Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
สังคมศาสตร์การศึกษา By ศิวรักษ์ ศิวารมย์
รีวิวเว้ย (928) เด็กที่เรียนสายสังคมศาสตร์ หรือคนที่เรียนจบมาทางสังคมศาสตร์ หลายครั้งเรามักจะเจอกับคำถามชวยปวดขมับและยากต่อการหาคำตอบว่า สังคมศาสตร์คืออะไร (?) สังคมศาสตร์เรียนอะไร (?) และเรียนสังคมศาสตร์จบไปแล้วได้อะไร (?) และเมื่อผู้ถามลงในรายละเอียดของแต่ละแขนงของวิชาสังคมศาสตร์ ก็จะยิ่งเจอกับคำถามชวนปวดหัวขึ้นไปอีก เช่น กรณีของเราที่เรียนจบ "รัฐศาสตร์" ก็มักเจอคำถามว่ารัฐศาสตร์ต่างกับนิติศาสตร์อย่างไร (?) หลายคนยังเข้าใจว่าคนเรียนจบรัฐศาสตร์สามารถไปเป็นทนายและผู้พิพากษาได้ นอกจากนั้นทัศนะและความรับรู้ที่สังคมไทยมีต่อ "สังคมศาสตร์" ยิ่งแล้วใหญ่ในยุครัฐบาล คสช. ที่วัน ๆ เหล่าผู้ทำการรัฐประหารเอาแต่ถามถึง "ความสำคัญของสังคมศาสตร์" ในลักษณะเดียวกับคำถามข้างบนว่า เรียนไปทำไม, เรียนเพื่ออะไร, เราจะเข้าใจปรัชญา ความคิด จิตใต้สำนึก และอื่น ๆ ที่ดูจับต้องไม่ได้อย่างสังคมศาสตร์ไปทำไม เอาเข้าจริงให้คนที่เรียนจบสายสังคมศาสตร์อย่างเราให้มา "นิยาม" ว่าเรียนสังคมศาสตร์เพื่ออะไร และสังคมศาสตร์คืออะไร มันยากมากนะที่จะนิยามสังคมศาสตร์และความสำคัญของมันให้เป็นรูปธรรม ถ้าให้เราลองนิยาม สังคมศาสตร์และการเข้าใจศาสตร์ของสังคม อย่างน้อยก็อาจจะช่วยให้เรา "ไม่โตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่แบบประยุทธ์และพรรคพวกของเขา"
หนังสือ : สังคมศาสตร์การศึกษา
โดย : ศิวรักษ์ ศิวารมย์
จำนวน : 168 หน้า
ราคา : 300 บาท
ความของหนึ่งของหนังสือ "
สังคมศาสตร์การศึกษา
" เขียนถึง "ศาสตร์การศึกษา" เอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ โดยมีใจความดังนี้
"ศาสตร์การศึกษา เป็นสังคมศาสตร์อย่างหนึ่งและเป็นศาสตร์ที่ถูกท้าทาย ด้วยวิธีคิดทางสังคมศาสตร์จากสำนักต่าง ๆ มากมาย นอกจากนั้นศาสตร์การศึกษายังเป็นพื้นที่ และเวทีที่ศาสตร์ทางสังคมศาสตร์ เข้ามาใช้และแสดงกิจกรรมของศาสตร์มากมาย เราจะได้ยินคำว่า จิตวิทยาการศึกษา สังคมศาสตร์การศึกษา สังคมวิทยาการศึกษา เป็นต้น ศาสตร์ศึกษาศาสตร์จึงเป็นระเบียบวิธีคิดที่มีพื้นที่และเวทีที่เกี่ยวกับการศึกษาของสังคม มีผู้คนมากมาย มีรัฐ มีกลไกรัฐเข้ามาปฏิสัมพันธ์และปฏิบัติการ ในขณะเดียวกันศาสตร์การศึกษา ก็ไม่สามารถจะแยกตัวเองออกจากเวทีทางสังคมความรู้อื่นได้ ดังนั้นการดึงศาสตร์อื่น ๆ ทางสังคมศาสตร์มาช่วยในการวิเคราะห์ประเด็น ที่เกิดขึ้นในเวทีที่กล่าวมาจะทำให้การหาทางออกของสังคมชัดเจนขึ้นและรอบด้านมากขึ้น" (น. 15 บทที่ 2)
