เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
คันฉ่องส่องพระ By ส. ศิวรักษ์
  • รีวิวเว้ย (895) ตั้งใจว่าวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ จะหยุดเขียนรีวิวหนังสือและเอาเวลามานั่งอ่านเนื้อหาอะไรเพิ่งเติมบ้าง แต่ในคืนวันศุกร์ (29 ตุลาคม 2564) มีข่าวเรื่องของ พส.พว. ที่มีข่าวอย่างต่อเนื่องมาก่อนหน้าในกรณีที่ พส.พว. จะ "ลาสิขา" สละเพศสมณะของภิกษุกลับสู่สถานะของคฤหัสถ์หากเกิดความไม่เป็นธรรมในการตั้งเจ้าอาวาสวัดสร้อยทอง และหากรักษาการเจ้าอาวาสไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของตนเอง ตนเองก็พร้อมที่จะลาสิขาเพื่อเป็นการทวงถามถึงความ "ยุติธรรม" แต่เอาเข้าจริงตลอดช่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของพุทธจักรไทย พระและวงการศาสนาพุทธไทย "เชื่องเชื่อต่อรัฐ" แทบไม่ต่างจากหมาตัวหนึ่งที่ต่อให้ถูกเจ้าของโบยตีโดยไร้เหตุผลก็ยังจะเชื่องเชื่อและรักในเจ้าของต่อไป ซึ่งอาจจะต่างจากหมาตรงที่หมามันอาจจะรักเจ้าของของมัน แต่กับพระและผู้แสวงหาอำนาจเหล่านี้ยอมลงและลดให้ต่อความอยุติธรรมเพียงเพราะแสวงหา "อำนาจ" และ "ความเจริญ" ในสถานะของตน น่าเวทนายิ่งนักที่พระผู้มีความสามารถยิ่งจะต้องลาสิกขาไปอันเนื่องมาจากผลการแทรกแซงของอาณาจักร สำหรับตัวเราแล้วนานเหลือเกินที่จะยกมือไหว้พระสักรูปเพราะหลังจากที่ผ่านการบวชเรียนตามค่านิยมของศาสนาไทย เราก็พบว่า "พระกับกูก็คนเหมือนกัน" ไม่ได้มีวัตรปฏิบัติหรือไม่ได้มีคุณวุฒิความดีใด ๆ ให้นับถือ แต่ในกรณีของ พส.พว. เราพบว่าน่าแปลกที่ พส.พว. ทำให้เรามองพระในมิติที่ไม่คาดคิดมากขึ้น พระที่พยายามทำให้คนเข้าถึงได้โดยไม่ต้องปีนขึ้นไปนั่งเกร็งคอบนธรรมมาส พระที่ย่อย่อยคำสอนของศาสนาให้คนเข้าถึงได้ง่าย ๆ แต่แปลกที่พระแบบนี้ศาสนจักรพุทธไทยไม่อยากเก็บไว้ เพียงเพราะไม่เชื่อง ไม่เชื่อ และไม่ทำตัวเป็น "หมา" ให้ทางฝ่ายอาณาจักรลากจูง ถึงเวลาที่เราต้องกลับมาตั้งคำถามกันอีกสักครั้งว่า "เมื่อไหร่อาณาจักรจะหยุดแซกแทรงศาสนจักรสักที"
    หนังสือ : คันฉ่องส่องพระ
    โดย : ส. ศิวรักษ์
    จำนวน : 350 หน้า
    ราคา : 290 บาท

    "คันฉ่องส่องพระ" หนังสือของ ส. ศิวรักษ์ นักวิชาการ ที่ภาษาวัยรุ่นน่าจะต้องใช้คำว่า "นักวิชาการปากเจ็บ" หรือ "ปัญญาชนปากแซ่บ" ผู้ที่ตั้งคำถาม และตอบคำถามในหลาย ๆ เรื่องของสังคมไทยในมิติที่น้อยคนจะคิดได้ว่า "คำถามแบบนี้มันถามได้หรือวะ" และ "คำตอบแบบนี้มันได้หรือวะ" อีกทั้งหลายครั้งที่อ่านหรือฟังเรื่องเล่าที่ออกจากปากของ ส. ศิวรักษ์ เรามักจะถามตัวเองเสมอ ๆ ว่า "เรื่องมันเป็นแบบนี้ได้ยังไงวะ" เพราะทุกการตั้งคำถาม การตอบคำถามและการบอกเล่าของ ส. ศิวรักษ์ มันคือการเขย่าความเชื่อและคุณค่าบางประการของสังคมให้มันเกิดการฟุ้งกระจาย และให้คนอ่านคนฟังลองมองมันในลายละเอียดตอนที่ฟุ้งกระจายอีกครั้งคล้ายกับตอนที่เราเขย่า snow globe

