เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
สิทธิในการได้รับการบริการสาธารณะจากรัฐฯ By เอกสิทธิ์ วินิจกุล
  • รีวิวเว้ย (902) รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    เวลาที่เราพูดถึงคำว่า "บริการสาธารณะ" หรือ "พื้นที่สาธาณรณะ" หรือใด ๆ ก็ตามที่มีคำว่า "สาธารณะ" อยู่ภายใน เรามักจะไม่สามารถหาคำตอบที่แน่ชัดของมันได้เท่าไหร่ในภาษาไทย เพราะในภาษาไทยคำว่า "สาธารณะ" ยังคงดูมีความคลุมเครือไม่แน่ชัด ดังนั้นเมื่อมีการพูดถึงคำเหล่านี้การกลับมาตั้งหลักเพื่อหาคำตอบถึงนิยามที่แน่ชัดของคำเหล่านั้นก่อนจึงเป็นเรื่องสำคัญ หลายครั้งความไม่ชัดเจนของคำว่า "สาธารณะ" ทำให้การทำกิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำที่มีข้อความดังกล่าวกำกับอยู่ยังคงมีความไม่ชัดเจน และด้วยความไม่ชัดเจนหลายครั้งมันก่อปัญหาให้กับการ "จัดทำบริการสาธารณะ" ในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ว่าบริการเหล่านั้นที่ทำขึ้นมานับเป็นบริการสาธารณะหรือไม่และทำได้หรือเปล่า ถ้าทำแล้วจะผิดกฎหมายหรือไม่ ความคลุมเคลือและไม่ค่อยจะชัดเจนเหล่านี้ทำให้หลายครั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะไม่กล้าที่จะจัดทำบริการสาธารณะใหม่ ๆ เพื่อสนองต่อความต้องการของประชาชน และต่อปัญหาที่มีความซับซ้อนที่จะทวีความยุ่งยากของปัญหามากขึ้นในโลกสมัยใหม่
    หนังสือ : สิทธิในการได้รับการบริการสาธารณะจากรัฐอย่างเสมอภาคกัน: ศึกษากรณีประเทศฝรั่งเศส
    โดย : เอกสิทธิ์ วินิจกุล
    จำนวน : 208 หน้า
    ราคา : 215 บาท

    "สิทธิในการได้รับการบริการสาธารณะจากรัฐอย่างเสมอภาคกัน: ศึกษากรณีประเทศฝรั่งเศส" หนังสือที่พัฒนามาจากงานวิจัย ที่ทำการศึกษาในเรื่องของ สิทธิในการได้รับการบริการสาธารณะจากรัฐอย่างเสมอภาคกัน ที่เป็นสิทธิขึ้นพื้นฐานที่รัฐพึงต้องจัดให้กับประชาชน โดยเฉพาะบริการสาธารณะที่ช่วยให้ชีวิตของประชาชนดีขึ้น และสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับประชาชนในรัฐหนึ่ง ๆ

    "สิทธิในการได้รับการบริการสาธารณะจากรัฐอย่างเสมอภาคกัน: ศึกษากรณีประเทศฝรั่งเศส" บอกเล่าเรื่องราวของการจัดทำบริการสาธารณะและสิทธิในการเข้าถึงโดยที่ยึดเอา "ประเทศฝรั่งเศส" เป็นตัวแบบในการศึกษา อาจจะด้วยฝรั่งเศสเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญในเรื่องของ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของประชาชน เช่นนั้นการจัดทำบริการสาธารณะโดยรัฐอย่างเท่าเทียมจึงเป็นภารกิจสำคัญที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะดังกล่าวเหล่านั้นให้กับประชาชนในรัฐ โดยเนื้อหาภายใน "สิทธิในการได้รับการบริการสาธารณะจากรัฐอย่างเสมอภาคกัน: ศึกษากรณีประเทศฝรั่งเศส" แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังนี้

    บทที่ 1 บทนำ

    บทที่ 2 ข้อความคิดทั่วไปว่าด้วยหลักความเสมอภาคและบริการสาธารณะ

    บทที่ 3 หลักความเสมอภาคในบริการสาธารณะของประเทศฝรั่งเศส

    บทที่ 4 สถานะทางกฎหมายของหลักความเสมอภาคในระบบกฎหมายไทยและปัญหาการปรับใช้หลักความเสมอภาคกับการบริการสาธารณะในประเทศไทย

    บทที่ 5 บทวิเคราะห์และข้อเสนอแนะ

    ความน่าสนใจประการสำคัญหลังจากที่อ่าน "สิทธิในการได้รับการบริการสาธารณะจากรัฐอย่างเสมอภาคกัน: ศึกษากรณีประเทศฝรั่งเศส" จบลง เราจะพบว่าการจัดทำบริการสาธารณะอย่างเท่าเทียมและให้ประชาชนเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคกันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนพึงมี พึงได้ และรัฐต้องจัดให้กับประชาชนเป็นพื้นฐาน แต่พอหันมองกลับมาที่ประเทศไทย เราได้แต่ยืนถอนใจนิ่ง ๆ สักพักเพราะคำว่า "สาธารณะ" ในนิยามของรัฐไทยก็ยังดูไม่แน่นอนเมื่อเป็นเช่นนั้นการจัดทำบริการสาธารณะของหน่วยงานรัฐ อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประชาชนอาจจะโดนหน่วยงานตรวจสอบเล่นงานเอาไว้ เพียงเพราะสิ่งที่ทำไม่ตรงตามนิยามของ "การจัดทำบริการสาธารณะ" ที่ไม่ชัดเจนในประเทศไทย

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in