เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ปัญญาญี่ปุ่น By ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา
  • รีวิวเว้ย (956) เล่มนี้น่าจะเป็นเล่มสุดท้ายของการหยิบเอาหนังสือที่เคยอ่านเมื่อหลายปีก่อนกลับมาอ่านอีกครั้ง และน่าจะเป็นเล่มสุดท้ายที่หยิบเอาหนังสือของ "ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา" มาอ่านอีกครั้ง หลายปีมานี้กระแสลมตะวันออก ดูจะเป็นกระแสลมที่สำคัญของโลก เพราะประเทศหลายประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลายเป็นที่จับตามองของโลก โดยเฉพาะการผงาดขึ้นมาของประเทศจีน ซึ่งหลายปีมานี้เราจะพบเจอหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ของประเทศจีนอยู่เยอะมาก ๆ โดยเฉพาะในมิติการขยายตัวทางด้านเศรษญกิจและนโยบายผ่านโครงการ "ความร่วมมือทางสายไหมใหม่" (New Silk Road) หรือที่หลายคนเรียกกันว่า "หนึ่งเข็มขัดเศรษฐกิจหนึ่งเส้นทาง" หรือ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" (Belt and Road Initiative) แต่ครั้งนี้เราไม่ได้มารีวิวหนังสือเกี่ยวกับจีน หากแต่เราอยากพาทุกคนย้อนกลับไปดูกระแสลมแรก ๆ ของ "กระแสลมตะวันออก" อย่างประเทศญี่ปุ่น ที่ขยับขึ้นมามีที่ทางบนเวทีการเมืองโลกได้อย่างน่าสนใจ และหนังสือเล่มนี้จะบอกเล่าอีกด้านมุมของญี่ปุ่นผ่านพัฒนาการของ "อุตสาหกรรมยานยนต์"
    หนังสือ : ปัญญาญี่ปุ่น
    โดย : ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา
    จำนวน : 170 หน้า

    "ปัญญาญี่ปุ่น" เป็นหนังสือที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นผ่านพัฒนาการของอุตสาหกรรมยานยนต์โลก โดยมุ่งเน้นไปที่ความพยายามปรับตัวตื่นเพื่อรับแรงกดดันให้เปิดประเทศจากตะวันตก ความพยายามสร้างชาติให้ยิ่งใหญ่ด้วยการใช้ลัทธิทหารและอุดมการณ์ชาตินิยม ก่อนที่สองสิ่งนั้นจะนำประเทศไปสู่ความล่มสลายหลังระเบิดเพลิงลูกแล้วลูกเล่าถูกทิ้งเข้าใส่เมืองใหญ่ ก่อนจะปิดท้ายด้วยระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิม่าและนางาซากิ จนญี่ปุ่นเดินเข้าสู่จุดต่ำสุดในประวัติศาสตร์

    โดยที่เนื้อหาในสารบัญของ "ปัญญาญี่ปุ่น" แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ที่สามารถอ่านได้จบในตัวเอง เพราะบทตอนต่าง ๆ นั้นถูกเรียบเรียงมาจากบทความในนิตยสาร ฅ.คน โดยเนื้อหาแบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

    คนลากรถแห่งวัดธารน้ำใสและปัญยาใหม่ภายใต้ความเปลี่ยนแปลง

    สูตรหนึ่งของฮอนด้า เมื่อโค้งหน้าอันตราย

    เมื่อลมเปลี่ยนทิศ สมมติฐานจึงเปลี่ยนไป ในโลกที่เปลี่ยนแปลง

    เรือปืน ความรู้ การต่อสู้ และการปรับตัว

    เครื่องทอผ้า พุทธศาสนา เทพยาดา และการพึ่งพาตนเอง

    ปฏิรูปการศึกษา กำเนิดมหาวิทยาลัย ภูมิทัศน์ใหม่ และปัญหาใหญ่ของค่ายรถ

    รถยนต์อเมริกัน ความฝันของญี่ปุ่น วงล้อที่หมุนวน อนาคตที่ผันแปร

    สงคราม ความใหญ่ รัฐใหม่ และหายนะ

    ผู้มาใหม่ อำนาจเก่า สถาบันกษัตริย์ การจัดทัพ และการปรับองค์กร

    เมื่อเราพิจารณาบทตอนต่าง ๆ ใน "ปัญญาญี่ปุ่น" นั้น เราจะพบว่าหนทางและพัฒนาการของญี่ปุ่น หรือปัญญาญี่ปุ่นนั้น มิได้มีเพียงแค่ช่วงเวลาของการผงาดขึ้นแต่เพียงเท่านั้น หากแต่หนทางของการพัฒนาตลอดช่วงประวัติศาสตร์ มันมีทั้งจังหวะขึ้นและลงอยู่เสมอ เมื่อเป็นเช่นนั้นในกระแสธารของการพัฒนาของประเทศอื่น ๆ ก็จะไม่ต่างกัน หากขึ้นอยู่กับจังวะ โอกาส และความเปลี่ยนแปลงที่มาจากตัวแปรทั้งภายนอกและภายใน หากแต่ "ปัญญาญี่ปุ่น" ก็ชี้ให้เราเห็นว่าเมื่อถึงเวลาที่ดีให้ไขว่คว้า หากแต่อยู่ในจังหวะที่ไม่สมควรก็พึงรอเวลา หรือหาแนวทางของการเปลี่ยนแปลงเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะใหญ่เกินต้าน

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in