เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ถอดรหัสธรรมาภิบาลท้องถิ่น BY อรพินท์ สพโชคชัย
  • รีวิวเว้ย (939) รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    .
    หลายปีมากแล้วที่คำว่า "ธรรมาภิบาล (Good Governance)" ปรากฎขึ้นในวงวิชาการและวงราชการไทย แต่หลายครั้งหลายหนเราก็ไม่แน่ใจว่าความหมายของคำว่า ธรรมาภิบาล คืออะไรกันแน่แต่ก็เห็นการพูดถึง เชียนถึง ของทั้งภาควิชาการและภาคราชการอยู่บ่อยครั้งกระทั่งมีการนำเอาคำดังกล่าวไปตั้งเป็นชื่อรางวัลหรือตัวชี้วัดสำคัญของหน่วยงายราชการและภาคธุรกิจมาแล้วมากมาย
    .
    แต่หลายครอาจจะมองข้ามขั้นตอนพื้นฐานที่สุดอย่างการทำความเข้าใจนิยามความหมายของมันก่อนเพื่อให้เข้าใจความหมายที่ตรงกันของการนิยามหรือคำดังกล่าว และเราเองในฐานะของนักเรียนรัฐศาสตร์ก็ไม่เคยลองค้นนิยามของมันอย่างจริงจังสักครั้ง เลยลองเอาคำดังกล่าวไปหาความหมายใน Google เพราะหวังว่าจะเจอการให้ความหมายที่คลอบคลุมชัดเจนและเป็นนิยามกลาง ๆ ของคำดังกล่าว แต่แปลกที่เราหาความหมายกลางของคำดังกล่าวแบบชี้ชัดไม่พบ และที่แปลกไปกว่านั้นคือนิยามคำในวิกิพีเดียก็ไม่ปรากฏความหมายที่ชัดเจนของคำดังกล่าวด้วย เมื่อเป็นเช่นนั้นเราเลยจะขอลองยกเอาข้อความของวิกิพีเดียมาให้ลองได้อ่านกันดู (เราเองอ่านแล้วก็ไม่ค่อยซื้อเท่าไหร่ แต่ที่เลือกหยิบความในวิกิฯ มาเพราะหลายคนที่ค้นข้อมูลแบบด่วน ๆ ก็ชอบหยิบเอาวิกิฯ มาเป็นจุดอ้างอิง / แต่เนื้อหาในวิกิฯ ภาษาอังกฤษกลับมีความน่าสนใจกว่าในภาษาไทยหลายเท่าตัว)
    .
    วิกิฯ ไทย  (https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5)
    .
    "ธรรมาภิบาล หรือในกฎหมายใช้ว่า การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานว่า วิธีการปกครองที่ดี (good governance) เป็นคำซึ่งความหมายนั้นยังไม่แน่ไม่นอน ปรากฏใช้ในวรรณกรรมทางการพัฒนาระหว่างประเทศเพื่อพรรณนาวิธีการที่สำนักราชการบ้านเมืองจะดำเนินกิจการบ้านเมืองและบริหารทรัพยากรบ้านเมืองไปในทางที่รับประกันว่าสิทธิมนุษยชนจะบังเกิดผลจริงได้เช่นไร 
    .
    คำว่า "อภิบาล" ใน "ธรรมาภิบาล" นั้น หมายถึง "กระบวนการทำคำวินิจฉัย และกระบวนการเพื่อบังคับใช้ (หรืองดเว้นจากการบังคับใช้) ซึ่งคำวินิจฉัยนั้น" และยังใช้แก่องค์กรใดก็ได้ ไม่ว่า บริษัทห้างร้าน หน่วยงานการปกครองระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ หรือระดับระหว่างประเทศ ตลอดจนถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม
    .
    แนวความคิดเรื่อง "ธรรมาภิบาล" นั้นมักปรากฏว่าใช้เป็นแบบแผนเปรียบเทียบหน่วยงานทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ก้าวหน้ากับที่ไร้ประสิทธิภาพ 
    .
    แต่ที่ความหมายของคำ "ธรรมาภิบาล" ยังสรุปมิได้นั้น ก็เนื่องจากในโลกร่วมสมัยนี้ รัฐประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม โดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกา มีการปกครองที่ "ประสบผลสำเร็จ" เป็นอันมาก สถาบันต่าง ๆ ในรัฐเหล่านี้จึงมักกำหนดมาตรฐานไว้เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของตนกับของสถาบันในรัฐรูปแบบอื่น ๆ ต่าง ๆ กันไป นอกจากนี้ ยังเป็นเพราะว่า คำ "ธรรมาภิบาล" นั้นจะมุ่งหมายถึงบุคคลใดในการปกครองก็ได้ องค์การด้านความช่วยเหลือกับทั้งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองในประเทศที่เจริญแล้วจึงมักนิยามคำนั้นต่าง ๆ กันไปแล้วแต่บริบท เพื่อวางข้อกำหนดและข้อเรียกร้องต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับระเบียบวาระและอุดมการณ์ของตน"
    .
