เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ผู้นำ อำนาจ ประวัติศาสตร์และการเมืองใหม่ By ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา
  • รีวิวเว้ย (947) เวลาที่เราพูดถึงคำว่า "อำนาจ" มักจะมีเพื่อนเล่นมุขว่า "หลงอำนาจก็ให้เปิด Google" หรือ "หลงอำนาจก็ไปไม่ถึงสุรินทร์" บางครั้งเราก็อยากจะหันหน้าไปหาเพื่อนคนนั้น ยิ้มมุมปาก และบอกกับมันในลักษณะของการพูดแบบยิ้ม ๆ ว่า "พ่อมึงตาย" และหลังจากพูดจบก็จะหันกลับมาเข้าเรื่องต่อว่าเวลาที่เราพูดถึง "อำนาจ" คนไทยหลายคนมักคิดถึงชื่อของจังหวัด แต่เอาเข้าจริงแล้วเวลาที่เราพูดถึงคำว่าอำนาจ เราคิดถึงมันในมุมแบบไหน (?) และใช่ในมุมเดียวกันรึเปล่า ดังนั้นก่อนที่จะไปถึงการรีวิวหนังสือ เราอยากจะลองชวนดูความหมายของคำว่า "อำนาจ" จากแหล่งที่มาที่เป็นที่นิยมของคนไทยอย่าง "ราชบัณฑิต" เสียหน่อย (น.) "อิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอมทําตามไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่ หรือความที่สามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์" ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากการให้ความหมายเราจะพบว่าอำนาจจัดอยู่ในลักษณะของความสัมพันธ์ที่ต้องอาศัยการทำให้เชื่อและทำให้เชื่องเข้ามาเกี่ยวเนื่องกัน แต่การให้ความหมายของราชบัณฑิตอาจจะตีความครอบคลุมได้แค่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (ผู้อื่น) ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แต่ในปัจจุบันความหมายของมันน่าจะต้องขยายขอบเขตไปถึงการมีอำนาจเหนือ "ตัวเองของบุคคล" ด้วยเพราะเรามักจะได้ยินคำพูดแนว ๆ ว่า "อำนาจเหนือจิตใจ" หรือกลุ่มคำที่ขยายคำว่าอำนาจในลักษณะนี้อยู่บ่อย ๆ ทีนี้เมื่อเราพิจารณาคำว่าอำนาจในลักษณะเดิมแบบของราชบัณฑิตและลองเอามาจับกับหนังสือ "ผู้นำ อำนาจ ประวัติศาสตร์และการเมืองใหม่" เราอาจจะอ่านหนังสือเล่มนี้ในมุมที่น่าสนใจมากขึ้นตั้งแต่ในระดับชื่อของหนังสือเลยทีเดียว
    หนังสือ : ผู้นำ อำนาจ ประวัติศาสตร์และการเมืองใหม่
    โดย : ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา
    จำนวน : 271 หน้า

    "ผู้นำ อำนาจ ประวัติศาสตร์และการเมืองใหม่" หนังสือที่รวบรวมชีวประวัติของผู้นำโลกยุคใหม่ (ตั้งแต่ช่วงหนังสือเล่มนี้ออกใหม่ ๆ / 2009) ที่เล่าเรื่องราวของ "ผู้นำ อำนาจ ประวัติศาสตร์และการเมืองใหม่" จาก "โทนี่ แบลร์" เรื่อยไปจนถึง "บารัค โอบามา" โดยบอกเล่าเส้นทางการก้าวสู่อำนาจและบริบททางประวัติศาสตร์ ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของแต่ละประเทศ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจพื้นฐานของผู้นำแต่ละคนและความเป็นมาของประเทศได้ดียิ่งขึ้น โดยที่ผู้นำทางการเมืองที่ปรากฎอยู่ในหนังสือเล่มนี้ไม่ได้มีแค่แบลร์กับโอบามาเท่านั้น หากแต่ยังมีผู้นำของฝรั่งเศส อิตาลี รัสเซีย และออสเตรเลียรวมอยู่ใน "ผู้นำ อำนาจ ประวัติศาสตร์และการเมืองใหม่" ด้วย

    "ผู้นำ อำนาจ ประวัติศาสตร์และการเมืองใหม่" มุ่งเน้นไปที่เรื่องของการวิเคราะห์ "ตัวบุคคล" (ตัวผู้นำเป็นหลัก) อาจจะด้วยหนังสือเล่มนี้ปรับมาจากบทความของผู้เขียนในนิตยสาร ฅ.คน ทำให้เรื่องราวของผู้นำที่ปรากฎอยู่ในหนังสือ "ผู้นำ อำนาจ ประวัติศาสตร์และการเมืองใหม่" จึงเป็นเรื่องของตัวบุคคลเป็นสำคัญ และใช้ตัวบุคคลเหล่านั้นเป็นแกนกลางในการผูกโยงเข้ากับเรื่องราวทางการเมืองที่เกิดขึ้นก่อนปี ค.ศ. 2009 ที่หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์

    การที่เราหยิบเอา "ผู้นำ อำนาจ ประวัติศาสตร์และการเมืองใหม่" ขึ้นมาอ่านอีกครั้งหลังจากการอ่านมันหลายปีก่อน ตั้งแต่ก่อนเข้าเรียนปริญญาตรี ที่คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ การหยิบ "ผู้นำ อำนาจ ประวัติศาสตร์และการเมืองใหม่" ทำให้เรามองเห็นเรื่องราวผ่านมิติและทฤษฎีที่เคยได้เรียนมามากยิ่งขึ้น และมันก็เติบเต็มส่วนที่ขาดหายไปในเรื่องราวของผู้นำทางการเมืองบางคนที่เกิดขึ้นก่อนช่วงที่เราจะหันมาให้ความสนใจเรื่องของการเมืองและผู้นำทางการเมืองนับตั้งแต่เข้าเรียนปริญญาตรี

    แต่อีกเหตุผลที่เลือกหยิบเอา "ผู้นำ อำนาจ ประวัติศาสตร์และการเมืองใหม่" ออกมาจากชั้นเป็นเพราะ 2 เรื่องด้วยกัน คือ (1) เราอยากรู้ว่าถ้าหนังสือเล่มนี้มีภาคต่อ และเขียนโดยผู้เขียนท่านเดิม จะมีผู้นำทางการเมืองคนไหนบ้างที่ถูกเขียนถึงในหนังสือเล่มต่อไป และ (2) ผู้เขียนจะใช้วิธีในการบอกเล่าเรื่องราว และเขียนถึงผู้นำทางการเมืองเหล่านั้นอย่างไร เพราะเราเชื่อว่า 13 ปีผ่านไป นอกจากเหตุการณ์ทางการเมือง ผู้นำทางการเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ตัวผู้เขียนเองก็น่าจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกันไม่มากก็น้อย เราจึงสนใจว่าถ้าหนังสือ "ผู้นำ อำนาจ ประวัติศาสตร์และการเมืองใหม่" จะเป็นเช่นไร (?)

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in