Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
ภารตะ-สยาม ศาสนาต้อง (ไม่) ห้ามเรื่องการเมือง ? By คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง
รีวิวเว้ย (886) หลายวันมานี้เรื่องของ "ศาสนาพุทธ (ไทย)" ดูจะเป็นที่จับตามองของใครหลาย ๆ คน ทั้งเรื่องของการปลดเจ้าคณะจังหวัด 3 รูปออกจากตำแหน่ง และสำนักพุทธฯ ก็ให้คำตอบว่า "ไม่สามารถเปิดเผยเรื่องของการให้ออกจากตำแหน่งได้" และเราก็ได้เห็นปีากฏการณ์การชุมนุมกันโดยไม่ได้นัดหมาย (เขาว่าอย่างนั้น) ของพระสงฆ์ในภาคอีสานในเขตพื้นที่ที่เจ้าคณะจังหวัดถูกปลด และเหตุการณ์ที่ 2 ก็คือเรื่องของ "พส.สมปอง" KAK "มหาปอง" ที่มีข่าวว่ามีการจ้องจับผิดเพื่อจะจัง พส.สึกออกจากการเป็นพระสงฆ์ในบวรพุทธศาสนา 2 เรื่องนี้มีความเชื่อมโยงกันอยู่ที่ "พุทธองค์กร" หรือองค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกัลพุทธศาสตรและคณะสงฆ์ในประเทศไทย ที่พอดู ๆ ไปแล้วความเป็นพุทธแบบไทย มันช่างคล้ายกับ "ระบบราชการ" มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ สายการบังคับบัญชา ฐานะนุศักดิ์ต่าง ๆ มากมายไม่ต่างจากระบบราชการของประเทศนี้เลยสักนิด อีกทั้งพุทธองค์กรเหล่านี้ก็ดูจะมีอำนาจ (บาตรใหญ่) ใหญ่กว่าบาตรของพระสงฆ์ผู้บวชเรียนเสียอีก คงปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งที่ทำให้ "ศาสนาไทย" ที่เป็นลูกผสมระหว่าง "ผี +
พราหมณ์-ฮินดู + พุทธ = ศาสนา (พุทธ) ไทย" จึงดูเป็นศาสนาที่ไม่ขาดก็เกิน โดยเฉพาะองค์กรหรือระเบียบกำกับศาสนาที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยพุทธองค์กรเหล่านี้ดูจะมีปัญหา และเป็นที่ (บังคับ) ยึดเหนี่ยวของคณะสงฆ์มากกว่าคำสอนของพุทธองค์เสียอีก ขอแถมอีกนิดเรื่องของคนที่นับถือศาสนาพุทธแบบไทย ทำไมคนที่เรียกตัวเองว่า "คนดี" ถึงกล้าเรียกพระสงฆ์ว่า "มึง" หรือเขาคิดว่าเพราะเขาเป็นคนดี ? ดีจริง ๆ หรอ ?
หนังสือ :
ภารตะ-สยาม ศาสนาต้อง (ไม่) ห้ามเรื่องการเมือง ?
โดย : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง
จำนวน : 280 หน้า
ราคา : 280 บาท
"
ภารตะ-สยาม ศาสนาต้อง (ไม่) ห้ามเรื่องการเมือง" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของความเชื่อทางศาสนาที่ไม่ว่าจะเป็น
ผี
พราหมณ์-ฮินดู พุทธ หรือศาสนา (พุทธ) ไทย ที่ถูกจับเอามาตั้งคำถามบนแกนหลักของคำถามอย่างเรื่องของ "ศาสนากับการเมือง" ในฐานะของนักเรียนรัฐศาสตร์เวลาที่มีคนถามว่า "การเมืองคืออะไร" ? เราอาจจะต้องหยุดคิดเพื่อเดาทิศทางความต้องการของคนถามก่อน เพราะในมุมมองของนักเรียนรัฐศาสตร์แล้ว "การเมืองก็คือการเมือง" ถ้าตอบแบบนี้ไปก็กลัวเขาจะหาว่า "กวนตีน" แต่ก็นั้นแหละสำหรับนักเรียนรัฐศาสตร์การเมืองก็คือการเมืองจริง ๆ และการที่เราพยายามจะแยกอะไรบางอย่าง "ออกจากการเมือง" เราจึงมองว่ามันเรื่อง "บุญชิต (
bullshit
)" เพราะเอาเข้าจริงแล้ว "การเมืองอยู่กับเราทุกที่ทุกเวลา" และหากจะแยกสิ่งหนึ่งออกจากการเมืองจึงเป็นเรื่องที่ดูแปลกประหลาดคล้าย ๆ ความพยายามต้อนอูฐให้เดินเข้าไปในขวดแก้ว (เว้นแต่การแยกในลักษระของการแยก "ศาสนาออกจากรัฐ" ซึ่งก็ไม่ใช่การแยกขาดจากกันแบบตัดบัวไม่เหลือใยในทางปฏิบัติ ซึ่งต้องมาอธิบายเรื่องนี้กันอีกยาวว่าการแยก "ศาสนาออกจากการเมือง ≠ การแยกศาสนาออกจากรัฐ" แนะนำว่าให้ลองหางานกลุ่มนี้มาอ่านเพิ่มเติมอาจจะได้คำตอบที่ชัดขึ้น หรืออย่างน้อย ๆ ในบท "ข้อเสนอส่งท้าย" ของหนังสือเล่มนี้ก็มีบอกไง้บ้างคร่าว ๆ ซึ่งแน่นอนว่าก็ควรไปหางานกลุ่มนี้อ่านเพิ่มเติม)