    วิกิฯ (https://en.m.wikipedia.org/wiki/Good_governance)
    .
    Good governance is the process of measuring how public institution conduct public affairs and manage public resources and guarantee the realization of human rights in a manner essentially free of abuse and corruption and with due regard for the rule of law. Governance is "the process of decision-making and the process by which decisions are implemented (or not implemented)". Governance in this context can apply to corporate, international, national, or local governance as well as the interactions between other sectors of society
    .
    The concept of "good governance" thus emerges as a model to compare ineffective economies or political bodies with viable economies and political bodies. The concept centers on the responsibility of governments and governing bodies to meet the needs of the masses as opposed to select groups in society. Because countries often described as "most successful" are liberal democratic states, concentrated in Europe and the Americas, good governance standards often measure other state institutions against these states. Aid organizations and the authorities of developed countries often will focus the meaning of "good governance" to a set of requirements that conform to the organization's agenda, making "good governance" imply many different things in many different contexts. The opposite of good governance, as a concept, is bad governance.
    .
    และพอลองไปค้นความหมายของคำดังกล่าวในภาษาไทยในที่ต่าง ๆ เราก็ยังไม่พบความที่นิยามคำนี้ได้อย่างชัดเจน แต่ในนิยามเหล่านั้นเราพบจุดร่วมกันหลาย ๆ อย่างที่ถ้าทอนมันลงมาก็คงจะได้จุดร่วมภายใต้คำว่า "วิธีการปกครองที่ดี" แบบที่ราชบัณฑิตแปลความของคำว่า Good Governance ออกมาเป็นภาษาไทย
    หนังสือ : ถอดรหัสธรรมาภิบาลท้องถิ่น
    โดย : อรพินท์ สพโชคชัย
    จำนวน : 184 หน้า
    .
    "ถอดรหัสธรรมาภิบาลท้องถิ่น" หนังสือเล่มเล็ก ๆ ที่เราอยากนิยามว่าเป็น "คู่มือ" ที่ว่าด้วยเรื่องของระบบธรรมาภิบาลท้องถิ่น ที่ตัวของหนังสือได้สังเคราะห์เอาแกนหลักของสิ่งที่เรียกว่า "ธรรมาภิบาล" ออกมากางให้ผู้อ่านได้เห็นว่าแกนหลักของหลักการดังกล่าวควรจะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และการพาองค์กรให้เดินไปถึงเป้าหมายของการเป็นองค์กรธรรมาภิบาล โดยเฉพาะในกรณีของ "ถอดรหัสธรรมาภิบาลท้องถิ่น" ที่มุ่งเน้นไปที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ทำอย่างไรถึงจะนำพาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปสู่ฐานะของ "องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" ที่มีธรรมาภิบาลได้ และด้วยลักษณะของหนังสือที่ทอนประเด็นสำคัญต่าง ๆ ให้เหมาะกับผู้ใช้หรือผู้ปฏิบัติ มันช่วยให้หนังสือเล่มนี้เหมาะต่อการเป็นคู่มือประจำองค์กร (ปกครองส่วนท้องถิ่น) ต่าง ๆ ที่มุ่งหวังจะนำพาองค์กรไปสู่การเป็น "องค์กรที่มีธรรมาภิบาล"
    .
    โดยเนื้อหาของ "ถอดรหัสธรรมาภิบาลท้องถิ่น" ถูกแบ่งเป็นบทต่าง ๆ โดยการยึดการเล่าเรื่องจากแกนหลักของสิ่งที่หนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้คือแกนองค์ประกอบของสิ่งที่เรียกว่า "ธรรมาภิบาล" โดยเนื้อหาในแต่ละบทแบ่งออกเป็นดังนี้
    .
    บทที่ 1 บทนำ 
    .
    บทที่ 2 การบูรณาการหลักการธรรมาภิบาลสู่การบริหารภาครัฐ
    .
    บทที่ 3 หลักคุณธรรม 
    .
    บทที่ 4 หลักนิติธรรม 
    .
    บทที่ 5 หลักความพร้อมรับผิดชอบ
    .
    บทที่ 6 หลักความคุ้มค่า
    .
    บทที่ 7 หลักความโปร่งใส
    .
    บทที่ 8 หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
    .
    บทที่ 9 บทส่งท้าย มุ่งสู่ อปท. ธรรมาภิบาล
    .
    หลังจากอ่าน "ถอดรหัสธรรมาภิบาลท้องถิ่น" จบลง มันชวนให้เราคิดว่าหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหยิบเอาแนวทางของหนังสือเล่มนี้ไปดำเนินการในลักษณะของการเป็นคู่มือ น่าสนใจว่าความมุ่งหวังที่ถูกวางเอาไว้ในบทที่ 9 ของหนังสืออย่าง "มุ่งสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นธรรมาภิบาล" จะสามารถเดินไปถึงดวงดาวบนเส้นทางดังกล่าวได้หรือไม่และอย่างไร (?)

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in