    กับหนังสือ "คันฉ่องส่องพระ" เล่มนี้ก็ทำหน้าที่แบบ snow globe ที่ถูกเขย่าเพื่อให้เราได้เพ่งมอง และจ้องมองเรื่องราวบางอย่างที่หลายครั้งเราไม่เคยรับรู้ และไม่คิดว่ามันจะมีอยู่จริงด้วยซ้ำไป โดยเฉพาะในเรื่องของวงการสงฆ์ ที่พระหลายรูปทำตัวเองเฉกเช่น กาสะลอง-ซ้องปีบ, เอื้อย-อ้าย, พระเพื่อน-พระแพง หรือบางก็เป็นแบบหลวิชัย-คาวี แต่น้อยนักที่จะเป็นแบบสภาวะ (+,+) ในทางชีวะวิทยาเว้นแต่ว่าจะได้ประโยชน์ร่วมกัน หลายกรณีเราจะพบว่าเป็นสภาวะอิงอาศัยแบบ (+,-) (+,0) (0,0) แต่ส่วนใหญ่จะพบว่า (+,-) น่าจะเป็นหลักของเรื่องเล่าในศาสนจักรแบบพุทธไทย คือ ไม่ใครก็ใครต้องฉิลห่ยกันไปข้าง และโดยส่วนใหญ่ข้างที่เป็น + มักเป็นข้างที่อาณาจักถือหาง และเป็นข้างที่ทำตัวเป็นหมาผู้น่ารักของอาณาจักรที่เชื่องเชื่อตลอดเวลา

    "คันฉ่องส่องพระ" บอกเล่าเรื่องราวของพระหลาย ๆ รูปที่มีทั้งดี (เหี้ยในมุมมองอาณาจักร) และเหี้ย (ดีในมุมมองอาณาจักร) ซึ่งพระเหี้ย ๆ มักจะทำให้พระที่ดีต้องเดือดร้อนลำเค็ญ หรืออาจจะเรียกอีกมุมหนึ่งว่า "คันฉ่องส่องพระ" ช่วยให้เราเห็นกลไกบางอย่างที่ซ่อนตัวอยู่ในศาสนาพุทธแบบไทย แต่นั้นก็ไม่ใช่เรื่องทั้งหมดที่ปรากฏใน "คันฉ่องส่องพระ" เพราะเอาเข้าจริงหนังสือเล่มนี้พยายามนำผู้อ่านไปทำความรู้จักพระแต่ละรูปที่ ส. ศิวรักษ์ หยิบเอาเรื่องราวในมุมมองมาเล่าให้ฟัง ซึ่งเมื่อเป็นปัญญาชนปากเจ็บแล้วการเล่าเรื่องของพระในศาสนาพุทธแบบไทยย่อมไม่ใช่เรื่องธรรมดา และยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าพระหลาย ๆ รูปที่อยู่ภายใต้องค์กรศาสนจักรและเป็นพระที่ดีของอาณาจักร ส่วนมากมักเป็นพระที่ก้าวหน้าในฐานานุศักดิ์แทบทั้งสิ้น

    นอกจากนั้น "ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์" ที่อยู่ในหน้าแรก ๆ ของ "คันฉ่องส่องพระ" ที่อยู่ในหน้าแรก ๆ ของหนังสือเล่มนี้ ก็เหมาะแก่การเอาไปถามพระหลาย ๆ รูปว่า "พวกท่านทำมันได้กี่ข้อ" โดยเฉพาะข้อที่ 1, 4, 6, 8

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in