เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ยุคคนเดือด: ประวัติศาสตร์ปัจจุบัน By ปังกัช มิชรา แปล เกษียร เตชะพีระ
  • รีวิวเว้ย (961) เวลาที่เราได้ยินคำพูดหรือคนพูดว่า "ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย" เรามักจะสงสัยว่าการให้ความหมายของคำดังกล่าวหมายความว่าอย่างไร เลยลองค้นเล่น ๆ ดูแล้วพบว่ามีการให้ความหมายของคำดังกล่าวเอาไว้ว่า "เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีต จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต เมื่อมีเงื่อนไขหรือสาเหตุที่เป็นไปทำนองเดียวกัน" แน่นอนว่านักประวัติศาสตร์หลายคนก็ดูจะไม่เห็นด้วยกับข้อความนี้ซักเท่าไหร่ โดยเราอาจจะเคยได้ยินคำพูดของนักปรัชญาชาวกรีกอย่าง "Heraclitus" ที่ว่า "No man ever steps in the same river twice. For it’s not the same river and he’s not the same man." ซึ่งเป็นการข้อถกเถียงหนึ่งที่น่าสนใจว่าในท้ายที่สุดแล้วคำว่า "ซ้ำรอย" มันสามารถเอามาใช้ในการอธิบายบริบททางประวัติศาสตร์ได้จริงหรือไม่ เพราะหากเราเชื่อแบบ Heraclitus เราก็จะพบว่าประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วจะไม่ใช่ประวัติศาสตร์แบบเดียวกับที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพราะบริบทโดยรอบมันเปลี่ยนแปลงไปจากครั้งก่อน หรือบางคนก็อาจจะเชื่อว่า "ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย" เกิดขึ้นได้และเกิดขึ้นได้บ่อยด้วย อย่างในบางประเทศที่ประวัติศาสตร์ในเรื่องบางเรื่องเกิดขึ้นวน ๆ ซ้ำ ๆ จนหลายคนขนานนามมันว่า "วงจร"
    หนังสือ : ยุคคนเดือด: ประวัติศาสตร์ปัจจุบัน
    โดย : ปังกัช มิชรา แปล เกษียร เตชะพีระ
    จำนวน : 486 หน้า

    "ยุคคนเดือด: ประวัติศาสตร์ปัจจุบัน" หนังสือที่แปลจาก "AGR OF ANGER A HISTORY OF THE PRESENT" ที่ว่าด้วยเรื่องของ "ประวัติศาสตร์สมัยใหม่" ที่เราเองก็ยากจะนิยามว่าหนังสือเล่มนี้พูดถึงประวัติศาสตร์ขอบอะไร เพราะด้วยเนื้อหาต่าง ๆ และเทคนิคการเขียนที่ผู้เขียนใช้เขียนหนังสือ "ยุคคนเดือด: ประวัติศาสตร์ปัจจุบัน" นั้นมันคือการหยิบยืมเอาความรู้ เทคนิควิธีทางวิชาการ และการแสวงหาคำตอบของคำถามด้วยเครื่องมือจากศาสตร์หลายแขนมเข้ามาร่วมไว้ด้วยกัน เพื่อที่จะศึกษาปรากฏการณ์ของการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ในยุคปัจจุบัน ที่หลายต่อหลายเรื่องมันหลุดออกไปจากวงโคจรของการคาดการณ์ของทั้งนักประวัติศาสตร์ นักรัฐศาสตร์ นักนิติศาสตร์ และอีกสารพัดนักและศาสตร์ ชนิดที่เรียกว่าหักปากกาเซีนและเผาตำราเรียนที่นักวิชาการหลาย ๆ คนเขียนขึ้น

    "ยุคคนเดือด: ประวัติศาสตร์ปัจจุบัน" หยิบยืมเอาองค์ความรู้จากหลาย ๆ ศาสตร์มาศึกษาและมองปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างถึงแก่น และตั้งคำถามย้อนกลับผ่านวิธีคิดของศาสตร์ต่าง ๆ ถึงเหตุการณ์โลกในปัจจุบันว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยอาจจะให้ความสำคัญไปที่เรื่องของ "ความผิดหวัง" และ "ความคับแค้น" ที่ผู้แปลเลือกใช้คำว่า "อุกอั่งคับแค้น" กระทั่งความอุกอั่งคับแค้นเหล่านั้นได้สร้างหนทางเดินมาสู่บริบทโลกในยุคปัจจุบัน และ "ยุคคนเดือด: ประวัติศาสตร์ปัจจุบัน" ก็พาเราย้อนกลับไปทำความเข้าใจระหว่างทางก่อนที่จะเป็นดังที่ปรากฏอยู่อย่างในปัจจุบัน

    เนื้อหาในเล่ม "ยุคคนเดือด: ประวัติศาสตร์ปัจจุบัน" แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

    บทที่ 1 บุพกถา: สภาพการณ์ที่ถูกลืม

    บทที่ 2 เคลียร์พื้นที่: ผู้ชนะแห่งประวัติศาสตร์กับมายาคติของพวกเขา

    บทที่ 3 รักตัวเองผ่านคนอื่น: ความก้าวหน้ากับความขัดแย้งของมัน

    บทที่ 4 เมื่อข้าสูญเสียศาสนาไป: อิสลาม โลกวิสัย และการปฏิวัติ

    บทที่ 5 เมื่อข้าได้ศาสนาคืนมา: I ชาตินิยมเริงโลด II วิสัยทัศน์พระผู้ช่วยให้รอด

    บทที่ 6 ค้นพบเสรีภาพและความเสมอภาคที่แท้จริง: มรดกแห่งสุญนิยม

    บทที่ 7 ปัจฉิมกถา: ค้นพบความเป็นจริง

    สำหรับเราแล้วการอ่าน "ยุคคนเดือด: ประวัติศาสตร์ปัจจุบัน" ไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าใเนัก เพราะด้วยเนื้อหาที่ประกอบไปด้วยความรู้จากหลากหลายสาย และด้วยสำนวนภาษาที่ต้องใช้สมาธิในการอ่านอยู่ตลอด ทำให้การอ่าน "ยุคคนเดือด: ประวัติศาสตร์ปัจจุบัน" ต้องอาศัยเวลาและความเข้าใจในการขบคิดในแต่ละช่วงตอนในกระจ่าง ซึ่งสำหรับเราแล้วหลังจากที่อ่าน "ยุคคนเดือด: ประวัติศาสตร์ปัจจุบัน" จบลง กระทั่งตอนที่เขียนรีวิวอยู่นี้ ตัวเราเองก็ยังไม่มั่นใจว่าเราเข้าใจ "ยุคคนเดือด: ประวัติศาสตร์ปัจจุบัน" ได้สักกี่มากน้อย



เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in