เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ความลับของทะเล By  เรืองรอง รุ่งรัศมี แปลและรวบรวม
  • รีวิวเว้ย (890) ปฏิเสธไม่ได้ว่าโดยมากแล้ว "ผู้ใหญ่" มักปฏิเสธศักยภาพของ "เด็ก ๆ" เพียงเพราะพวกเขาเป็นเด็ก ทั้งที่เอาเข้าจริงแล้วความสามารถของเด็ก ๆ โดยเฉพาะพลังที่มาจากจินตนาการหลายครั้งมันสร้างสิ่งมหัศจรรย์ขึ้นมากมาย โดยเฉพาะเรื่องเล่าหรืองานเขียนที่เกิดขึ้นโดยการถ่ายทอดเรื่องราวจากความรู้ ความคิด และความทรงจำของเด็ก ๆ หลายหนที่ความเห็นของเด็ก ๆ ถูกจำกัดกรอบจากผู้ใหญ่เพียงเพราะพวกเขาเป็นเด็ก เด็กบางคนสูญเสียความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ไปตลอดชีวิตเพียงเพราะผู้ใหญ่ไม่เข้าใจ ไม่รับฟัง และไม่ให้โอกาส "รัฐไทย" คือ ตัวอย่างที่ชัดเจนมากที่สุดในเรื่องของการ "ทำลาย" ความหวัง ความฝัน และความต้องการของเด็กและเยาวชน ระบบการศึกษาโดยหน่วยงานของรัฐนับเป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนการทำลายเด็ก ๆ ที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากที่สุด ผ่านแบบเรียน ผ่านกิจกรรมในห้องเรียน ผ่านบุคลากรในโรงเรียน (ที่เชื่อมั่นในระบบ) สิ่งเหล่านี้ทำให้รัฐไทยสูญเสียโอกาส และขาดไร้ซึ่งสิ่งที่ในสากลโลกเรียกว่า "เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy)" ต่อให้ประเทศนี้มีหน่วยงานที่เรียกว่า "สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)" ก็ตามที ซึ่งมันเป็นผลที่ต่อเนื่องมาจากการทำลายความคิดสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชนทำลาย ความหวัง ความฝัน และความต้องการของพวกเขา ด้วยระบบที่ระยำต่ำตมของรัฐไทย
    หนังสือ : ความลับของทะเล
    โดย :  เรืองรอง รุ่งรัศมี แปลและรวบรวม
    จำนวน : 72 หน้า
    ราคา : 250 บาท

    "ความลับของทะเล" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องราวของ "บทกวีโดยนักเรียนประถมไห่ป่าว" ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งในประเทศไต้หวัน (เราจะเรียกไต้หวันว่าจะเป็นใครจะทำไม) โดยที่ "ความลับของทะเล" ได้รวบรวมเอาบทกวีของนักเรียนที่เขียนในชั้นเรียน ด้วยเหล่านักประพันธ์ตัวน้อยที่น้อยที่สุดคือชั้นประถม 3 และโตที่สุดคือชั้นประถม 6 โดยการรวบรวมเอากวีขนาดสั้นของเด็กแต่ละคนมานำเสนอ

    น่าแปลกใจที่เมื่อเราอ่าน "ความลับของทะเล" ผ่านไปแต่ละบทแล้วเราอดตั้งคำถามกับตัวเองไม่ได้ว่า "นี่คือผลงานของเด็กประถมจริงหรือ (?)" เพราะหากเราย้อนกลับมาที่หน้าคำนำของหนังสือเล่มนี้มันเคยถูกแปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527 หมายความว่าเด็กประถมที่เขียนกวีเหล่านี้ตอนนี้คงมีอายุไม่น้อยแล้ว แต่ที่น่าแปลกใจยิ่งกว่าคือ ตัวเราเองเกิดปี พ.ศ. 2536 และตอนที่เราเข้าเรียนชั้นประถมในระบบการศึกษาของไทย เราแน่ใจว่าในช่วงเวลานั้นที่เราอยู่ประถม 3-6 เราคงไม่สามารถเขียนกวีได้แบบเด็ก ๆ ของโรงเรียนไห่ป่าว น่าแปลกใจที่ช่วงเวลามันก็ไม่ได้ห่างกันเท่าไหร่นักระหว่างนักเรียนประถมไห่ป่าวกับตัวเราตอนเรียนชันประถม แต่ที่น่าแปลกใจคือระบบการศึกษาของ "รัฐไทย" สร้างตัวเราขึ้นมาแบบไหนกัน สร้างขึ้นมาโดยที่ต้องการให้เป็นเด็กที่ "เชื่อเชื่อง" ต่อรัฐ มากกว่าที่จะสร้างให้เราเป็นเด็กที่คิดได้ ตั้งคำถามเป็น มองโลกอย่างสร้างสรรค์ และมีจินตนาการ สิ่งเหล่านี้รัฐไทยไม่เคยสอน และไม่น่าจะเคยอยากสอน บทกวีแต่ละชิ้นที่ปรากฏอยู่ใน "ความลับของทะเล" ทำให้เราได้เห็น "ความลับ" บางอย่างของไต้หวันว่าเพราะเหตุใดเขาถึงมีความก้าวหน้ามากกว่าประเทศบางประเทศที่มีภูมิลักษณะเป็นรูปขวานที่วัน ๆ เอาแต่สอนให้เด็กมีความภาคภูมิใจในภูมิลักษณะ มากกว่าสอนให้เด็กมี "ภูมิปัญญา" น่าเศร้าแท้ ๆ

    แต่พออ่าน "ความลับของทะเล" จบลง เรากลับรู้สึกมองเห็นความหวังบางอย่างในรัฐไทย โดยเฉพาะในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา เราพบว่าระบบการศึกษาไทยไม่สามารถหลอกหลอนเด็ก ๆ หลายคนได้อีกแล้ว และระบบการศึกษากำลังถูกท้าทายและตั้งคำถามจากเด็ก ๆ เหล่านั้น จนเราเชื่อว่าไม่นานสังคมนี้คงถึงเวลาต้องเปลี่ยนเสียที และเมื่อถึงเวลานั้นเราน่าจะได้อ่านบทกวีของเด็กนักเรียนชั้นประถมในประเทศไทยหลาย ๆ ชิ้น เพราะทุกวันนี้ก็เริ่มมีเด็กหลาย ๆ คนสร้างผลงานในลักษณะที่คล้ายกับเหล่านักเรียนประถมในโรงเรียนไห่ป่าวมากขึ้น และเราเชื่อว่ามันจะมากขึ้นไปอีกในอนาคต

    เรื่องสุดท้ายที่อยากเอ่ยถึงเกี่ยวกับ "ความลับของทะเล" เล่มนี้ นอกจากจะเป็นผลงานที่ผู้แปลและรวบรวมทิ้งเอาไว้ให้กับวงการหนังสือแล้ว ในการจัดพิมพ์ "ความลับของทะเล" ฉบับนี้ เหล่าเหลน ๆ ของผู้แปลและรวบรวม (เรืองรอง) ยังทำหน้าที่ในการตีคยามบทกวีของเด็กประถมจากโรงเรียนไห่ป่าว และวาดพวกมันออกมาเป็นภาพในความรับรู้ของพวกเขาที่มีต่อบทกวีชิ้นต่าง ๆ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in