เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
การนับคะแนนเลือกตั้งแบบคู่ขนาน By ขวัญข้าว คงเดชา, ศิปภน อรรคศรี
  • รีวิวเว้ย (881) สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ × สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า

    การเลือกตั้งทั่วไปที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ซึ่งนับเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกภายใต้การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 และเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกภายหลังการรัฐประหารของคณะรัฐษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะกระทำการรัฐประหารรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ซึ่งถ้าลองนับนิ้วดูก็จะพบว่าเราอยู่กับ คสช. มา 6 ปีก่อนการจัดการเลือกตั้งทั่วไปภายใต้ระบบการเลือกตั้งที่ดูจะงง ๆ ทั้งสูตรการคำนวนคะแนน บัตรเลือกตั้ง ผลการนับคะแนนที่มีบัตรเขย่ง บางหน่วยเลือกตั้งปรากฎข่าวของการปรากฏชื่อผู้เสียชีวิตว่ามาใช้สิทธิเลือกตั้ง (หากเป็นจริงเขาผู้นั้นคงมีจิตวิญญาณแห่งประชาธิปไตยเป็นแน่) และข่าวคราวอื่น ๆ อีกมากมายที่ทำให้การเลือกตั้งในครั้งนั้นถูกตั้งคำถามถึงความไม่โปร่งใสและอื่น ๆ แต่ปัญหาหลัก ๆ ของเรื่องดังกล่าวคือ "แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าการเลือกตั้งไม่โปร่งใส" ในการเลือกตั้งครั้งดังกล่าวมีความพยายามขององค์กรภาคประชาชนต่าง ๆ เข้าไปมีส่วนร่วมสำคัญในการจับตาการเลือกตั้งอย่างใกล้ชิด แต่ก็ยังมิวายว่าผลการเลือกตั้งที่ปรากฏออกมาก็ยังเป็นที่ครหาของประชาชนอย่างมาก โดยเฉพาะผลการนับคะแนนในหลาย ๆ เขตที่เรียกว่าผลการเลือกตั้งหักปากกาเซียนทิ้งไปทั้งโรงงาน และเมื่เกิดข้อครหาและความไม่ไว้ว่างใจในเรื่องของ "การนับคะแนน" มันจะมีวิธีการ ขั้นตอน หรือกระบวนการแบบไหนที่ช่วยให้ "การนับคะแนนเลือกตั้ง" ถูกตรวจสอบเพื่อความโปร่งใสได้บาง หากมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้า ?
    หนังสือ : การนับคะแนนเลือกตั้งแบบคู่ขนาน คู่มือฉบับพกพา
    โดย : ขวัญข้าว คงเดชา, ศิปภน อรรคศรี
    จำนวน : 50 หน้า
    ราคา : 125 บาท

    ในหน้าคำนำผู้เขียน ตั้งคำถามที่น่าสนใจเอาไว้ 3 ข้อว่า (1) เราจะตรวจสอบการเลือกตั้งให้มีความบริสุทธิ์ยุติธรรมได้อย่างไร ? (2) ประชาชนมีสิทธิตรวจสอบความโปร่งใสในการเลือกตั้งด้วยตนเองหรือไม่ ? (3) หากประชาชนเป็นเจ้าของสิทธิประชาชนจะตรวจสอบการเลือกตั้งของประชาชนเองได้อย่างไร ? และในวรรคสุดท้ายของหน้าหนังสือเล่มนี้ได้ทิ้งข้อความอีกหนึ่งข้อความเอาไว้ว่า "หนังสือเล่มนี้มีคำตอบ"

    "การนับคะแนนเลือกตั้งแบบคู่ขนาน คู่มือฉบับพกพา" หนังสือที่ว่าด้วนเรื่องของ "การนับคะแนนเลือกตั้งแบบคู่ขนาน (Parallel Vote Tabulation: PVT)" ที่ในภาคประชาชนและภาคประชาสังคมดำเนินการคู่ขนานกันไปในระหว่างที่ "การนับคะแนนเลือกตั้ง" กำลังดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการนับคะแนนแบบที่นับตามหน่วยเลือกตั้ง หรือจะเป็นการนับรวมจุด โดยการเอาหีบบัตรเลือกตั้งมารวมกันไว้ในสถานที่หนึ่งแล้วค่อยนับคะแนนไปพร้อม ๆ กัน โดยการนับคะแนนเลือกตั้งแบบคู่ขนาน ชื่อก็บอกอยู่ตรง ๆ แล้วว่า "นับแบบคู่ขนาน" นั่นแปลว่าเป็นการนับคะแนนไปพร้อมกันกับการนับของหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้ง ก็เพื่อเป็นการสอบทานคะแนนจากบัตรเลือกตั้งว่าเทียงตรงเพียงใด จะมีกรณีของ "บัตรเขย่ง" หรือไม่ และแน่นอนว่าปัญหาของการนับคะแนนยังมีอีกหลากหลาย รวมถึงปัญหาการลงคะแนนเลือกตั้ง และปัญหาเรื่องของการย้ายทะเบียนบ้านเข้าไปในเขตเลือกตั้งที่มีกลุ่มคนบางกลุ่มสามารถควบคุมผลการกาบัตรเลือกตั้งได้เมื่อมีการนับคะแนนที่เขตเลือกตั้งนั้น ๆ ซึ่งแน่นอนว่าปัญหาของการเลือกตั้งยังคงมีปรากฏให้เห็นในหลากหลายณุปแบบ

    แต่อย่างน้อย ๆ "การนับคะแนนเลือกตั้งแบบคู่ขนาน คู่มือฉบับพกพา" ก็ช่วยหาแนวทางในการจัดการเรื่องของ "การตรวจสอบผลการนับคะแนน" อย่างเป็นระบบ ให้กับเราได้รับรู้ว่ามันมีวิธีการ ขั้นตอน และกระบวนการในการสอบทานข้อมูลของการนับคะแนนเลือกตั้งในลักษณะนี้อยู่ด้วย โดยเนื้อหาภายในของ "การนับคะแนนเลือกตั้งแบบคู่ขนาน คู่มือฉบับพกพา" แย่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังนี้

    บทที่ 1 บทนำและความเป็นมาของ PVT

    บทที่ 2 การจัดตั้งองค์กรเพื่อการดำเนินการกระบวนการ PVT

    บทที่ 3 ขั้นตอนการดำเนินงานของกระบวนการ PVT

    บทที่ 4 ข้อความระวัง

    บทที่ 5 บทสรุป

    เนื้อหาในแต่ละบทที่ปรากฏใน "การนับคะแนนเลือกตั้งแบบคู่ขนาน คู่มือฉบับพกพา" เป็นการยืนยันให้เราเห็นว่า หากเราต้องการตรวจสอบผลการเลือกตั้งในฐานะของประชาชนหรือภาคประชาสังคมก็ยังมีช่องทาง ขั้นตอน และวิธีการให้เราสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นระบบ อีกทั้งเรายังสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานขององค์กรกลางในการจัดการเลือกตั้ง เพื่อป้องกันเรื่องของ "บัตรเขย่ง" ถึงแม้ว่าเรื่องของสูตรคำนวนระบบเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 เราอาจจะควบคุมอะไรไม่ได้ แต่อย่างน้อย ๆ เราจะได้รู้ว่าการเลือกตั้งที่ดำเนินไปนั่น "บริสุทธิ์ยุติธรรมเพียงใด" ? ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in