Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
ราชอาณาจักรไทย By วุฒิสาร ตันไชย และ เอกวีร์ มีสุข
รีวิวเว้ย (870)
รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คำถามในวิชาการเมืองการปกครองท้องถิ่น (ร.222) ในชั้นเรียน ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ของผู้เขียน เมื่อเกือบ 10 ปีก่อน มีคำถามข้อหนึ่งของอาจารย์ผู้สอนถามกับผู้เรียนในช่วงเวลานั้นว่า "ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ที่บ้านของนักศึกษาตั้งอยู่ มีชื่อว่าอะไร ?" คำถามที่ไม่มีใครคาดคิด และไม่มีใครตั้งตัว เพราะตลอดการเรียนวิชานี้เรื่องของชื่อผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่บ้านของเราตั้งอยู่ดูจะไม่ได้เป็นหัวข้อสำคัญของสิ่งที่เราจดบันทึกจากการเรียนตลอดทั้งเทอมของวิชานี้ แต่พอมานั่งคิดดี ๆ เราพบว่าแท้จริงแล้วคำถามดังกล่าวเป็น "คำถามสำคัญที่สุด" เมื่อเราจะพูดถึงการรับรู้ในเรื่องของการเมืองการปกครองในระดับท้องถิ่น เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือหน่วยของการปกครองที่อยู่ "ใกล้ตัว" พวกเรามากที่สุด แต่พวกเราในฐานะของนักเรียนรัฐศาสตร์ ปกครอง กลับมองข้ามสิ่งนี้ไปได้อย่างน่าตาเฉย เพราะเมื่อเรามองว่าการปกครองในระดับท้องถิ่นคือห้องเรียน "ประชาธิปไตย" ขั้นพื้นฐานของคนในสังคมไทย แต่เราเลือกที่จะละเลยมันอาจจะเพียงเพราะมันมีคำว่า "ท้องถิ่น" เป็นตัวกำกับอยู่ทำให้เราด้อยค่ามันในช่วงเวลานั้น แต่หลังจากที่เจอคำถามดังกล่าวเข้าไป ทำให้หลายปีมานี้ในฐานะของนักเรียนรัฐศาสตร์ "ท้องถิ่น" จะเป็นพื้นที่แรก ๆ ที่ถูกเราให้ความสนใจและให้ความสำคัญ เพราะถ้าเราเชื่อคำที่ว่า "การเมืองท้องถิ่น คือ โรงเรียนประชาธิปไตยที่ใกล้ตัวเราที่สุด" เช่นนั้นการย้อนกลับไปทำความเข้าใจในท้องถิ่น และมองดูปรากฏการณ์ในระดับท้องถิ่นเผลอ ๆ จะสำคัญกว่าการเมืองระดับชาติเสียอีก โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว
หนังสือ :
ราชอาณาจักรไทย
โดย :
วุฒิสาร ตันไชย และ เอกวีร์ มีสุข
จำนวน : 178 หน้า
ราคา : บาท
"
ราชอาณาจักรไทย
" เป็นหนังสือเล่มที่หนามากที่สุดในหนังสือชุด "ระบบการปกครองท้องถิ่นประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน" มุ่งเน้นในการนำเสนอมุมมองและให้ความรู้ในเรื่องของ "ระบบการปกครองท้องถิ่น" ของประเทศสมาชิก "อาเซียน" โดยที่หนังสือในชุดนี้ประกอบไปด้วยหนังสือ 10 เล่มที่แต่ละเล่มแยกออกเป็นแต่ละประเทศ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ
โดยเนื้อหาของหนังสือ
"
ราชอาณาจักรไทย
" คือการบอกเล่าเรื่องราวพื้นฐานของระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศไทย โดยมีการเชื่อมโยงเอาบริบทของสังคมไทยก่อนการมีการเลือกตั้งท้องถิ่นที่เกิดขึ้นหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ซึ่งนับย้อนไปตั้งแต่ช่วงของการรวมศูนย์อำนาจ และการกระจายอำนาจในยุคแรก ๆ นับแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราช กระทั่งถึงช่วงเวลาที่หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นใน พ.ศ. 2557 โดยเนื้อหาในหนังสือแบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
บทที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของประเทศไทย
บทที่ 2 พัฒนาการการเมืองและการปกครองท้องถิ่นของประเทศ
- การรวมศูนย์อำนาจและการกระจายอำนาจที่จำกัด พ.ศ.2435-2475
- การเมืองกับการกระจายอำนาจ พ.ศ.2475-2500
- การเมืองกับการกระจายอำนาจ พ.ศ.2501-2540
- การเมืองกับการกระจายอำนาจ พ.ศ.2540 - ปัจจุบัน (พ.ศ.2557)
- โครงสร้างและกระบวนการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
บทที่ 3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่นไทย: พัฒนาการและสาระ
- กฎหมายและการกระจายอำนาจในยุครัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540
- กฎหมายและการกระจายอำนาจในยุครัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550
- พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542
- กฎหมายที่มีผลต่อการกระจายอำนาจใน พ.ศ.2557
บทที่ 4 ระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศไทยในปัจจุบัน สภาพการณ์และปัญหา
- ภาพรวมของระบบการปกครองท้องถิ่นไทย
- โครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- การคลังท้องถิ่น
- การบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- การเมืองท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในท้องถิ่น
บทที่ 5 บทสรุป : ความท้าทายของการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นไทย
- ทิศทางของประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่นและการเมืองระดับชาติ
- ความท้าทายจากประเด็นปัญหาทางนโยบายสาธารณะในท้องถิ่น
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
หนังสือเล่มนี้ ช่วยให้เรามองเห็นพัฒนาการและพลวัตรของการปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี แต่อาจจะมีช่วงเวลาหลังจากที่หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้น และเป็นช่วงเวลาสำคัญอีกบทหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทย และการเมืองการปกครองท้องถิ่นขอลไทย ภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ที่นับเป็นการแช่แข็งระบบการเมืองการปกครองท้องถิ่นครั้งแรกนับตั้งแต่ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่กำหนดให้ผู้บริหารท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่ และสนามการเมืองท้องถิ่นถูกจับตาและควบคุมอย่างจากอำนาจของกลุ่มผู้ที่ลงมือทำรัฐประหาร พ.ศ. 2557
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in