Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในเชิงเปรียบเทียบ
รีวิวเว้ย (938)
รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เรื่องของ "สิทธิมนุษยชน" จะเรียกว่ามันเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทยก็ดูจะแปลกไปสักหน่อย เพราะเอาเข้าจริงแล้วประเทศไทยก็เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายขององค์การระหว่างประเทศที่ว่าด้วยเรื่องของสิทธิมนุษยชนอยู่หลายแห่ง มาเนิ่นนานหลายปี รวมถึงการให้สัตยาบันรับรองการเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายขององค์การระหว่างประเทศเหล่านั้น (แต่ปฏิบัติตามไหมก็ต้องดูกันเป็นกรณี ๆ ไป) นั่นจึงอนุมานได้ว่าประเด็นเรื่องของสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่น่าแปลกใจที่ประเทศนี้เพิ่งมีองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่าง "คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ" เมื่อไม่นานมานี้ (รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540) ซึ่งถ้าเทียบดูแล้วระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมาของการก่อตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตลอดเวลาที่ผ่านมายังมีคำถามต่อการทำหน้าที่ขององค์กรดังกล่าวเสมอมา โดยเฉพาะในช่วงเวลาของการรัฐประหาร (พ.ศ. 2557) และสืบเนื่องมากระทั่งปัจจุบัน คำถามสำคัญเปลี่ยนแปลงไปจาก "ประเทศไทยมีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนหรือเปล่า (?)" ไปสู่คำถามที่หลายคนถามถึงว่า "ประเทศไทยมีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนไปเพื่ออะไร (?)" คำตอบของคำถามคงเป็นเรื่องยาก แต่ก็ใช่ว่าจะตอบไม่ได้เสียเมื่อไหร่ เมื่อเป็นเช่นนั้นการหาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นคู่เทียบอาจจะช่วยให้เราเห็นคำตอบของคำถามก็เป็นได้ (มั้งนะ)
หนังสือ : คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในเชิงเปรียบเทียบ
โดย : ชญาพัฒน์ อัมพะวัต, พชรพล บุญศรีโรจน์, ฟ้าฤดี ทรงลักษณ์
จำนวน : 182 หน้า
หนังสือ "
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในเชิงเปรียบเทียบ
" จัดอยู่ในชุด "เอกสารชุดความรู้ว่าด้วยสถาบันการเมือง" ที่ถูกผลิตขึ้นโดย
สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย
"
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในเชิงเปรียบเทียบ
"
นับเป็นเอกสาร
ลำดับที่ 5 ของชุดเอกสารดังกล่าว
"
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในเชิงเปรียบเทียบ
" ทำการศึกษาเรื่องของ "คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน" ในต่างประเทศและรวมถึงประเทศไทยผ่านเค้าโครงของการศึกษาที่ผู้อ่านสามารถพบเจอได้ในกรณีศึกษาของทุกประเทศ โดยที่
แต่ละบทของหนังสือแบ่งรูปแบบของการเขียนเป็น 10 หัวข้อย่อย ประกอบไปด้วย บทนำ, ความเป็นมาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ง..., รัฐธรรมนูญและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน, อำนาจหน้าที่, ความเป็นอิสระ, การเข้าถึงข้อมูลของสาธารณะชน, พันธกิจ, ความรับผิดชอบ, ความร่วมมือ, บทสรุป ซึ่งการวางโครงของการศึกษาในลักษณะนี้จะช่วยให้ผูอ่านได้เห็นถึงความเหมือนและความแตกต่างในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของประเทศต่าง ๆ โดยเนื้อหาใน
"
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในเชิงเปรียบเทียบ
" แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังนี้
บทที่ 1 ประเทศไทย: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศไทย
บทที่ 2 สาธารณะรัฐซิมบับเว: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนซิมบับเว
บทที่ 3 ประเทศแคนนาดา: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศแคนนาดา
บทที่ 4 บทสรุปเปรียบเทียบและบทเรียนจากกรณีศึกษาในต่างประเทศ
เมื่ออ่าน
"
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในเชิงเปรียบเทียบ
" และลองย้อนกลับไปดูคำถามที่ได้เกริ่นถึงก่อนหน้านี้ ในท้ายที่สุดแล้วคำถามต่อการทำหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยดังที่ผ่าน ๆ มาก็ยังคงอยู่ แต่หนังสือเล่มนี้ก็ช่วยให้เห็นภาพของการทำงานและคู่เทียบที่เขามีระเบียบ แนวทางการดำเนินงาน และกลไกทางด้านสิทธิมนุษยชนที่น่าสนใจและคิดว่าถ้าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของไทยลองเอามาปรับใช้ก็น่าจะดี
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in