เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ปีศาจหัวโต By องอาจ ชัยชาญชีพ
  • รีวิวเว้ย (854) เราโตมาในยุคที่ "นิทาน" มักมีตอนจบที่สวยงาม มีเจ้าหญิงเจ้าชายได้ครองรักกันในตอนสุดท้าย (แต่ไม่รู้ว่าหลังจากอยู่ ๆ กันไปชีวิตจะเป็นเช่นไรต่อ เพราะนิทานมันตัดจบตอนที่ความรักสวยงามเสมอ) และในนิทานมักมีคติซ้อนเอาไว้คล้ายกับการหลอกขายฝันให้เด็ก ๆ เชื่อว่า "ทำดีย่อมได้ดี" หากทำไม่ดีย่อมได้รับผลกรรมตอบแทนกลับคือ แต่หลายปีผ่านมาหลังจากที่เราถูกนิทานหลอนสมอง ภาพจริงที่ปรากฎในสังคมไทย ไม่เห็นว่า คนเลวทราม ต่ำช้าชาติ จะได้รับผลกรรมของความเลวที่กระทำไว้แบบในนิทาน ทั้งที่เวลาผ่านมาเนินนานนับตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 กระทั่งปัจจุบัน (2564) คนทำดีก็ยังฉิบหาย คนจัญไรก็ยังรุ่งเรือง นิทานหลอนสมองเหล่านี้บางครั้งมันก็เป็นเครื่องมือที่ทำให้เด็กหลาย ๆ คนมองข้ามโลกแห่งความเป็นจริง ละเลยการตั้งคำถาม และตอกย้ำให้เด็กเชื่อตามการหลอกหลอนว่า "จงทำดี จงทำดี จงทำดี" แต่นิทานเหล่านี้กลับลืมจะสอนให้เด็กเรียนรู้ และเข้าใจความเป็นไปที่แท้จริงของโลก และนิทานส่วนใหญ่มักจะสอนให้เด็กอยู่ในขนมของความเป็นเด็กดีที่ควรเชื่อฟังพ่อแม่ เพื่อที่จะได้ไม่พบเจอกับความยากลำบากของชีวิตแบบเหล่าเด็ก ๆ ในนิทาน แต่ในหลายครั้งเราก็ต้องกลับมามองดูตัวเองว่า "ทุกวันนี้นิทานที่ฟังตอนเด็ก ๆ ยังตามหลอนตัวเราอยู่รึเปล่า
    หนังสือ : ปีศาจหัวโต
    โดย : องอาจ ชัยชาญชีพ
    จำนวน : 253 หน้า
    ราคา : 280 บาท

    "ปีศาจหัวโต" เราควรเรียกหนังสือเล่มนี้อย่างไรดี (?) นิทาน นิยาย ตำนาน เรื่องเล่า หรือควรจะเรียกมันอย่างไรดี (?) "ปีศาจหัวโต" คือหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของ "ปีศาจหัวโต" ที่ออกเดินทางตามหาอะไรบางอย่าง เพื่อเติมเต็มช่องวางในตัวเอง เพราะ "ปีศาจหัวโต" ไม่แน่ใจ ไม่มั่นใจ และเกิดหวั่นใจ ต่อความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับตนเอง อาจจะด้วยความท้าทาย หรืออาจจะด้วยวันวัยที่อยู่ในช่วงของความท้าทาย ทำให้เกิดช่องวางบางอย่างที่ก่อคำถามสำคัญให้กับ "ปีศาจหัวโต" กระทั่งมันต้องออกเดินทางและสร้างเรื่องราวต่าง ๆ ขึ้นระหว่างทางมากมาย ที่เรื่องราวเหล่านั้นจะสั่นคลอนความคิด ความเชื่อ ความภูมิใจ และการตั้งคำถามแบบเดิมที่ "ปีศาจหัวโต" แบกมันออกมาจากบ้านมาสู่การออกเดินทางในครั้งนี้

    เรื่องเล่าที่ปรากฎใน "ปีศาจหัวโต" หากเราอ่านมันในฐานะของตัวอักษรเราก็จะรับสารจากเนื้อหาและเนื้อเรื่องที่ผู้เขียนถ่ายทอดเอาไว้ แต่เมื่อไหร่ที่เราลองอ่านมันไปพร้อม ๆ กับประสบการณ์ชีวิตที่เราเคยผ่านมา หรือสิ่งที่เราเคยได้เรียนรู้ หรือถูกปลูกฟังให้เชื่อด้วยความเชื่องตลอดมา เราอาจจะพบว่าในหลายช่วงหลายตอนของ "ปีศาจหัวโต" มะนกระตุกตากางเกงของเราแรง ๆ เพื่อให้เราหยุดเดินและฉุกคิดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับ "ปีศาจหัวโต" และตัวละครอื่น ๆ ในหนังสือ

    ในตอนสุดท้ายเราอาจจะพบคำตอบ ในย่อหน้าสุดท้ายของ "ปีศาจหัวโต" ว่าในท้ายที่สุดแล้วเราไม่อาจจะรู้ถึงเรื่องราวที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือมันอาจจะเกิดขึ้นแล้วแต่เราก็ไม่มีทางรู้ว่าเรื่องเล่านั้นมันเป็นความจริง "ของใคร"

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in