เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี By ณัฐพล ใจจริง
  • รีวิวเว้ย (906) เวลาคนถามว่าเราเลือกรีวิวหนังสือจากอะไร โดยส่วนใหญ่จะเลือกจากที่สนใจและอ่านเล่มไหนจบก็เขียน กับอีกทางหนึ่งคือการรีวิวตาม "เหตุการณ์" ที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งในรอบปีที่ผ่านมามีหลายเรื่องหลายเหตุการณ์เสียเหลือเกิน และหนึ่งในนั้นเรื่องราวที่สำคัญสำหรับวงการหนังสือและวงวิชาการก็คือเรื่องของหนังสือ "ฟ้าเดียวกัน" โดยเฉพาะงานของ "ญัฐพล ใจจริง" ที่กลายเป็นกระแสอย่างมากในวงวิชาการและวงหนังสือ เพราะมีนักวิชาการบางกลุ่มออกมาตั้งคำถามถึงความถูกต้องของหนังสือเล่มนี้ ว่ามีข้อมูลที่ผิดพลาด บิดเบือน และมีชุดข้อมูลที่ไม่ถูกต้องกระทั่งนำพาไปสู่เหตุการณ์บางปลายอย่างการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายของทายาทบุคคลที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ การเรียกร้องให้หยุดจำหน่ายและทำลายหนังสือเหล่านั้นทิ้ง แน่นอนว่าเมื่อพูดกันในประเด็นวิชากานี้ก็แทบไม่ต่างอะไรกับกระบวนการในการทำให้เป็น "หนังสือต้องห้าม" อีกทั้งการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายก็ไม่ต่างอะไรกับกระบวนการ "ฟ้องปิดปาก" หรือ Strategic Lawsuit Against Public Participation (SLAPP) ที่เป็นที่นิยมใช้กับคดีการเมือง นี่ยังไม่นับรวมถึงเสรีภาพทางวิชาการในประเทศนี้ที่นับวันจะหดแคบและถูกตัดให้สั้นลง เหลือเพียงเสรีภาพของงานวิชาการหรือนักวิชาการที่สร้างงานขึ้นมาเพื่อรับใช้รัฐแต่เพียงเท่านั้น น่าเวทนาที่หน่วยงานวิชาการที่บอกคนอื่นว่าตัวเองมี "เกียรติภูมิกว่า 100 ปี" กลับไม่แย่แสในเรื่องของก่รปกป้องคุ้มครองเสรีภาพทางวิชาการดังกล่าว อีกทั้งยังซ้ำเติมด้วยการตั้งกรรมการสอบสวนทั้งอาจารย์ที่ปรึกษาของงานชิ้นนั้น และนักศึกษาที่เขียนงานชิ้นนั้นขึ้นมา อ่านมาถึงตรงนี้ก็ได้แต่คิดแค่ว่า "เวรแท้ ๆ ไทยแลนด์"

    ปีก่อนเราอ่านหนังสือ "ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี" การเมืองไทยภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา 2491-2500 สยามพากษ์ลำดับที่ 5 จบลงแต่ก็ยังไม่ได้หยิบมันมาเขียนถึง เพราะช่วงนั้นก็เห็นข่าวของการฟ้องร้องใรฐานะของคดีความทางแพ่งต่อหนังสือเล่มนี้ ทำให้คิดว่าจะหยิบมันมาเขียนถึงในช่วงของการพิจารณาคดี ซึ่งวันนี้ (9 พ.ย. 64) ศาลแพ่งมีนัดพิจารณาคดี ตามข้อความในหน้า Facebook ของฟ้าเดียวกันว่า "การต่อสู้ในทางคดีเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ต้องใช้เวลาอีกพอสมควร แต่นอกจากการฟ้องเรียกค่าเสียหาย  50 ล้าน การเก็บทำลายหนังสือและวิทยานิพนธ์  การให้โฆษณาขอโทษต่อโจทก์แล้ว  ...  ยังของให้ศาลคุ้มครองชั่วคราว  คือการระงับการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ และหนังสือทั้ง 2 เล่ม ซึ่งหมายความว่าถ้าพรุ่งนี้ศาลแพ่งให้ความคุ้มครองชั่วคราว

    1.วิทยานิพนธ์ “การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)”

    2. หนังสือ ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ : ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475-2500)

    3. หนังสือ ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี : การเมืองไทยภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา 2491-2500

    จะกลายเป็นหนังสือต้องห้ามไปทันที
    จนกว่าจะมีคำพิพากษาว่า จำเลยทั้ง 6 ไม่ผิดตามที่โจทก์ กล่าวหา" ทำให้เราคิดว่าไหน ๆ ก็ไหน ๆ เลยขอหยิบเอาหนังสือเล่มนี้มาเขียนถึงในวันนี้เสียเลยดีกว่า
    หนังสือ : ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี
    โดย : ณัฐพล ใจจริง
    จำนวน : 416 หน้า
    ราคา : 500 บาท

