Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
วันของนกฮูก By Leonardo Sciascia แปล นันธวรรณ์ ชาญประเสริฐ
รีวิวเว้ย (919) ครั้งหนึ่ง "มาเฟีย" ไม่ถูกยอมรับว่ามีอยู่จริงในประเทศที่เป็นต้นกำเนิดของคำนี้อย่างปนะเทศอิตาลี แต่มันมีอยู่จริงและมีอยู่กระทั่งปัจจุบัน แต่บทบาท รูปแบบ และการทำงานของกลุ่มมาเฟียในอิตาลีอาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างจากช่วงแรก ๆ ของการกำเนิดขึ้นของกลุ้มคนดังกล่าว เพราะเท่าที่รู้ใจช่วงของการระบาดของโควิด-19 ที่ในประเทศอิตาลีมีการระบาดอย่างหนักและมีจำนวนผู้เสียชีวิตพุ่งสูงขึ้นจนน่าแปลกใจ กลุ่มมาเฟียอิตาลีหลาย ๆ กลุ่มได้ออกมาให้ความช่วยเหลือประชาชนในเขตการปกครองของตัวเองทั้งเรื่องของการบริจาคอาหารและช่วยในการประสานงานประหนึ่ง อสม. ของประเทศไทย นับจากปี ค.ศ. 1960 ที่ชัชชาเขียนถึงเรื่องของมาเฟียในอิตาลีกระทั่งปัจจุบัน (2021) บทบาทในบางด้านของมาเฟียอิตาลีดูจะเปลี่ยนแปลงไป และนิยามของ "มาเฟีย" ตามที่ชัชชาได้เขียนถึง เรากลับมองว่ามันย้ายพื้นที่ทำการจากอิตาลีมาเป็นที่ "ประเทศไทย" ประเทศที่บริบทของมาเฟียที่ชัชชาเขียนถึงในงานชิ้นนี้ดูจะปรากฏชัดเจนที่สุดในปี ค.ศ. 2021
หนังสือ : วันของนกฮูก
โดย : Leonardo Sciascia แปล นันธวรรณ์ ชาญประเสริฐ
จำนวน : 210 หน้า
ราคา : 210 บาท
"
วันของนกฮูก" ถูกเขียนขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1960 ว่าด้วยเรื่องราวของ "มาเฟีย" ใน "ซิซิลี" ของประเทศอิตาลี ที่ในช่วงเวลานั้นคำว่า "มาเฟีย" ยังไม่เคยปรากฏอย่างเป็นทางการในประเทศอิตาลีเลย แต่รูปแบบ ขั้นตอน วิธีการ และกลุ่มคนที่ใช้วิธีของมาเฟียมีอยู่เต็มไปหมด และรัฐบาลในช่วงเวลานั้นก็ปิดหู หลับตา และไม่เชื่อว่า "มาเฟียมีอยู่จริง" ทั้งที่รัฐมนตรีบางคน หรือผู้มีอำนาจบางคนอาจจะมีผลประโยชน์ที่แนบชิดกับกลุ่มมาเฟียเหล่านั้น หรือหลายครั้งพวกเขาก็เป็นมาเฟียเสียเอง
ในหนังสือ
"
วันของนกฮูก" ชัชชาได้พูดถึง "มาเฟีย" ในลักษณะของการในนิยามความหมายของมันเอาไว้ในส่วนของ "คำนำ" ในฉบับที่หนังสือเล่มนี้ถูกพิมพ์สำหรับใช้เป็นหนังสืออ่านของนักเรียนมัธยมในปี ค.ศ. 1972 โดยชัชชาให้นิยามมันเอาไว้ว่า
"มาเฟีย คือระบบ ที่ครอบคลุมและขับเคลื่อนผลประโยชน์ทางธุรกิจและอำนาจของคนกลุ่มหนึ่งที่อาจเรียกกว้าง ๆ ได้ว่าชนชั้นกลาง มาเฟียไม่ได้เกิดขึ้นและขยายตัวในความว่างของรัฐ (กล่าวคือเมื่อรัฐไม่มีหรือรัฐอ่อนแอ) แต่อยู่ภายในรัฐ พูดง่าย ๆ ก็คือมาเฟียมิใช่อื่นใดนอกจากชนชั้นกลางที่เป็นปรสิต ชนชั้นกลางที่ไม่ริเริ่มและเอาแต่ตักตวง ความจริงแล้ววันของนกฮูกเป็นเพียงตัวอย่างเช่นของคำนิยามนี้" (น. 201/คำนำฉบับพิมพ์ ค.ศ. 1972)
"
วันของนกฮูก" นับเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนภาพของสังคมอิตาลีในช่วงเวลาดังกล่าวผ่านเรื่องราวกึ่งจริงกึ่งสมมติ ทั้งเรื่องของการมีอยู่ของมาเฟีย การปฏิบัติตัวของรัฐและผู้มีอำนาจ และกลุ่มคนที่คอยตามสืบหาความจริงเกี่ยวกับเรื่องของมาเฟีย โดยเนื้อหาของ
"
วันของนกฮูก" เกี่ยวข้องกับคดีฆาตกรรมที่เกิดขึ้นใน "ซิซิลี" และมีกลุ่มบุคคลที่ถูกเรียกว่ามาเฟีย (ในยุคปัจจุบัน) เข้ามาเกี่ยวข้อง และมีนายตำรวจที่เข้ามารับบทในการทำหน้าที่สืบหาความจริงของคดีฆาตกรรมดังกล่าว ที่กระบวนการทั้งหมดทาบทับอยู่กับช่วงเวลา ค.ศ. 1960 ที่ระบบยุติธรรมก็ยังไม่เป็นระบบเท่าไหร่นัก และเหล่านักการเมือง ผู้มีอำนาจ ก็ใช้มันเป็นเครื่องมือในการสร้าง "ความยุติธรรม" ให้กับพวกของตัวเอง
โดยในตอนท้ายของเรื่อง
"
วันของนกฮูก" เราจะพบว่าบริบทที่ชัชชาเขียนขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1960 พอลองอ่านและลองมองมันดี ๆ มันก็คล้ายประเทศไทยในปี ค.ศ. 2021 อยู่ไม่น้อย ทั้งเรื่องของมาเฟีย นักการเมือง ระบบกระบวนการยุติธรรม และประชาชนหลาย ๆ คนที่ยัง
แซ่ซ้องสรรเสริญและยกย่อง "คนเหี้ย" ว่าเป็น "คนดี" น่าแปลกใจที่เมื่ออ่าน
"
วันของนกฮูก" จบลงมันย้อนให้เรานึกถึงประเทศนี้ได้อย่างเหมาะเจาะพอดี ประเทศที่หลายอย่างจัดอยู่ในขั้นเหี้ยแต่หลายคนดันเชื่อว่าดี
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in