กลับมาที่เรื่องของหนังสือ
"
ภารตะ-สยาม ศาสนาต้อง (ไม่) ห้ามเรื่องการเมือง" อย่างที่บอกไปว่าการแยกอะไรสักอย่างออกจากการเมืองนั้นเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเรื่องนั้นเป็นเรื่องของ "ศาสนา" ด้วยแล้ว และยิ่งเป็นศาสนาไทย ที่ศาสนาและการเมืองเป็นสิ่งเกาะเกี่ยวกันมาตลอดนับจากครั้งอดีตหาลนานเนิ่น การบอกว่า "ศาสนาและการเมืองไม่เกี่ยวกัน" จึงเป็นเรื่องตลกสิ้นดี โดยเฉพาะเมื่อคำพูดนี้มาจากพุทธองค์กร และบรรดาพระเภระผู้แก่พรรษาต่าง ๆ การออกมาห้ามศาสนากับกานเมือง และบอกว่าศาสนาไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองจึงเป็นเรื่องตลก ซึ่งหลายครั้งมันชวนให้คนพูดเรื่องนี้ดูโง่ลงไปถนัดตา โดยเฉพาะการบอกว่า "ศาสนาพุทธ (ไทย) ไม่เกี่ยวกับการเมือง และห้ามไม่ให้พระสงฆ์ไปยุ่งเกี่ยวหรือพูดเรื่องการเมืองโดยเด็ดขาด" บางทีพุทธองค์กรและพระผู้ใหญ่น่าจะลืมเรื่องของ "การเมืองในคณะสงฆ์" ไปอย่างสนิทใจ และเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า "ศาสนาพุทธแบบไทยไม่เกี่ยวกับการเมือง" ซึ่งเราไม่แน่ใจว่าตลอดยุคสมัยที่ผ่านมามีช่วงเวลาไหนบ้างที่ "การเมืองไทย" ไม่ค้องเกี่ยวกับ "ศาสนา"
หนังสือ
"
ภารตะ-สยาม ศาสนาต้อง (ไม่) ห้ามเรื่องการเมือง" กำลังตบหัวเตือนเราแรง ๆ ว่า การเมืองและศาสนามันมีความเกี่ยวเชื่อมและร้อยรัดระหว่างกันมากกว่าที่เราคิด และมากกว่าที่เราจะคิดถึง โดยเฉพาะเมื่อศาสนากับการเมืองเคยทำหน้าที่เป็นเครื่องมือค้ำยันซึ่งกันและกันมาหลายยุคหลายสมัย การที่จะมาบอกว่า "ศาสนากับการเมือง" ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวโยงกัน และห้ามไม่ให้บุคคลหรือสาวกของศาสนาหนึ่ง ๆ เข้าใจว่าศาสนาเป็นมิตรชิดใกล้กับการเมืองเป็นเรื่องตลกโคตร
"
ภารตะ-สยาม ศาสนาต้อง (ไม่) ห้ามเรื่องการเมือง" กำลังชี้ให้เราเห็นความตลกและบกพร่องในเรื่องนี้ผ่านบทความจำนวน 38 บทความ โดยแบ่งออกเป็น ภาคต่าง ๆ ดังนี้
บทนำ การเมืองนัวเนียกับศาสตนาไม่ว่าภารตะหรือสยาม
พุทธธรรมกับการเมือง (14 บทความ)
พราหมณ์-ฮินดู กับการเมืองและความศักดิ์สิทธิ์ (11 บทความ)
ไสยศาสตร์กับการช่วงชิงความหมายในการเมืองไทย (7 บทความ)
ข้อเสนอส่งท้าย: ปฏิรูปศาสนาไปพร้อมกับการเมือง (6 บทความ)
ซึ่งบทความจำนวน 38 ชิ้น จะช่วยให้เราเข้าใจว่า
"
ศาสนาต้อง (ไม่) ห้ามเรื่องการเมือง" เพราะทั้งการเมืองและศาสนามีความอิงแอบแนบชิดกันมากกว่าที่เราคิด และเกินกว่าที่เราจะคิดถึงได้ แต่ในส่วนของ "
ข้อเสนอส่งท้าย: ปฏิรูปศาสนาไปพร้อมกับการเมือง" คือ การนำเสนอมุมมองในเรื่องของการ "แยกศาสนาออกจากรัฐ" หรือก็คือการ "
การทำให้เป็นโลกวิสัย (secularization) ที่ถือเป็นสิ่งบอกบอก “สภาวะสมัยใหม่” (modernity) อย่างหนึ่งในโลกตะวันตก นั่นคือการแยกศาสนาจากรัฐ-การเมือง ไม่นำความจริงสูงสุดหรือความดีสูงสุดตามความเชื่อทางศาสนามาเป็นอุดมการณ์ในการปกครอง และแยกศาสนาออกจากปริมณฑลของพื้นที่สาธารณะ ให้ศาสนาอยู่ในปริมณฑลของพื้นที่ส่วนตัว (
https://www.matichonweekly.com/special-report/article_40448
)" เพื่อทำให้เกิดกลไกที่ "
รัฐต้อง "เป็นกลางทางศาสนา (religion neutral)" รัฐไม่มีหน้าที่อุปถัมภ์ศาสนาใด ๆ มีหน้าที่เพียงรักษาเสรีภาพและความเสมอภาคในการที่ปัจเจกบุคคลจะนับถือหรือปฏิเสธศาสนาใด ๆ ซึ่งเมื่อใดที่รัฐแยกออกจากศาสนาได้แล้ว เมื่อนั้นเราอาจจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของ "ศาสนาไทย"
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in