เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
แด่ผู้แหลกสลาย (Reason to Stay Alive) By Matt Haig แปล ศิริกมล ตาน้อย
  • รีวิวเว้ย (855) โรคซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องราวของ "ภูติ-ผี" ที่จะสามารถรักษาหรือแก้ไขให้หายขาดได้ด้วยพิธีกรรม ความเชื่อ และศาสนา ปฏิเสธไม่ได้หลายปีที่ผ่านมาโรคซึมเศร้าปรากฏอยู่ในความรับรู้ของคนไทยและสังคมไทยมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และแนวโน้มของการปรากฏขึ้นก็ยังแสดงให้เห็นมิติของความเข้าใจ และการยอมรับที่มีเพิ่มมากขึ้นด้วยในสังคมอุดมความเชื่อ (มากกว่าปัญญา) แห่งนี้ แต่ก็ยังไม่วายที่หลายคนยังเชื่อว่า "โรคซึมเศร้า" สามารถแก้ไขได้ด้วย "ศาสนา" ซึ่งในความเป็นจริงมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น หลายวันก่อนเรานั่งไถ Facebook และพบข้อความของ พส. มหาไพรวัลย์ ที่ให้คำแนะนำโยมเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าไว้อย่างน่าสนใจว่า

    "เป็นซึมเศร้ามา 7 ปีแล้วค่ะ"

    "พส. : เราต้องยอมรับให้ได้ว่าเราป่วย แล้วไปปรึกษาหมอ ไปหาจิตแพทย์เข้าสู่กระบวนการรักษาให้ถูกทาง อย่าคิดว่าป่วยแล้วมาปฏิบัติธรรมจะหาย
    วัดเรามีแม่ชีกระโดดน้ำตายมีพระผูกคอตายเพราะเป็นซึมเศร้า อย่าปล่อยไว้นะ ไปหาหมอนะ"
    ข้อความดังกล่าว คือคำตอบของ พส. ที่ถ้าให้พูดกันถึงที่สุดแล้ว พส. ก็คือ "ผู้เชี่ยวชาญ" ในเรื่องของการศาสนาและยิ่งกับ พส.ไพรวัลย์ ด้วยแล้วที่สำเร็จ ปธ.9 ตั้งแต่สมัยเป็นเณร ดังนั้นคำแนะนำของ พส. จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจ และหาทางในการรับมือกับ "โรคซึมเศร้า" อย่างที่บอกเอาไว้ในเบื้องต้นว่า "โรคซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องราวของ "ภูติ-ผี" ที่จะสามารถรักษาหรือแก้ไขให้หายขาดได้ด้วยพิธีกรรม ความเชื่อ และศาสนา" เมื่อเป็นเช่นนั้นจงเลิกแนะนำ และจงเลิกเชื่อคำแนันำที่บอกกับผู้ป่วยว่า "ทำสมาธิ เข้าวัด ดี๋ยวก็หาย" ผลลัพธ์ในตอนสุดท้ายมีผู้ป่วยหลายคนที่ "หายไปจากชีวิต" ของคนรอบข้าง เพียงเพราะคำแนะนำที่ขาดความเข้าใจต่อ "โรคซึมเศร้า"
    หนังสือ : แด่ผู้แหลกสลาย (Reason to Stay Alive)
    โดย : Matt Haig แปล ศิริกมล ตาน้อย
    จำนวน : 320 หน้า
    ราคา : 295 บาท

    "แด่ผู้แหลกสลาย" หนังสือที่แปลมาจากหนังสือ "Reason to Stay Alive" ที่ว่าด้วยเรื่องของผู้ป่วย "โรคซึมเศร้า" ที่ผนวกรวมเข้ากับโรควิตกกังวลและอาการอื่น ๆ ที่จะตามมาอีกหลังจากที่ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ดังคำที่ผู้เขียนบอกเอาไว้ว่าหลายครั้งโรคซึมเศร้าไม่ได้มาอย่างลำพัง หากแต่มาพร้อม ๆ กันกับอาการอื่น ๆ จนยากที่ผู้ที่ต้องเผชิญหน้ากับมันจะสามารถตั้งรับได้เพียงลำพัง หากแต่ค่านิยมของสังคม และความเชื่อความมุ่งหวังบางประการของสังคมบางแห่งก็ผลักภาระให้กับผู้ป่วยต้องยืนเผชิญหน้ากับมันเพียงผู้เดียว

    "แด่ผู้แหลกสลาย" อาจจะเรียกได้ว่ามันคือหนังสือบันทึกความทรงจำของผู้เขียน ต่ออาการและความรู้สึกที่ตัวผู้เขียนต้องเผชิญ และเคยเผชิญกับโรคซึมเศร้าที่ปรากฎขึ้นกับผู้เขียนครั้งแรกตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก ที่อาจจะเป็นผลมาจากความทรงจำบางแบบ หรืออาการบางด้านที่ทำให้โรคซึมเศร้าปรากฏชัดขึ้น แต่ในช่วงเวลาที่ผู้เขียนต้องเผชิญหน้ากับมันครั้งแรก ๆ คสามรับรู้ของโลกต่อโรคซึมเศร้ายังไม่เป็นไปในรูปแบบดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ความรู้และความเข้าใจยังไม่แพร่หลายดังเช่นที่เรารับรู้กันในปัจจุบัน ทำให้ในช่วงเวลานั้นผู้เขียนอยู่ในฐานะของ "ผู้แหลกสลาย" ที่โชคดีกว่าคนอื่น ๆ ที่ร่วมช่วงเวลาเดียวกันตรงที่คนรอบข้างพร้อมที่จะก้าวเดินผ่านโรคซึมเศร้าไปพร้อม ๆ กัน

    หากให้นิยามหนังสือ "แด่ผู้แหลกสลาย" แบบสั้น ๆ คงเรียกมันว่าเป็น "คู่มือ" ใจการทำความเข้าใจโรคซึมเศร้า และคู่มือของการทำความเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แต่คู่มือก็ไม่ใช่หนังสือคำแนะนำที่จะถูกต้องทุกประการแต่อย่างใด หากแต่คู่มือจะช่วยให้เรา "เข้าใจ" มุมมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้ดีขึ้น เข้าใจผู้แหลกสลายได้ดีขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดของความเข้าใจ หากแต่การอยู่ข้าง ๆ ผู้แหลกสลายอย่างเข้าใจ และพร้อมที่จะทำความเข่าใจมันอาจจะช่วยให้พวกเขาใจชื้นมากยิ่งขึ้น ว่าพวกเขา "ไม่ได้เผชิญหน้ามันเพียงลำพัง" 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in