Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
เตภูมิกถา By พระญาลิไท
รีวิวเว้ย (913) หลายวันก่อนเห็นใน FB ของอาจารย์ที่เคารพท่านหนึ่งประมาณว่า
มีคนจากหน่วยงานให้ทุนวิจัยแห่งหนึ่ง พูดกับอาจารย์ท่านนั้นว่า
"อาจารย์มหาลัยควรไปอ่านไตรภูมิพระร่วง ไม่ใช่อ่านแต่ตำราฝรั่ง"
เราที่กำลังนั่งไถ FB อยู่ถึงกับต้องหยุดอ่านและเมื่ออ่านจบถึงขนาดที่ต้องเดินไปหยิบเอา "
เตภูมิกถา (
ไตรภูมิพระร่วง
)" ที่เคยซื้อไว้และใช้เขียนงานเมื่อครั้งนานมาแล้วมาอ่านอีกครั้ง ว่าอะไรถึงทำให้คนจากหน่วยวิจัยถึง "กล้าพูด" คำนั้นกับอาจารย์ เพราะหลายคนก็น่าจะรู้ว่าหลักการและวิธีคิดของ
"
เตภูมิกถา (
ไตรภูมิพระร่วง
)" แฝงอยู่ในแทบทุกมิติของสังคมไทย โดยเฉพาะมิติเรื่องของความคิด ความเชื่อ และสถาปัตยกรรม (สัปปายะสภาสถาน) แต่น่าคิดว่า
"
เตภูมิกถา (
ไตรภูมิพระร่วง
)" มันไปซ่อนอยู่ในวิธีคิดของ "การทำวิจัย" โดยเฉพาะกับคนที่ทำหน้าที่ในการกำหนดทุนวิจัยของวงวิชาการประเทศนี้ได้อย่างไร เพราะหากการวิจัยหรือโจทย์วิจัยเริ่มต้นจากการ "ตั้งธงบนฐานความเชื่อทางศาสนาแล้ว" มันอาจจะเป็นไปได้ยากที่ผู้สร้างงานจะสร้างงานโดยไม่เผลอหยิบเอากรอบของความเชื่อมาให้ในกระบวนการดังกล่าว จนละเลยการพิสูจน์และทบสอบอย่างเป็นกระบวนการขั้นตอน
หนังสือ : เตภูมิกถา
โดย : พระญาลิไท
จำนวน : 312 หน้า
ราคา : 350 บาท
"อันว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมจะเวียนวนไปมา แลเกิดในภูมิ 3 อันนี้แลฯ อันใดชื่อภูมิ 3 อันนี้เล่า อนึ่งชื่อว่ากามภูมิ อนึ่งชื่อว่ารูปภูมิ อนึ่งชื่อว่าอรูปภูมิ" (เตภูมิกถา, น.7) ข้อความในบทเปิดของหนังสือ "เตภูมิกถา" หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อของ "ไตรภูมิพระร่วง" หรือที่หลายคนชอบเรียกย่อ ๆ ว่า "ไตรภูมิ" แน่นอนว่าหนังสือ
"เตภูมิกถา" คือการพูดถึงเรื่องราวของ 3 ภูมิ อันได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิและอรูปภูมิ ดังข้อความที่ยกมาตามบทเปิด ซึ่งในแต่บะภูมิก็จะมีการแบ่งเป็นส่วนย่อย ๆ อาทิ แดน เขต ชั้น ชนิด ที่จะอธิบายถึงแต่ละภูมิในรายละเอียดเอาไว้อีก รวมถึง
"เตภูมิกถา" ยังอธิบายคติเรื่องของจักรวาลในแบบของไตรภูมิเอาไว้อย่างน่าสนใจทั้งเรื่องของการโคจรของพระอาทิตย์ พระจันทร์ ศูนย์กลางของจักรวาล มหานทีสีทันดร เขา
เขาสัตตบริภัณฑ์บรรพต
และอื่น ๆ ที่ถูกเขียนและเล่าถึงในฐานะองค์ประกอบของไตรภูมิ
แต่เมื่อลองพิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ ที่ถูกเขียนขึ้นให้ดี ๆ เราจะพบว่า
