เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
การเงินพรรคการเมืองไทย By อรรถสิทธิ์ พานแก้ว, ณัชชาภัทร อมรกุล
  • รีวิวเว้ย (908) รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    หลายคนน่าจะเคยได้ยินเรื่องของ "การยุบพรรคการเมือง" โดยคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่มูลเหตุแห่งการยุบพรรคการเมืองเหล่านั้นหลาย ๆ คนอาจจะเข้าใจว่ามูลเหตุหลังมาจากเรื่องของ "การเมือง" เพราะการยุบพรรคการเมืองที่เป็นกระแสของสังคมโดยส่วนใหญ่จะเป็นคดีที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของการเมือง การครอบงำทางการเมือง และเหตุผลทางการเมืองอื่น ๆ อีกมากมาย แต่เมื่อหลายปีก่อนเราเคยฟังการนำเสนองานวิจัยของ ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ที่ได้รับทุนวิจัยจาก "ศาลรัฐธรรมนูญ" ให้ศึกษาประเด็นในเรื่องของการยุบพรรคการเมือง ในรายละเอียดของงานวิจัยชิ้นนั้นเราเองก็จำได้ไม่แน่ชัดนัก แต่สิ่งหนึ่งที่จำได้ขึ้นใจมาถึงทุกวันนี้คือจำนวนพรรคการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบมีอยู่เยอะมากกว่าที่เรารับรู้ผ่านสื่อมาก และมูลเหตุของการยุบพรรคการเมืองเหล่านั้นหลัก ๆ มาจากเรื่องของ "การทำบัญชีการเงินของพรรคการเมือง" ถ้าจำตัวเลขจำนวนพรรคที่ถูกยุบด้วยมูลเหคุนี้น่าจะมีมากกว่า 100 พรรคการเมืองที่ต้องเผชิญเรื่องดังกล่าว เช่นนั้นเรื่องของ "การเงินพรรคการเมือง" จึงเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าที่เราคิด ไม่เฉพาะแต่กรณีที่เกิดกับพรรคอนาคตใหม่เท่านั้น หากแต่ประเด็นนี้มีความสำคัญของสถาบันทางการเมืองอย่าง "พรรคการเมือง" เป็นอย่างมากเพราะมันเกี่ยวข้องกับเรื่องของ "ความโปร่งใส" ของแต่ละพรรคการเมือง
    หนังสือ : การเงินพรรคการเมืองไทย: ข้อมูลการสำรวจและข้อเสนอแนะ
    โดย : อรรถสิทธิ์ พานแก้ว, ณัชชาภัทร อมรกุล
    จำนวน : 211 หน้า
    ราคา : 215 บาท

    อย่างที่เกริ่นไว้ก่อนหน้าว่าสำหรับเราแล้วเรื่องของ "การเงินพรรคการเมือง" เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งในการเมืองไทย แต่น้อยคนที่จะพูดถึงเรื่องนี้ มีงานศึกษาวิจัยน้อยชิ้นที่จะหยิบยกเอาประเด็นเหล่านี้ขึ้นมาศึกษา และมีหนังสือน้อยเล่มที่ทำเรื่องนี้ให้ปรากฏชัด แต่เมื่อไม่นานมานี้เราได้หนังสือเรื่อง "การเงินพรรคการเมืองไทย: ข้อมูลการสำรวจและข้อเสนอแนะ" ที่ทำการศึกษาเรื่องของการเงินของพรรคการเมืองทั้งในมิติหน้าม่านและหลังม่าน ให้กับผู้อ่านได้เห็นและได้เข้าใจถึงความสำคัญและความจำเป็นต่อการเรียนรู้และศึกษาในเรื่องของ "การเงินของพรรคการเมือง"

    นอกจากการฉายให้เห็นมิติหน้าม่านและหลังม่านของการเงินพรรคการเมืองแล้ว "การเงินพรรคการเมืองไทย: ข้อมูลการสำรวจและข้อเสนอแนะ" ยังทำการเปรียบเทียบเรื่องของ "การเงินพรรคการเมืองในต่างประเทศ (แคนนาดา, กรีซ, คู่มือฯ ขององค์การระหว่างประเทศ)"  และนำมาสร้างเป็นบทสทนาในรูปของข้อเสนอและบทเรียนจากต่างประเทศเพื่อเปรียบเทียบกับไทย ก็เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นมิติในเรื่องของการเงินำรรคการเมืองที่รอบด้านและกว้างขวางมากขึ้น โดยเนื้อหาใน "การเงินพรรคการเมืองไทย: ข้อมูลการสำรวจและข้อเสนอแนะ" มีดังนี้

    บทที่ 1 บทนำ

    บทที่ 2 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

    บทที่ 3 คู่มือการกำกับดูแลพรรคการเมืองของต่างประเทศ

    บทที่ 4 ข้อมูลจากผู้มีส่วนได้เสีย

    บทที่ 5 การสนับสนุนความเข้มแข็งของการเงินพรรคการเมือง

    บทที่ 6 บทสรุปและข้อเสนอแนะ

    เมื่ออ่าน "การเงินพรรคการเมืองไทย: ข้อมูลการสำรวจและข้อเสนอแนะ" จบลง มันทำให้ความเข้าใจในเรื่องของการเงินพรรคการเมืองของเรามีมากขึ้น และหนังสือเล่มนี้ยังช่วยตอบคำถามถึงเรื่องของความสำคัญของ "ความโปร่งใส" ในการจัดการการเงินของพรรคการเมืองว่ามันมีคสามจำเป็นและความสำคัญเช่นไร เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของสร้างกลไกให้พรรคการเมืองกลายเป็น "สถาบันทางการเมือง" ที่ลงรากวางฐานได้อย่างมั่นคงในการเมืองไทยและตัดปัญหาความเสี่ยงที่อาจจะถูกยุบพรรคด้วยข้อหาดังกล่าว (แล้วไปเสี่ยงกับข้อหาอื่นแทน)

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in