เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
เปิดตำนานเทศกาลจีน By โจวเซี่ยวเทียน แปล ถาวร สิกขโกศล
  • รีวิวเว้ย (962) ถ้าให้คิดแบบเร็ว ๆ ถึงเรื่องของ "อิทธิพลของจีนในประเทศไทย" เราน่าจะคิดถึงเรื่องดังกล่าวได้มากกว่า 10 เรื่อง เพราะเอาเข้าจริงแล้วอิทธิพลและวิธีคิดของจีนที่มีต่อไทย อาจจะต้องนับย้อนไปตั้งแต่ช่วงเวลาก่อนการเกิดขึ้นของไทย สยาม เผลอ ๆ จะไปไกลกว่ายุคสุโขทัยเสียอีกที่ดินแดนในแถบนี้ได้รับเอาอิทธิพลของจีนเข้ามาเป็นส่วนสำคัญของสังคมและวิถีชีวิตของผู้คน หากขยับช่วงเวลาเข้ามาใกล้อักหน่อย เราจะพบว่าอิทธิพลสำคัญของจีนที่มีผลต่อสังคมไทยอย่างมากคงหนี้ไม่พ้นเรื่องของอาหารการกิน ที่หระทะแบบจีน การใช้น้ำมันในการประกอบอาหาร และอาหารประเภททอดและผัดได้เข้ามาเป็นส่วนเดียวกันกับสังคมไทยทั้งสังคม กระทั่งเราหลงลืมที่มาของเรื่องเหล่านั้นไปแล้ว หรือใกล้ที่สุดในช่วงต้นปี 2565 ที่ผ่านมา เมื่อเวลาก้าวเข้าสู่ปี 2565 เราก็เริ่มเห็นหลาย ๆ คนไปปฏิบัติการ "แก้ชง" ที่วัดมังกร และศาลเจ้าพ่อเสือ ซึ่งแน่นอนว่าปฏิบัติการแก้ชงเป็นหนึ่งในมรดกวิธีคิดของวัฒนธรรมจีน แต่สิ่งหนึ่งที่เราสงสัยเป็นพิเศษคือทำไมคนเราปฏิบัติการแก้ชงก่อนตรุษจีนกันนะ ถ้าเราจำไม่ผิดทันน่าจะเริ่มนับหลังจากเทศกาลตรุษจีน และมันไม่น่าจะเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม
    หนังสือ : เปิดตำนานเทศกาลจีน
    โดย : โจวเซี่ยวเทียน แปล ถาวร สิกขโกศล
    จำนวน : 209 หน้า

    "เปิดตำนานเทศกาลจีน" หนังสือที่รวบรวมเอา 14 เทศกาลน่ารู้ประจำชาติของจีนมาบอกเล่า โดยที่เทศกาลทั้ง 14 นั้นมีรูปแบบของการบอกเล่าผ่าน ที่มา ตำนาน รูปแบบของเทศกาล ความเชื่อ-ค่านิยม ข้อห้าม-ข้อกำหนด และวรรณกรรมโบราณที่บันทึกเรื่องราวของเทศกาลต่าง ๆ เอาไว้ทั้งในรูปแบบของโครงกลอน หรืองานประเภทร้อยแก้ว ที่บอกเล่าและมีเรื่องราวของเทศกาลต่าง ๆ เป็นฉากหลัก หรือเป็นฉากหลังของงานประพันธ์เหล่านั้น

    ความน่าสนใจอีกประการของ "เปิดตำนานเทศกาลจีน" ที่นอกเหนือนไปจากการบอกเล่าที่มาที่ไปของเทศกาลต่าง ๆ แล้ว เทศกาลที่ปรากฏในหนังสือ "เปิดตำนานเทศกาลจีน" หลายเทศกาลยังเป็นเทศกาลของชนกลุ่มน้อยในจีนที่ถูกหยิบเลืกมานำเสนอ ทั้งเทศกาลของทิเบต เทศกาลของอูยกูล ซึ่งน่าสนใจว่าการหยิบเลือกเอาเทศกาลของทั้งทิเบตและอูยกูล มาบอกเล่าในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนตั้งใจแสดงให้เห็นถึง "ความหลากหลาย" ของเทศกาลที่มีอยู่ในพื้นที่ทางกายภาพของประเทศจีน หรือผู้เขียนตั้งใจจะแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่าทั้งทิเบตและอูยกูลเป็นหนึ่งในชนชาติของจีน ที่มีประวัติความเป็นมา เทศกาล ตำนาน และอื่น ๆ เกี่ยวข้องกับจีนและนับเนื่องเป็นส่วนหนึ่งของจีนมาเนิ่นนาน เพราะเอาเข้าจริงปัญหาของจีนกับทั้งทิเบต และอูลกูลก็เป็นที่รับรู้กันในปัจจุบันว่ากลุ่มคนทั้ง 2 เชื้อชาติถูกทางการจีนบีบบังคับและละเมิดสิทธิในคงามเป็นมนุษย์ของพวกเขามากมายขนสดไหน ทั้งที่มีข่าวของค่ายกักกันและแก้ไขการเป็นอูลกูล รวมถึงการใช้กำลังใยการปราบปรามชาวทิเบต

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in