    "ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี" ชื่อรองคือ การเมืองไทยภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา 2491-2500 จัดเป็นหนังสือในชุด สยามพากษ์โดยอยู่ในลำดับที่ 5 และเป็นหนังสือเล่มสำคัญที่เติมช่องว่างในเรื่องของบทบาทของ "สหรัฐอเมริกาในการเมืองไทย" โดยเนื้อหาของหนังสือได้พูดถึงเรื่องของการเข้ามามีบทบาทของสหรัฐอเมริกาในการเมืองไทย ที่หลายคนเข้าใจว่าการเข้ามาให้ความช่วงเหลือและสนับสนุนนั้นเป็นไปเพื่อการคาดอำนาจกับการแพร่กระจายของแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ที่กำลังเปลี่ยนประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ให้เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ ซึ่งนั่นก็เป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลในการเข้ามา

    แต่ตอนเหนือไปจากนั้นแล้ว "ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี" ยังช่วยให้เราเห็นกระแสของการเมืองกระแสหลักในช่วงเวลานั้น ที่ไม่ค่อยจะปรากฎในบทสนทนาและงานศึกษาที่ว่าด้วยเรื่องของบทบทสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย ก็คือเรื่องของระบอบศักดินาที่เป็นหนึ่งในเสาค้ำยันที่ได้รับผลประโยชน์จากการเข้ามาของสหรัฐอเมริการในช่วงเวลาดังกล่าวด้วยเช่นกัน โดยที่ "ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี" พาเราเข้าไปทำความเข้าใจในบทบาทของ "ขุนศึก" และ "ศักดินา" ที่ได้รับผลประโยชน์อยู่ภายใต้ปีกของพญาอินทรี หลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่ทันคาดคิดว่าเป็นมรดกตกทอดจากการเข้ามามีบทบาทของสหรัฐในช่วงเวลานั้นทั้งการให้ความร่วมมือ การให้ความช่วยเหลือและการสร้างกองทัพให้เข้มแข็ง รวมถึงการเกิดขึ้นและการล่มสลายของประชาธิปไตยไทยที่พังทลายลงจากการรัฐประหาร 2490 และทำให้เส้นทางประชาธิปไตยลุ่ม ๆ ดอน ๆ มานับตั้งแต่นั้น

    อีกทั้งใน "ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี" ยังทำให้เราเห็นภาพของอะไรหลาย ๆ อย่างที่เมื่อเรามองจากมุมของปัจจุบันมันดูไม่สมเหตุสมผล ที่จะดำรงอยู่ได้ แต่ "ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี" ช่วยฉายภาพให้เราเข้าใจในความไม่สมเหตุผลบางประการเหล่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับใครที่สนใจการเมืองไทยและสนใจบทบาทของสหรัฐอเมริกาในการเมืองไทย "ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี" เป็นหนึ่งในหนังสือเล่มสำคัญที่ "จำเป็นต้องอ่าน"

    แต่ในฐานะของคนอ่านหนังสือ เราก็จะรู้กันดีว่าบทบาทและหน้าที่ของหนังสือ มิใช่การสร้างให้ผู้อ่าน "เชื่อ" ในหนังสือที่อ่าน หากแต่หนังสือจะสร้าง "บทสนทนา" ให้กับผู้อ่าน โดยที่หนังสือจะแนะนำและเติมเต็มช่องว่างของจิ๊กซอร์ด้วยหนังสือเล่มต่อ ๆ ไป หรือช่องวางของหนังสือเล่มที่เคยอ่านมาก่อนหน้า เมื่อเป็นเช่นนั้นการชี้ขาดว่า "หนังสือเล่มนี้ดี" หรือ "หนังสือเล่มนี้ล้างสมองคน" คนที่พูดแบบนั้นได้สามารถจัดได้เป็น 2 กลุ่ม คือ (1) คนที่ไม่อ่านหนังสือ และ (2) คนที่ไม่มีสมอง เพราะเชื่อหนังสือที่อ่านเพียงเล่มเดียว อ่านแล้วไม่คิดสร้างบทสนทนาต่อกับหนังสือเล่มอื่น ๆ อ่านแล้วเชื่อแบบไม่ลืมหูลืมตา คนแบบนี้น่าเวทนายิ่งนัก แต่ก็น่าแปลกที่พวกคนไร้สมอง กับมีอยู่เต็มประเทศและเป็นใหญ่เป็นโตเสียด้วย ในฐานะของคนอ่านหนังสือมาบ้างเราอยากจะบอกคน 2 กลุ่มนี้ว่า "หนังสือไม่เคยสอนให้ใครเชื่อ มีแต่สอนให้คิดต่อและไปหาอ่านเพิ่ม" หนังสือชนิดเดียวที่สอนให้เชื่อ เท่าที่เคยเห็นมาทั้งหมดเป็นหนังสือที่เป็น "ผลผลิตของรัฐไทย" ทั้งหมด อาทิ แบบเรียนของกระทรวงศึกษา เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนยิ่ง

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in