และข้อความอีกตอนหนึ่งที่เราคิดว่าให้ภาพความสำคัญของศาสตร์การศึกษาคือ "การเมืองหรือความคืดทางการเมืองในยุคสมัยนั้น ๆ หรือกระแสหลักทางการเมืองจะไม่บรรลุผลสำเร็จเลย ถ้าการศึกษาไม่ทำหน้าที่บูรณาการความคิดทางการเมืองเข้าไปในเนื้อหาการเรียนการสอนหรือหลักสูตร การศึกษาจึงหลอมละลายปัจจุบันและอนาคตเข้าไว้ด้วยกัน" (น. 21) ซึ่งข้อความทั้ง 2 ส่วนที่เราเลืกหยิบมาเขียนเอาไว้ คือ การบอกเล่าเกี่ยวกับหนังสือ
"
สังคมศาสตร์การศึกษา
" ได้อย่างดี เพราะหนังสือเล่มนี้กำลังเล่าเรื่องของ "สังคมศาสตร์ที่ถูกโยงอยู่กับศาสตร์การศึกษา" โดยผู้เขียนเลือกใช้คำว่า "
ศาสตร์ของสังคม (Social Sciences)" หรือที่หลายคนมักจะได้ยิ่งบ่อย ๆ ว่าสังคมศาสาตร์
สำหรับ
"
สังคมศาสตร์การศึกษา
" คือการเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ของศาสตร์การศึกษา ว่าตัวของมันเองก็เป็ยการศึกษาในทางสังคมศาสตร์รูปแบบหนึ่งและตัวมันเองยังจำเป็นต้องเชื่อมร้อยเข้ากับศาสตร์อื่น ๆ (อาจจะไม่ได้จำกัดอยู่แค่ศาสตร์ทางสังคม) เพื่อให้ตัวของศาสตร์การศึกษา สามารถแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งการบูรณาการณ์ข้ามศาสตร์จะช่วยเติมเต็มส่วนที่ขาดหายของศาสตร์อื่น ๆ ในโลกที่การพัฒนาและความเปลี่ยนแปลวเกิดขึ้นตลอดเวลาอย่างรวดเร็ว (โคตร ๆ)
เนื้อหาภายในเล่ม
"
สังคมศาสตร์การศึกษา
" จะว่าด้วยเรื่องของทฤษฎี และกรอบความคิดสำคัญ ๆ ในเรื่องของศาสตร์การศึกษา และสังคมศาสตร์สาขาอื่นที่เข้ามาเกี่ยวกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาของศาสตร์การศึกษาอย่างทีทปรากฏอยู่ในทุกวันนี้ โดยเนื้อหาในบทต่าง ๆ แบ่งออกเป็นดังนี้
บทที่ 1 สังคมในศาสตร์ ศาสตร์ของสังคม
บทที่ 2 สาระการศึกษา การศึกษาของสาระ
บทที่ 3 ทฤษฎีการศึกษาเชิงวิพากษ์
บทที่ 4 อำนาจ ความรู้ การศึกษา
บทที่ 5 สาร กาละ เทศะ การศึกษา
บทที่ 6 จิตวิทยา ตัวตน การศึกษา
แน่นอนว่าการอ่าน
"
สังคมศาสตร์การศึกษา
" อาจจะไม่ใช่เรื่องที่สนุกเท่าไหร่นัก เพราะเนื้อหาประกอบไปด้วย แนวคิด ทฤษฎี กรอบคิด ตัวแสดงของนักคิด-นักทฤษฏี และพลวัตของการเปลี่ยนแปลงและปรับใช้กรอบคิดและทฤษฎีกลุ่มต่าง ๆ นั่นอาจจะทำให้การอ่าน
"
สังคมศาสตร์การศึกษา
" ไม่ตรงใจของหลายคยเท่าไหร่นัก แต่บางคนอาจจะชอบวิธีการเล่าเรื่องของหนังสือเล่มนี้ก็ได้ เพราะคนเรามี "รสนิยมหลากหลาย" และไม่ได้ถูกจำกัดกรอบเอาไว้แบบในเรื่องของ "เพศสภาพ" ตามที่คนสูงวัยบางกลุ่มเข้าใจว่า "สิ่งมีชีวิตมีแค่ 2 เพศ ตามธรรมชาติ" คนที่เอ่ยข้อความแบบนี้ได้ นอกจากอ่านงานสังคมศาสตร์อย่างเดียว ควรข้ามไปอ่านงานทางวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ ๆ ด้วย ไม่เช่นนั้นมันทำให้คนพูดดูเป็น ตลก.
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in