"เตภูมิกถา" เขียนขึ้นเพื่อในฐานะของคู่มือในการ "สั่งสอน" ให้คนได้ละชั่วกลัวบาปและเข้าใจไปว่า "ทำบสปจะตกนรก ทำบุญจะขึ้นสวรรค์" ซึ่งเป็นเป้าประสงค์สำคัญของวิธีคิดแบบพุทธศาสนา ที่ยิ่งไปกว่านั้นแนวคิดดังกล่าวกลายมาเป็นเบื้องหลังของการขับเคลื่อนสังคมไทยมาเป็นเวลาช้านาน ทั้งเรื่องของคติความเชื่อแบบไตรภูมิอย่างเรื่องของ ความดี (คนดี), ความเลว (คนเลว), และการสั่งส่อนให้ทำตนในฐานะของ "คนดี" เพื่อจะได้เดินทางไปสู่นิพาน โดยเฉพาะในตอนที่กล่าวถึงใน "มนุสสภูมิ" ที่เป็นตอนสุดท้ายของ
"เตภูมิกถา" ที่มุ่งเน้นเรื่องของการปฏิบัติตนเพื่อบรรลุนิพพาน และด้วยคติวิธีคิดแบบนี้ได้กลายมาเป็นรากวิธีคิดสำคัญในหลาย ๆ เรื่องของสังคใไทยที่ปรากฏชัดอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งแน่นอนว่ามันย่อมเป็นมรดกมาจากยุคอดีตด้วยเช่นกัน
กลับมาที่เรื่องของข้อความที่ยกมาในตอนต้นว่า "
อาจารย์มหาลัยควรไปอ่านไตรภูมิพระร่วง ไม่ใช่อ่านแต่ตำราฝรั่ง
" คำถามคืออ่าน
"เตภูมิกถา" แล้วเราจะเข้าใจอะไรที่มากไปกว่าตำราของต่างชาติที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในประเด็นนั้น ๆ อาทิ เรื่องของ "แผ่นดินไหว" หากเราไม่ทำความเข้าใจมันผ่านตำราของนักวิชาการต่างชาติ และมุ่งหาคำตอบของมันอย่างเอาเป็นเอาตายจาก
"เตภูมิกถา" คำตอบที่ได้อาจจะไม่ใช่เรื่องของ "ปรากฏการณ์ธรรมชาติ" หากแต่เป็นเรื่องของ "ผลกรรมที่ทำมา" และเมื่อเราวางหมุดของมันว่าเป็นเรื่องของ "ผลกรรม" วิธีการแก้ปัญหาอย่างการออกแบบอาคารที่สามารถต้านทางแรงแผ่นดินไหว หรือการออกแบบมาตรการทั้งเชิงโครงสร้างและไม่ใช่เชิงโครงสร้างในการรับมือการเกิดแผ่นดินไหว อย่างมาตรการเชิงกฎหมาย มาตรการเชิงภาษี มาตรการเชิงสังคมและการเรียนรู้คงไม่เกิดขึ้น
เพราะถ้าเราเชื่อตาม
"เตภูมิกถา" และเชื่อว่ามันเป็นเรื่องของ "ผลกรรม" เราจะรับมือมันด้วยวิธีการ สวดมนต์ ทำบุญ อุทิศภาวนา และอื่น ๆ คล้ายกับที่นายกรัฐมนตรีของไทยพยายามทำอยู่ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ถึงว่าทำไมนายกฯ หาวิธีแก้ปัญหาได้แบบนี้ ทั้งสวดมนต์ไล่โควิด-19, สวดมนต์ไล่น้ำ, สวดมนต์ไล่พายุ ซึ่งพิธีเหล่านี้เคยมีอยู่จริงในช่วงอยุธยาต่อต้นรัตนโกสินทร์ด้วยวิธีการสวด "
บทสวดรัตนสูตร (คาถาปัดเป่าโรคระบาด)"
ซึ่งเมื่อลองอ่าน
"เตภูมิกถา" ทำให้เราเข้าใจมสกขึ้นจริง ๆ ไม่ใช่เข้าใจโลกแต่เข้าใจ "นายกฯ (ปยอ.)"
อาจจะเพราะหนังสือที่นายกฯ อ่านคงเป็น
"เตภูมิกถา" มากกว่าวิชาความรู้อื่น ๆ นี่แหละเลยหาวิธีแก้ปัญหาแบบตามกรรมกำเนิด กรรมเวรของประเทศจริง ๆ
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
20
20 บาท
50
50 บาท
100
100 บาท
300
300 บาท
500
500 บาท
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in