป็นการอธิบายหนังสือเล่มนี้ได้ครบถ้วนและครอบคลุมมาที่สุด (แน่นอนเพราะผู้เขียน เขียนเอาไว้เอง) โดยข้อความของผู้เขียนมีดังนี้ 
    .
    "ศาสนาผีใต้เงื้อมเขาพระสุเมรุ เล่มนี้ ประกอบไปด้วยข้อเขียน 30 เรื่อง ซึ่งผมเขียนลงมติชนสุดสัปดาห์ระหว่าง พ.ศ. 2558-2564 โดยมีประเด็นเนื้อหาเกี่ยวกับสี่หัวข้อหลักได้แก่
    .
    (1) วัตถุที่สร้างขึ้นในความเชื่อของศาสนาผี ที่มักจะถูกนักโบราณคดีอธิบายผ่านความเชื่อในศาสนาพุทธ จนทำให้เกิดความหมายที่คลาดเคลื่อนไปจากยุคแรกสร้างวัตถุเหล่านี้ เช่น หม้อสาขา กลองมะโหระทึก หรือภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมบ้านเชียง เป็นต้น
    .
    (2) พิธีกรรมในศาสนาผี ไม่ว่าจะเป็น พิธีการทำขวัญข้าว การลอยกระทงบูชาผีบรรพชน หรือการไหว้ครู เป็นต้น
    .
    (3) สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาผี อย่าง ผีปะกำ ต้นไม้ใหญ่ และผีประจำเมือง
    .
    (4) การกลืนกลายของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาผีให้กลายเป็นพุทธหรือพราหมณ์-ฮินดู เช่น ปราสาทพนมรุ้ง พระธาตุอินทร์แขวน พระธาตุศรีสองรัก พระแม่โพสพ หรือพระคเณศในฐานะที่เป็นครูช่าง"
    .
    เมื่ออ่าน "ศาสนาผีใต้ชะเงื้อมเขาพระสุมเมรุ" สิ่งที่เราได้แน่ ๆ คือความรู้ และได้ของแถมมาเป็นความเวทนาที่มีต่อสั่งคมแห่งนั้นยิ่ง ๆ ขึ้น และความเข้าใจในเหตุแห่งความขาด ๆ เกิน ๆ หลาย ๆ ประการของสังคมไฮบริดแห่งนั้น ที่คนมีอำนาจและอายุของสังคนนั้น ดันมีชุดความเชื่อแบบขาด ๆ เกิน ๆ ว่า คนที่ได้รับขนาดนานว่า "คนดี" จำทำตัวส้นตีนแค่ไหนก็ได้เพราะเขาเป็นคนดี 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in